Saturday, December 3, 2016

STEM - YSEALI


เช้าวันเสาร์กับเงิน 70 บาทและหนังสืออีกหนึ่งเล่ม เป็นเพื่อนร่วมทางไปยังกิจกรรม STEM ของโครงการ YSEALI ด้วยความรู้สึกที่ว่าเอ้นี้ไปถูกงานปะเนี่ย เขาน่าจะต้องการนิสิต นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ วิทยากรในงานนี้อัดแน่นด้วยข้อมูลและแรงบันดาลใจเต็มมาก และช่วงบ่ายจับกลุ่มทำ Design Thinking กันก็ดีไม่น้อย เดี๋ยวจะบรรยายให้เห็นภาพเหมือนไปจริงเลยทีเดียว

วิทยากรท่านแรกใส่สูตรสีน้ำเงินมาเลย พี่สตังค์ เก่งมากมีมุขตลกได้ตลอดจริงๆ เปิดโลกของผมหลายอย่างเหมือนกันใน Session นี้ พี่แกเริ่มด้วยการเล่าถึง Innovation โดยย้ำมาตลอดว่าหัวใจของวิทยาศาสตร์นั้นคือการสื่อสาร โดยยกตัวอย่างการพยากรณ์อากาศ ที่ญี่ปุ่นทำได้ถึงระดับ บอกได้ล่วงหน้าเป็นเดือน และละเอียดระดับนาที การพยากรณ์อากาศนั้นสำคัญอย่างไร? ในทางเกษตรแล้วสำคัญมาก เป็นตัวบ่งชี้ได้เลยว่าการเกษตรจะสำเร็จได้แค่ไหน ขึ้นกับความแม่นยำของพยากรณ์อากาศ ภาพตัดกลับมาที่ไทย เพราะโคเลือกกินสิ่งที่ไม่ตรงกับกรมอุตุนิยมวิทยา เลยทำให้ข้าวไทยเสียหายหลายล้าน มันขึ้นอยู่กับการสื่อสารจริงๆ


แกก็ร่ายยาวถึงตัวอย่างนวัตกรรมต่างๆ เช่น Water generator ที่เก็บเกี่ยวน้ำจากอากาศ จนไปถึงเรื่องของ Elon Musk (Founder of Tesla) ผมรู้สึกแปลกใจมากที่จบวิศวะมาแต่ไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับคนนี้ และยิ่งได้รู้เรื่องราวต่างๆก็ตกใจเข้าไปใหญ่ ตั้งแต่เป็นผู้ก่อตั้น Paypal ขึ้นมาแล้วขายให้ Ebay ผลิตรถไฟฟ้า และทำกระเบื้องที่ผสมผสานกับ Solarcell กำจัดข้อเสียเรื่องความน่าเกลียดของมันไปได้อย่างหมดสิ้นจริงๆ


พี่แกก็พูดไปถึงเรื่อง ศาสตร์และศิลป์ ในนวัตกรรมเป็นของคู่กัน โยงไปสู่จุฬาและธรรมศาสตร์ สมัยก่อนคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ รวมเป็นคณะเดียวกัน!? แต่พอยุคที่ต้องการแรงงาน สองสาขานี้จึงแยกจากกัน เพราะโรงงานต้องการแค่วิศวะที่ดูแลโรงงานได้ ไม่ได้ต้องไปออกแบบอะไร เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกัน เพราะผมก็เป็นนิสิตคนหนึ่ง ที่มักจะหาวิชาเลือกในทางศิลป์มาเติมเต็มอยู่เสมอๆ

ในเรื่องของอนาคตนั้นเขาบอกให้จับตาดู BlockChain และ AI ไว้ (ผมเล่าเหมือนบอกหุ้นเลย) ตัวหลังนั้นผมเคยได้ยินแต่ตัวแรกไม่เคยได้ยินเลย แต่พอพูดถึง BitCoin แล้วก็อ้อทันที

BlockChain เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย ซึ่งจะทำให้การแฮ็คนั้นยากมาก เพราะต้องไปเอาข้อมูลจากทุก Server มารวมกัน หลังจากนี้ธุรกรรมทางการเงิน กฎหมาย และคงแก้ปัญหาในสังคมได้หลากหลายเลยทีเดียว เช่น แรงงานพม่าที่มีรายงาน 3,000,000 คน (ซึ่งในความจริง 12,000,000 คน) แทบจะเป็นประชากรที่เราละเลยไม่ได้เสียแล้ว จะให้ออกไปก็เสีย GDP ประเทศ แรงงานพม่าเหล่านี้มีปัญหาเรื่องไม่สามารถใช้ Bank ของไทยได้ และการรักษาก็ไม่มีสวัสดิการ ถ้ามีระบบ BitCoin คงช่วยให้แรงงานเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่งเงินกลับประเทศได้ ป่วยก็มีเงินเก็บใช้

AI + BigData เรื่องนี้ผมเคยได้ยินมาบ้างแล้วที่ 7-11 จะมีปุ่มให้พนักงานกดอายุและเพศของลูกค่าเพื่อเก็บข้อมูล และ CP ก็มีข้อมูลเยอะมากมหาศาลเลย จนถึงกับต้องไปกว้านซื้อบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ทั่วเอเชีย เพื่อมาจัดการกับข้อมูล และนำผลวิเคราะห์ไปใช้ และ AI คงมาแทนหลายๆอาชีพ เช่นโบรคเกอร์ AI มีกระบวนการ Machine Learning ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะทำการวิเคราะห์ตลาดได้ดีกว่าคนแน่นอน ซึ่งเราก็เห็นมาแล้วจากการเล่นโกะชนะมืออาชีพ(สำหรับคอมพิวเตอร์ โกะเป็นเกมที่ซับซ้อนกว่าหมากรุกหลายเท่านัก)

ช่วงต่อมาเป็นการแยกกลุ่มไปกับนักวิจัยต่างๆ ผมได้ไปอยู่กลุ่มฟัง ดร.จักรกฤษณ์ กำทอง ผลงานของอาจารย์ผมว่าไม่ธรรมดาเลย อยู่ในชั้นแนวหน้าของระดับโลกได้เลย หลักๆคือ เลนซ์โพลิเมอร์ กับ สารเคลือ Nano Technology

เลนซ์โพลิเมอร์ที่สามารถติดกับเลนซ์กล้องมือถือแล้วสามารถให้กำลังขยายถึง 500x ถือว่าปฏิวัติวงการกล้องจุลทรรศ์ที่จะต้องใหญ่และซับซ้อนไปเลย และราคาก็จะถูกลงมาก นักเรียนและคนธรรมดาอย่างเราๆ จะเข้าถึงการใช้กล้องจุลทรรศ์กำลังขยายสูงได้ไม่ยากอีกต่อไป (เวปตัวอย่างสินค้า) ฝีมือคนไทยเราไม่ธรรมดาจริงๆ แกพูดมาคำนึกว่า สวทช. มีดอกเตอร์ที่แก้ปัญหาได้ทุกอย่างบนโลกใบนี้อยู่ด้วย ผมนี้นึกในใจอาจารย์ก็เก่งสุดยอดอยู่แล้ว ยังมีคนเก่งกว่านี้อีกมากๆอีกหรอ

Keyword ที่อาจารย์ให้กับพวกเราคือหา Pain point ของผู้คนให้เจอ เอาตัวเองไปคลุกอยู่กับวงการหรือคนที่เราจะแก้ปัญหาให้กับพวกเขา เช่น ปัญหาการทำความสะอาดห้องในโรงพยาบาล ที่ต้องฆ่าเชื้อโรคทุกครั้ง ทำให้เสียงบประมาณสูงมาก อาจารย์เลยคิด สารเคลือบที่กันน้ำและกำจัดเชื้อโรคขึ้นมา หรือ ปัญหาของชาวสวนเมล่อน เรื่องเชื้อราที่มาทำลายต้นเมล่อนที่ลองทุนเป็นแสนๆ ตายหมด ก็ได้รับการแก้ไข ทั้งหมดทั้งมวนอยู่ที่การเรียนรู้ปัญหา ผมก็เลยตั้งคำถามกับตัวเองในตอนนั้นว่า Pain Point ของการศึกษาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนคืออะไรได้บ้าง

Design Thinking เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ผมเป็นรุ่นที่กระบวนการนี้ พึ่งเข้ามาตอนผมจะจบแล้ว เลยไม่ได้ฝึกฝนพัฒนามันอย่างจริงจัง เหล่าเพื่อนที่ไปทำ Start-up ใช้กันอยากสนุกสนาน น่าอิจฉาเป็นอย่างยิ่ง วันนี้เลยได้กลับมาลื้อฟื้นใหม่ ผมพึ่งเห็นกระบวนการ Brainstorming (เป็นขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการ) ที่ทุกคนจะออกไอเดียให้ได้เยอะที่สุด โดยไม่สนใจความเป็นไปได้ ผมชอบคำถามที่ทางทีมงานได้คิดขึ้นมา เพื่อช่วยนำทางในการคิด เลยไปตามเอาตอนท้ายงานว่า วิธีคิดของวิธีคิดคำถามเนี่ยคิดกันยังไง ก็เลยได้ความว่า เริ่มจากปัญหาที่สำคัญก่อน แล้วเอาปัญหามาตั้งเป็นคำถาม กลุ่มผมน้องๆ Flow กันดีมาก และก็ชอบตัวเองตอนที่ได้ทิ้งอัตตาความคิดของตัวเอง และไปเสริมไอเดียของคนอื่นๆ ทุกคนมีแต่ใส่กันให้มันดีขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการแย้งกันไปมาในกลุ่ม ทำให้ผลออกมาได้ดีทีเดียว อาจจะเป็นเพราะโจทย์เหมาะกับกลุ่มคนที่สนใจด้านการศึกษาอยู่แล้วก็เป็นได้

โดยรวมแล้ววันนี้ไม่ได้สิ่งที่คาดว่าจะมาเก็บเกี่ยว นั้นคือกระบวนการเรียนรู้แบบ STEM แต่ได้เรื่องอื่นมาแทนถือว่าคุ้มเกินคุ้มกับงานๆนี้ เปิดโลกให้ได้ศึกษาต่ออีกมากมาย เจอกลุ่มคนที่จะคอยช่วยเสริมกันได้อีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้ความรู้สึกว่าเป็น Fellow ในโรงเรียนคนเดียวไม่เดียวดายอีกต่อไป :)



No comments:

Post a Comment