Wednesday, December 20, 2017

Nutty Scientist - Thailand


วันนี้มาคุยกับพี่ยุ้ย เข้าของสถาบัน Nutty Scientist ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ จากประเทศสเปน สเปนก็มีปัญหาเดียวกับหลายประเทศ ในด้านการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็ก มันยาก น่าเบื่อ ไม่ค่อยได้ทดลอง สถาบันนี้ก็เลยพยายามที่จะ ทำให้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ สนุกขึ้นโดยผ่านการทำกิจกรรม

เกริ่นนิดนึง พี่ยุ้ยติดต่อมา ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้า ผมก็ดูจากความทุ่มเทที่อยากมาช่วย Saturday school ทักเข้ามาในเพจรอบนึง ผมก็ยุ่งจนไม่ได้ติดต่อไป พี่แกก็โทรมาเลยครับ ตอนนั้นผมเที่ยวอยู่เชียงคาน (ไหนมึงบอกยุ่งไงก็เลยได้คุยกับ แล้วให้พี่เขาไปลองดูกิจกรรมในโรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม วันเสาร์มีวิชา STEM อยู่ พี่ยุ้ยไปดูแล้วชอบมาและอยากช่วย เลยนัดคุยกันในวันนี้


มีการนำนักวิทยาศาสตร์ นักบริหาร และนักแสดง มาช่วยกันออกแบบหลักสูตร นำการศึกษา กับความบันเทิงมารวมกัน พี่ยุ้ยจี้ประเด็นได้น่าสนใจ คนไทยไม่ได้สนใจงานที่ให้ความรู้เท่าไหร่นัก ดูอย่างอีเว้นตามห้างก็จะเป็นดารา นักร้อง นักแสดงมา คนก็จะเต็มเวทีเลย แต่สำหรับเรื่องความรู้ ทั้งไม่ค่อยมีให้เห็น และไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก ซึ่ง Nutty เองก็มีการทำโชว์ลงไปในห้างด้วยเช่นกัน สำหรับในต่างประเทศ

Education + Entertainment = Edutainment

ตอนนี้ก็เปิดมาได้ประมาณ สองปีแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นตลาดของโรงเรียนอินเตอร์ เขาดูจะรับเราง่ายกว่า เช่นวันนี้ส่งโปรไฟล์โครงการและคนที่ไปสอนไปให้ วันถัดมาเขาก็ให้เข้าไปทดลองสอนเลย แต่โรงเรียนไทยเข้าไปยาก เพราะเขาจะเน้นความเปะในเชิงวิชาการ และต้องการให้นักเรียนสอบได้ ซึ่งสถาบันเรา ไม่ได้เป็นสถาบันติว เราเน้นให้เด็กเรียนรู้ผ่านกิจกรรม นอกจากนั้นก็มีจัดค่ายนอกสถานที่ด้วย

ถ้าในต่างประเทศ Nutty ก็เข้าไปทำ CSR ให้สังคมด้วยเช่น ถ้าเป็นบริษัทรถยนต์ขอให้ทำ ก็จะเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ ที่มีรถอยู่ในนั้น เป็นการทดลองให้เด็ก จัดในพื้นที่สาธารณะ เอาเป็นว่าองค์กรไหนมา เราก็จัดได้หมด และไม่ได้เป็นแบบเอาหน้าเฉยๆ แต่สามารถสร้างความรู้ให้กับเด็กๆได้อีกด้วย



พี่ยุ้ยใจดีมาก พอกลับมาบอก ก็มีคำถามว่า อะไรทำให้คิดว่าพี่เขาใจดีหละ อืมก็นะชมกันตั้งแต่ต้นจนกลับมาบ้านก็ยังชม ให้บัตรเข้าชมเมืองจำลองข้างๆมาฟรีอีก 100 ใบ (ค่าบัตร 650 บาทแล้วก็บอกว่าพานักเรียน Saturday school มาที่นี้ได้นะ เดี๋ยวจัดกิจกรรมให้ฟรี เรารับได้ 100 คน และพี่ก็อยากไปสอนด้วย อยากฝึกทักษะการสอนของตัวเอง ทำให้ผมรู้สึกว่า คนดีมากๆ ในสังคมมันก็มีนะ แค่เราก็ทำของเราไปอย่าหยุด แล้วเดี๋ยวโอกาสก็เข้ามาเองหละ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ดีของงานอาสา

วันนี้ ไม่สิช่วงนี้ พยายามคิดหาโมเดล ที่จะทำให้ Saturday school มั่นคงอยู่ มีเงินมาหมุนโครงการทุกปี โดยไม่ต้องลำบากวิ่งไปหาเงิน ก็คงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลหละที่เข้ามาคุยในวันนี้ ถ้าใครอ่านแล้วสนใจก็ทักเข้ามาได้

ปิดท้ายด้วยรูปของ Stanley Miniventure ที่แรกในไทย โลกจำลองขนาดเล็กที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย 1:87 และก็รูปของเครื่องจำลองการขับเครื่องบิน ที่พี่เขาก็เป็นเจ้าของเช่นกัน







Saturday, August 5, 2017

TEDxBangkok : little things mingle


TEDxBangkok : little things mingle สิ่งเล็กๆ ที่เรียกว่า TED


เป็นครั้งแรกของผมที่ได้ฟัง TEDx แบบสดๆ สมัครเข้ามาเพราะอยากรู้ว่า เอ้อพอมาดูของจริงมันจะรู้สึกต่างจากออกไปจริงๆ  ตั้งแต่การได้นั่งแนบชิดติดขอบเวที (คนไทยยังคงเป็นนักเรียนแถวหลังอยู่ไม่น้อย) นั่งไกลสุดเกือบถึงแถวหลัง การได้ mingle กับผู้คนแปลกหน้ามากมาย (ต้องใช้ความพยายามเล็กน้อย) จนไปถึงกิจกรรมด้านนอกเวที ที่ทำให้ช่วงเวลารอค่อยนั้นสั้นลง จบลงด้วย Concert ที่ผมไม่ได้ฟัง เพราะคุยกันออกรสจนจบงาน เดี๋ยวขอไล่ Speaker แต่ละคนก่อนละกันครับ

ข้อจำกัด x การศึกษา โดยครูมะนาว ศุภวัจน์ พรมตัน

คำแรกที่เปิดประเด็นขึ้นมา จากความท้อแท้ของข้อจำกัดในวงการศึกษาคือ "เรายอมแพ้กันง่ายเกินไปหรือเปล่า" งบประมาณที่น้อย ไม้บรรทัดที่เยอะ และในยุคที่ เด็กสนใจมือถือมากกว่าหนังสือ ครูสมัยนี้ก็คงเอือมระอาไปตามๆกัน แต่ไม่ใช่กับครูมะนาว สำหรับผมคิดว่าครูมะนาวได้ทำในสิ่งที่ตนเองอยากทำ ด้วยทรัพยากรที่มี โดยวิธีการง่ายๆ เพื่อสร้างบทเรียนให้กับเด็ก 200 ชีวิตในโรงเรียน

ถามว่าตื่นเต้นไหม สำหรับผมไม่นะ คงเพราะเป็นครูอยู่แล้ว และเราก็พยายามทำอะไรแบบนี้ตลอด เพียงแต่ไม่เคยนำมาเล่าให้ใครฟังเป็นเรื่องเป็นราวนัก mingle ของครูมะนาวสำหรับผมจึงเป็นเรื่อง การเล่าเรื่องมากว่า ย้อนกลับมาที่ประเด็นของครูมะนาว ผมคิดว่ามันคือสิ่งที่โรงเรียน ครู ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนได้เสียกับการศึกษาควรจะทำ และเปลี่ยนกรอบความคิดได้แล้ว ผมอยากเห็นสิ่งที่ครูมะนาวทำ เป็นเรื่องปกติสำหรับโรงเรียนไทย ครูมะนาวได้พิสูจน์แล้วว่างบไม่ใช่ปัญหาใหญ่ ถ้าคุณสร้างสรรค์ซักหน่อย เงินก็ไม่ต้องใช้สักบาท แล้วก็ดึงสิ่งที่เด็กสนใจให้เขาเข้ากับบทเรียน

อยากให้ครูไทยทุกคนได้ดู Talk นี้ และเปลี่ยนกรอบความคิดของตัวเอง เพื่อนักเรียน และตัวครูเองที่จะมีการสอนที่สนุกมากยิ่งขึ้น นักเรียนรักครูมากขึ้น

กล้องถ่ายรูป x การอนุรักษ์ โดยชิน ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย

ผมเคยเจอชินครั้งหนึ่งที่งาน One shot One Minute ครั้งนั้นผมรู้สึกได้ถึงความไม่ยกตัวสูงกว่าใคร เขาเล่าทุกอย่างอย่างที่เขาทำ พอถามคำถามท้ายงานก็พบว่าผู้ชายคนนี้ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ และเชื่อว่าเป็น Idol ของเด็กมหิดล หลายๆคนแน่นอน ชินเป็นคนทุ่มเทกับงานวิจัยกับการถ่ายรูปมาก จนได้ตีพิมพ์ใน National Geographic

ครั้งนี้กับการเลือกรูปภาพมาเป็นอย่างดี และเวลาที่จำกัด ชิดได้พยายามที่จะให้พวกเราได้ฉุดคิดถึงปัญหาที่ไม่ได้ไกลตัวเอา และสิ่งที่เราทุกคนทำได้ แม้เพียงเล็กน้อย ก็ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ รูปถ่ายแต่ละรูปกระแทกใจไม่น้อย ชินเคยบอกผมว่าภาพถ่ายที่ดี คือภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราว และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม งานถ่ายของชินเป็นงานที่ดี

ขอนอกเรื่องจากงานนี้อีกหน่อยนะครับ พูดถึงความทุ่มเทในงานของชินมากแค่ไหน ชินเคยเล่าให้ฟังว่า เขาทำวิจัยฉลามในทะเลไทย ซึ่งลดลงเหลือ 10% จากการใช้อวนจับปลา และส่งออก เมื่อทำวิจัยแล้วก็ต้องวางแผนที่จะเก็บภาพมาบอกเล่าสังคม เขาเอาเลือดปลามาราดกล้อง ราดตัว แล้วลงไปในน้ำหลายวัน เพื่อที่จะล่อปลาฉลาม แต่สุดท้ายก็ไม่เจอ หรือบางครั้งต้องการถ่ายภาพไข่ของปะการังซึ่งจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อปี เป็นช่วงเวลาที่พิเศษมากและไม่ได้หาได้ง่าย

mingle ของชินต่อผมคือ การต้องหาความรู้และพัฒนาการถ่ายภาพของตัวเอง เพื่อบอกเล่าเรื่องราวให้กับสังคมได้ดีขึ้น ผมเห็นด้วย เดี๋ยวนี้คนเราไวขึ้น เราอ่านน้อยลง รูปภาพจึงเข้าถึงและดึงดูดพวกเขาได้มากกว่า

รถเมล์ x ช่วยด้วย โดย แวน วรินทธิ์ สุขสบาย

ผมว่าอันนี้หละ little things mingle จริงๆ แวนเป็นคนที่หลงไหลในรถเมย์ ตั้งแต่เด็ก และเขารักรถเมย์มาก รถเมย์เข้าถึงมากกว่ารถไฟฟ้า และถูกกว่าแต่คนก็เลือกที่จะอยู่และทำงานใกล้รถไฟฟ้า เราสามารถเปลี่ยนเล็กๆ เพื่อให้การเดินทางด้วยรถเมล์ดีขึ้น

mingle ของผมจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่รถเมล์ หากแต่อยู่ที่ความอยากให้เด็กไทยมีความหลงไหล ในแบบของตัวเอง ผมนึกย้อนกลับไปตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก แล้วเกิดหลงไหลรถเมล์ เหมือนแวน ผมเอาไปบอกเรื่องนี้กับเพื่อน และครู คิดดูว่าจะเป็นอย่างไร ผมว่าความฝันผมคงถูกเก็บพับ จากการ Bully ของเพื่อน "อยากเป็นกระเป๋ารถเมล์หรอหวะ" อะไรประมาณนี้ ผมรู้สึกถึงความธรรมดาที่ยิ่งใหญ่ อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้แวนยังมีความหลงไหล และคงรักษามันได้จนโต

เพราะความหลงไหลของเด็กหนึ่งคน ที่ยาวนานมากพอ ผมเชื่อว่าเขาจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้แน่นอน อย่างเช่นแวน


ความหมกมุ่น x (ไร้) สาระ โดย ฉิ่ง วินัย ฉัยรักษ์พงศ์

จริงๆผมเข้าไปฟังไม่ทัน มัวแต่เม้าอยู่ข้างนอกตอนเบลค เลยได้ดูสดจากจอนอกห้องแทน mingle อย่างหนึ่งที่ผม รู้สึกอยากไปบอกเด็กๆ เลยว่าเออความไร้สาระ เป็นสิ่งจำเป็น แต่เราต้องยอมรับว่า ความไร้สาระ ไม่ใช่ทุกอันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ แค่ให้มีมันมากเข้าไว้ เราจะได้มีโอกาสทำสำเร็จมากขึ้น

ก่อนเข้ามาในห้องช่วงเบรคบ่าย ผมก็นั่งคุยกับพ่อโก้ เรื่องการทำให้เด็กไทยรักวิทยาศาสตร์ มันสำคัญแค่ไหน พ่อโก้บอกว่า เราอาจจะมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลไปแล้ว ถ้าเราไม่ทำลายความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก คนคิดนี้ไร้สาระ เพราะอะไรใหม่ๆ ก็ต้องการความคิดบ้าๆ ทั้งนั้นหละ ยิ่งมีมาก โอกาสที่จะเกิดสิ่งดีๆ มันก็จะมากขึ้น

ฉิ่งบอกว่า มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวบนโลก ที่สามารถคิดไร้สาระได้ และนั้นย่อมหมายความว่า ความไร้สาระเป็นสิ่งมีค่าและจำเป็นของมนุษย์ใช่ไหม ผมคิด มันกลับความคิด และมุมมองเกี่ยวกับความไร้สาระของผมไปโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว ผมกระหายแล้วกับความไร้สาระ

วิทยาศาสตร์ x การลงทุน โดย อิ๊ก ดร.สารินทร์ ภูมิรัตน

ผมเคยมีพี่ที่รู้จักกันจบสาขาฟิสิกส์จากมหาลัยชื่อดัง แล้วกลับมาเป็นเจ้าของบริษัทของครอบครัว เล่าถึงความคับข้องใจเล็กๆ ว่าการจบวิทยาศาสตร์มา ก็อยากให้คนเหล่านี้ทำงานเป็นนักวิจัยในไทย แต่ปัจจุบันคนเหล่านี้ไปเป็นตัวเตอร์ ไม่ก็ไปทำวิจัยให้กับประเทศอื่นซึ่งน่าเสียดายยิ่งนัก

ผมว่า Talk นี้เป็นจุดเริ่มตนของความหวังที่ว่า เมืองไทยจะไม่สมองไหล เมืองไทยจะกลายเป็น innovation hub ในเอเชียได้ งานวิจัยกระดูกที่สร้างขึ้นมาจาก STEM Cells กำลังเป็นที่ต้องการ

กฎหมาย x ชีวิตจริง โดย เป๋า ยิ่งชีพ อัชณานนท์

ผมชอบการเปิดตัวของเป๋า เขาเริ่มด้วยการชี้ให้ทุกคนเห็นว่าพวกเรา ก็ทำผิดกฎหมายเช่นกัน ไม่ว่าจะแบบชัดเจนกับการขับรถเร็วเกินกำหนด การทานข้าวต้มหลังเที่ยงคืน หรือ การพูดภาษาอื่นผ่านเครื่องขยายเสียง เป็นเรื่องที่น่าตกใจ และปวดหัวสำหรับประชาชน และคนธรรมดาอย่างผมอยู่ไม่น้อย ที่กฎหมายเกือบครึ่งหนึ่ง เกิดจากผู้มีอำนาจร่างขึ้นมา แล้วไม่ได้ปรับเปลี่ยนแก้ไข ให้ทันกับยุคสมัยปัจจุบัน

บนโลกที่ทุกอย่าง ดูเหมือนจะไวขึ้น เราเห็นคนทำผิดกฎหมายออกข่าว เรารู้สึกอย่างไรบ้าง หนึ่ง เออเขาทำผิดเขาก็โดนจับ สอง เออเราก็ทำผิดเรื่องแบบนี้เหมือนกัน กฎหมายประกาศใช้กับทุกคน ที่มีความหลากหลายมากขนาดนี้ ยังไงก็จะมีคนที่ไม่สามารถทำตามกฎหมายบางข้อได้ ตัวเราเองก็มีกฎหมายบางข้อที่ทำตามไม่ได้ด้วยเช่นกัน

ผมนึกไปถึงงานพูดของ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ในวันครบรอบอะไรซักอย่างไม่แน่ใจ เกี่ยวกับประชาธิปไตย เขาบอกว่ายังไงซะ ก็จะไม่มีจุดตรงกลางของกฎหมาย ที่ทำให้ทุกคนพอใจได้ ถ้าเราปรับตามคำเรียกร้องของคนกลุ่มหนึ่ง ก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเสียประโยชน์ และลุกขึ้นมาเรียกร้องบ้าง (ดร.สมเกียรติ อธิบายด้วยการเลือกไอศกรีมของเด็กสามคน)

ปาร์ตี้ x ธรรมะ โดย โน้ต พงษ์สรวง คุณประสพ

ผมชอบความยอมรับ และสื่อสารออกมาอย่างเปิดเผยของ โน้ต ว่าแต่ก่อนเขาเคยคิดอย่างไร เคยเมินต่อคนธรรมดา และเข้าหารับงานเฉพาะคนดัง เคยไปอยู่ในจุดสูงสุด ที่ต่างชาติต้องมาติดต่อ เป็นคนกลางไปหาคนดังในสังคม เคยอยู่ในจุดสูงสุดของ Ego และก็ตกต่ำลง พร้อมความคิดที่ไม่ยอมรับ ว่ามันเป็นเพราะตัวเอง จนพบว่าตัวเองสูญเสียการอยากพัฒนาตัวเองไป ในวันที่ทุกอย่างมาวางให้ถึงมือแล้ว ก็นั้นหละผมว่าฟังแล้วสนุกดีนะ Talk นี้

หยินหยางประสาน x วิทยายุทธ โดย ติ๊ก นายอุดมศิลป์ เหมสถาปัตย์

พึ่งเข้าใจการรําไทเก๊กก็ TED นี้หละ พอรู้จักแล้วมันว๊าวมากๆเลย เพราะผมก็เป็นคนที่พยายามฝึกจิตตัวเอง เท่าที่เราจะพอทำได้ เหมือนเจอหนึ่งวิธีที่น่าจะไปเรียนรู้เอาไว้ และพอรู้มากกว่านั้นอีกว่า เป็นศิลปะป้องกันตัวแบบใช้แรงคนอื่น ที่มีความละเอียดออ่อนถึงเพียงนี้ ยิ่งกว่าวิปัสสนาใดๆ ที่ผมเคยฝึกมาเสียอีก ก็เริ่มมองอากง อาม่าที่สวนลุมพินี เปลี่ยนไปคิดว่าจะแวะไปเข้าร่วมด้วยซักครั้งหนึ่ง แต่ขอไปเข้าคอสยิงธนูก่อนนะ

ถือเป็นการ mingle ไปพร้อมๆกับผ่อนคลายหลังทานข้าวเที่ยวที่ดีเลยหละ

ลิเก x ดราม่า โดย โอ๋ สุกัญญา สมไพบูลย์

เป็นอีก Talk ที่ฟังสนุกมากตั้งแต่ต้นจนจบ ขนาดว่าผมเกลียดละครน้ำเน่านะเนี่ย โอ๋มาพูดถึง Pattern ของละครไทย ที่มีพระเอก นางเอก พระรอง นางร้าย และคนใช้ ยังไงซะละครไทยก็ใช้เรื่องราวตามนี้ และมันขายให้กับคนไทยได้

ชอบสัญลักษณ์ที่โอ๋ เลือกมาใช้ในการอธิบาย ด้านแต่ละด้านของคนเรา เหมือนเชือกเส้นหนึ่ง มีทั้งด้านดีและไม่ดี เราอาจจะมีด้านดีมากหน่อย เลยไม่ได้แสดงด้านที่ไม่ดีออกมา แต่นั้นก็ไม่ได้แปลว่าเราดีสมบูรณ์แบบ เก็บด้านไม่ดีไว้คอยเข้าใจคนอื่น ในวันที่เขาพลาด

จักรกล x มนุษย์ โดย ต้า วิโรจน์ จิรพัฒนกุล

ผมเคยรู้จักต้า เมื่อหลายเดือนก่อน ตอนที่กำลังจะหาที่ฝึกงานตอนปิดเทอม เพื่อที่จะเตรียมตัวให้พร้อมกับโลกใหม่หลังจบโครงการ Teach for Thailand ตอนนั้นผมก็พยายามที่จะมองภาพของ Data Sci ให้ออกมากขึ้น ดูว่ามันจะไปเกี่ยวกับการศึกษาได้อย่างไร และวันนี้ได้เจออีกครั้งในมุมมองใหม่ ที่หลายคนในสังคม กังวลถึงการเข้ามาแทนที่ของ AI

โลกเปลี่ยนไปไวมาก ผมจะได้ว่าเรื่องของคนอ่านฟิล์มเอ็กเซอร์เลย์ พึ่งผ่านไปสองปีเอง เรื่องมีอยู่ว่า โลกเราเชื่อมถึงกันมากขึ้น หมอในอเมริกาเริ่มที่จะแยกงานบางอย่าง ไปให้คนในประเทศที่ค่าแรงถูกกว่าทำ(Outsourcing) นั้นคือการอ่านฟิล์มเอ็กเซอร์เลย์ มีการส่งงานต่อให้กับหมอในอินเดีย ที่ค่าแรงถูกกว่าทำ อาชีพนี้ใช้เวลาเรียนและฝึกฝน 5 ปีถูกแทนที่ด้วยคนชาติอื่นไปอย่างหน้าตาเฉย ผ่านมาสู่ปัจจุบัน เรื่องจริงร้ายกว่าในละคร คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนที่โดยส่วนใหญ่ได้แล้ว เราเอาฟิล์มเก่าๆ และผลวิเคราะห์ ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้(Machine Learning) ใช้เวลาเพียงหนึ่งวันคอมพิวเตอร์ก็สามารถอ่านฟิล์มได้แล้ว
นั้นคือสิ่งที่พวกเราต่างตื่นตระหนก และกลัวกันว่า AI จะเข้ามาแทนมนุษย์ ต้า ให้เราทบทวนกับสิ่งนี้อีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากมีโรคใหม่ๆ ฟิล์มก็ยังต้องใช้คนวิเคราะห์อยู่ เราก็มีคอมพิวเตอร์ช่วยคนไง ให้ทำงานได้ไวขึ้น ส่วนคนขับรถบรรทุก ทุกวันนี้มีรถที่ขับได้เองแล้ว แต่ก็ต้องใช้คนอยู่ในการทำความเข้าใจลูกค้า การซ้อมรถหากเสียหาย แค่ให้ AI ช่วยให้เขามีเวลาพักระหว่างขับรถได้มากขึ้น ปลอดภัยขึ้นไง เป็นมุมมองหนึ่งที่ผมไม่ได้คิดถึงนัก ว่าคนจะอยู่ร่วมกับ AI อย่างไร

วิทยุ x ความรัก โดย อ้อย นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล

คนเราในปัจจุบันฟังกันน้อยลง ต่างคนต่างพูดเรื่องของตัวเอง เราต้องการคนรับฟังมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ Club Friday มีคนโทรเข้ามาตลอดไม่ขาดสาย ตอนแรก อ้อย ก็คิดว่าเรื่องความรักจะเบาไปไหม สำหรับเวทีนี้ แต่พอมาดูสถิติ การฆ่าตัวตายของคนไทย พบว่าสูงเป็นอันดับสามของโรค และด้วยสาเหตุหลักคือ ความรัก ประกอบกับเป็นประเทศในอันดับต้น ในเรื่องของการนอกใจ ซึ่งมีอัตราส่วนของชายและหญิงไม่แตกต่างกัน

ถ้าเทปออกมาอยากให้ไปฟัง มีหลายคนบอกว่าจบ Talk นี้แล้ว ไม่รู้ทำไมมีมีดปักเต็มตัวไปหมด ทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ แท้ๆ ชอบคำคมคำนี้สำหรับคนโสต เป็นโสต คลายเหงา ดีกว่าคลายเศร้า

การทดลอง x จานดาวเทียม โดย กร ชลากรณ์ ปัญญาโฉม

Internet จะเข้ามาแทน TV จริงหรือ? เป็นคำถามจากข้อคิดเห็นของคนในสังคมไทย พูดถึงประเด็นนี้กัน กรจึงเริ่มพิสูจน์ข้อคิดเห็นนี้ ด้วยการทดลองหาข้อเท็จจริง สุดท้ายแล้วยังไงซะคนส่วนใหญ่ของประเทศ ก็ยังดูทีวี แต่เพียง Internet จะเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกริยาให้เร็วขึ้น ให้คนรู้จักรายการเร็วขึ้น เพิ่มยอดคนดูได้มากขึ้น อย่างรายการ The mask singer หลายคนที่เล่น Social รู้จักผ่านในนั้น แล้วก็มานั่งรอดูใน TV และคนส่วนใหญ่ที่ใช้ Internet จะใช้ระบบเติมเงิน ซึ่งจำกัดการใช้งาน TV ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น

ข้อมูลสำคัญ ผมว่าในยุคนี้เราเชื่อสัญชาติญาณไม่ได้เลย ยิ่งผมเป็นครูคณิตศาสตร์ จะรู้ว่าคนเราไม่มีสัญชาติญาณ เรื่องสถิติ และความน่าจะเป็นเอาเสียเลย เรามันจะเลือกผิดอยู่บ่อยครั้ง เราคาดการณ์โอกาส ต่างกับความเป็นจริงไปคนละทิศคนละทาง มันคงเป็นเพราะอารมณ์ ผมชอบ Talk นี้นะดูเป็น Fact ใหม่ๆน่าตื่นเต้นดี

แตกต่าง x หนึ่งเดียว โดย อิบราฮิม โชคชัย วงษ์ตานี

ในภาพของผมตลอดมาหลายปีมานี้ อิสลาม = ความอบอุ่น เคยมีการเดินทางอยู่ครั้งหนึ่งในมาเลเซีย ทำให้ ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงความหมายนี้ได้ จนถึงวันนี้ และครั้งนี้ก็เช่นกัน อิสลาม = ความอบอุ่น

อัสรามาเลกุม หรือการสวัสดีในอิสราม อิบราฮิม ถามกับทุกคนใน Hall นี้ว่า คำว่าสวัสดี ในไทยนั้นหมายความว่าอะไร สวัสดี = ขอความดีงานจงมีแก่ท่าน และให้จับมือเพื่อบอกว่าเจอกันด้วยดี และจากกันไปด้วยดี

การตายของคนหนึ่งคนเป็นจุดจบ? พ่อตาย ปล่อยให้เกิดหญิงม่าย และเด็กที่ขาดพ่อ เด็กคนนั้นอาจจะเติบโตขึ้นมาเป็นหมอที่ดีในสังคม แต่เราก็สูญเสียโอกาสนั้นไปแล้ว การตายไม่ใช่จุดจบ แต่เป็นปัญหาที่ตามมาอีกมากมาย

ปัญหาการก่อการร้ายในภาคใต้ไม่ได้ลดลงเลย อิบราฮิม นำเสนอข้อมูล ความถี่ของการก่อการร้ายใน หนึ่งเดือน พบว่าเฉลี่ยแล้วมีประมาณ 150+ ครั้ง(ผมจำตัวเลขไม่ได้) ซึ่งในบางเดือนมีมากถึง 450 ครั้งเลยทีเดียว หมายความว่า เรากินข้าวหนึ่งมื้อ มีเหตุร้ายเกิดขึ้น 3 ครั้ง เรารู้สึกเหมือนว่าข่าวน้อยลง แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่ในพื้นที่

จบด้วยคำถามสุดท้าย อิบราฮิม ถามกับทุกคนว่า อะไรกันที่เชื่อมโยงทุกคนเข้าถึงกัน "เราเชื่อมโยงกับคนผ่านลมหายใจ" ลมหายใจออกของคนภาคใต้ เป็นลมหายใจเข้าของคนกรุงเทพ

บ้าน x นาฬิกาทราย โดย พาย ภาริอร วัชรศิริ

คงจะไม่ครบถ้าจะมีเรื่องนี้เป็นส่วนเติมเต็มใน TED ผมชอบคำตอบของแม่พาย ตอนที่พายถามว่าทำไมแม่ยังมีความสุขมากขนาดนี้ ทั้งที่ตัวเองก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว รอไปฟังเองนะครับ

เพลงร็อค x สังคมสว. by The Charapaabs

คนแก่ก็มีความฝัน คนแก่ก็เคยเป็นเด็ก คนแก่สามารถทำในสิ่งต่างๆได้ไม่ต่างจากเรา ไม่นานก็มีคุณลุงคนหนึ่ง ออกมาเต้นอย่างพริ้วมาก จนเด็กอย่างผมถึงกับอายไปเลยทีเดียว คำว่าชราภาพ สำหรับพวกเขา คงหมายถึง ความแก่แต่รูปลักษณ์ ความฝันยังคงเป็นเด็กเสมอ เห็นพวกพี่แล้วมันมีไฟหวะ :)



ขอบคุณทีมงานทุกคนเลยที่จัดงานนี้ขึ้น ทีมงานไม่ได้เข้าไปฟังด้วยหละ และรู้จากเพื่อนๆ ว่าหลายคนทำงานหนักมากก่อนวันงาน แทบจะไม่ได้นอนกัน แต่ผมก็เห็นประกายตาที่เปี่ยมไปด้วยพลังจากทีมงานทุกคน แล้วเจอกันใหม่ปีหน้า หวังว่าจะได้เป็นอาสาด้วยคนนะครับ



ถ้าล่องหนได้หนึ่งวันจะขี่มอเตอร์ไซค์ลงใต้ พร้อมกับชุดว่ายน้ำ หนังสือ กล้องถ่ายรูป ไปอยู่กับหมู่บ้านชาวประมงพื้นเมือง แล้วแอบขึ้นเรือติดไปด้วย และนั่งคุยกับเขาจนหมดวัน คงเป็นความหมายของทะเลที่ผมตามหาอยู่หละมั้งนะ


Thursday, March 30, 2017

Impactor Night: Education Technology

Impactor Night เป็นการรวมตัวกลุ่มของ SE(Social Enterprise) Start up โดยหัวข้องานในครั้งนี้คือ EdTech(Education Technology) ความตั้งใจของผมตอนนี้หลังจากจบโครงการ 2 ปีของ Teach for Thailand อยากจะลงมาอยู่ในวงการของ EdTech ยังมีสิ่งที่ให้ทำอีกเยอะในด้านการศึกษา วันนี้ก็มาเปิดโลกรู้จักเครือข่ายของ Start up เพิ่ม



วิทยากรที่ให้เกียติมาในงานนี้ได้แก่ คุณกุ้ง - opendream, คุณเสก - Toolmorrow, คุณทอย - Globish เป็นเนื้อหาการพูดที่เราอาจจะไม่ค่อยได้ฟังนัก หากไปงาน pitch หรือหา funding พี่ทั้งสามคนถ่ายทอด Passion ออกมาได้น่าประทับใจยิ่ง


เริ่มที่ท่านแรกก่อนเลย คุณเก่ง opendream เกิดและเติบโต ในยุคของเครื่องเกมแฟมิคอม(สมัยรุ่นพ่อ) ยุคเริ่มแรกของการอ่านการ์ตูน ซึ่งพ่อแม่ในสมัยนั้นก็จะบอกว่า "เอาแต่อ่านการ์ตูน เล่นเกมอยู่นั้นหละ ไร้สาระมันเอาไปทำอะไรได้" คุณเก่งก็เกมความคับข้องใจในมุมมองของพ่อไว้ จนมาวันหนึ่งรวมตัวทีมขึ้นมาได้ และคิดว่าเกมมันน่าจะทำอะไรได้มากกว่าความสนุก มันน่าจะสามารถให้ความรู้ผู้คนได้ 

เกมแรกที่ทำออกมา "รักจัดหนัก เดอะเกม" จากหนังเรื่องรักจัดหนัก(ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เคยดู) เป็นเกมเล่นเป็นด่านๆ 30 ด่าน แต่ละด่านก็จะมีเรื่องของความรู้ในการคุมกำเนิด ต่อมาทาง UNESCO ก็ให้ข้อมูลเรื่องการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติมาให้ ความหนาหลายหน้าอยู่ ซึ่งทาง opendream ก็แปลงออกมาในรูปของเกมชื่อ "สายฟ้าตะลุยน้ำท่วม" จากการประเมินความเข้าใจของผู้เล่นเกมที่มากขึ้น ทางทีมก็เริ่มเชื่อมั่นว่า เฮ้ยเกมมันทำให้คนเรียนรู้ได้แน่ๆ

ล่าสุดทาง TDRI ก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตมา อยากให้ถ่ายทอดปัญหา และผลของการทุจริตให้ผู้คน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่หนัก และต้องคิดเยอะเหมือนกัน ทางทีมเลยได้คิดว่าจะทำออกมาเป็นเกม ที่ดำเนินเนื้อเรื่องแบบนิยาย ตัวเกมจะให้ทางเลือกในแต่ละสถานการณ์ว่าจะปล่อยการทุจริตนั้นไปหรือไม่ ซึ่งการกระทำทุกอย่างส่งผลหมด ถ้าปล่อยไปเราอาจจะทำงานง่ายขึ้นแต่ผลร้ายอาจจะตามมา ถ้าไม่ปล่อยไปเราก็จะสร้างศัตรู

จุดเด่นของการใช้ Technology คือการที่เราสามารถได้ข้อมูลออกมาปริมาณมาก(Big data) โดยส่วนตัวผมมักจะทำงานอยู่ในส่วนของการประเมิน เลยเห็นประโยชน์ตรงจุดนี้มาก อย่างเกมตัวล่าสุดเกี่ยวกับการทุจริต เราสามารถเอาข้อมูลการตัดสินใจของสถานการณ์เสมือนในเกมมาวิเคราะห์ได้ และที่สำคัญเป็นการประเมินที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากทีเดียว


ท่านต่อมาคือ คุณเสก Toolmorrow ผมฟังเรื่องราวของพี่เสพก็นึกถึงเด็กๆ ในโรงเรียนผมหลายๆคน ที่เข้าไปสู่ด้านมืด พี่เสกเล่าให้ฟังว่า เขาเป็นเด็กสวนกุหลาบมาก่อน เขาเป็นคนหัวดีและเรียนเก่ง เขาเคยคิดว่าจะเป็นหมอ ต่อมาคะแนนตกก็เปลี่ยนใจอยากเป็นวิศวะ ด้วยความเชื่อที่ว่าคนเรียนเก่งก็ต้องเรียนหมอหรือวิศวะ ชีวิตพลิกผัน ต่อมาก็เริ่มไม่เข้าเรียน หมกตัวอยู่ที่สยาม แม่เสียใจตลอดในช่วงนั้น เพื่อนหลายคนเสียชีวิต หรือติดคุกไป เพราะการไปทำอะไรแพลงๆ

โชคดีที่ตอนนั้นพี่เสกกลับใจได้ จนวันนี้เขาคิดว่า ในสังคมเรามีความเชื่อผิดๆหลายอย่างที่ไม่มีใครทำอะไรกับมัน ทาง Toolmorrow เปรียบเสมือนสื่อที่จะไป discredit ความเชื่อผิดๆเหล่านั้น จุดเด่นของที่นี้คือการทำ research ก่อนเสมอเพื่อให้ยิงได้ตรงจุด ข้อมูลที่เอามาตี ให้สังคมไทยดูจะถูกศึกษาและทดลองจริง ทางทีมก็จะรับทำเฉพาะแต่สื่อเพื่อสังคมเท่านั้น

"มนุษย์ทุกคน อยากจะไปให้ถึงความสุข แต่มันมักจะมีกำแพงกั้นอยู่ กำแพงตัวนี้คือ Mindset" พี่เสก คนส่วนใหญ่ที่มาดูจะเป็นวัยรุ่นช่วงมหาลัย และพ่อแม่ของเด็กกลุ่มนี้ มีการถูกนำไปใช้เป็นสื่อการสอนโดยนักจิตวิทยา ครูในโรงเรียน ซึ่งก็อยากหาวิธีที่จะประเมินผลกลุ่มคนเหล่านี้ กล่าวได้ว่า Toolmorrow เป็นอันดับหนึ่งของ Social Experiment Clip

ท่านสุดท้ายผมเคยเจอแล้วในงานของ AIESEC คุณทอย Globish เชื่อว่าในวงการของ Start up ไม่มีใครไม่รู้จัก คุณทอยเล่าไปถึงความอับอาย ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของตัวเองตอนประถม "ครูถามผมว่า How are you? และผมตอบไม่ได้ เพื่อนเลยกระซิบบอกผมว่า I go to school by car. ผมก็ตอบไปเต็มเสียงเลย และทุกคนรวมถึงครูก็หัวเราะผม" ทอย ตั้งแต่ตอนนั้นผมก็ตั้งธงเลยว่าไม่เอาแล้วภาษาอังกฤษ แต่ทางบ้านฐานะดีขึ้น ก็เลยส่งผมไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ผมก็ต้องทนเรียน และมีผลการเรียนภาษาอังกฤษต่ำสุดเสมอ แต่ช่วงนั้นไม่อยากอับอาย และหนีไม่ได้เลยพยายามพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองขึ้นมา

จนอยู่มหาลัยเรียนสาขาภาพยนต์ แต่ชีวิตใช้ไปกับการอยู่กับ AIESEC พาคนต่างชาติเข้ามาสอนในเมืองไทย ให้คนที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอฝรั่งได้เจอ แต่นั้นมันก็ยังไม่ได้ช่วยให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษระดับใช้ได้ ด้วยความที่เก่งอังกฤษที่สุดแล้วในตอนนั้น เลยถูกส่งไปงานสัมมนาของ AIESEC ต่างประเทศบ่อยๆ และก็รู้สึกว่าไทยยังด้อยอยู่มาก เราเจอเขมร เราก็แพ้ คนไทยไม่กล้าพูดผิด

หลังจบมาก็คิดว่าคนอย่างนี้ทำงานกับใครไม่ได้แน่ เลยตั้งไปเปิดบริษัทของตัวเอง ได้ไอเดียจากคนญี่ปุ่นว่าโมเดลที่จับคู่คนสอนกับคนเรียนมันเกิดขึ้นเยอะมากที่นั้น ประกอบกับการพบว่าภาษาอังกฤษเป็นปัญหาระดับชาติรองจากคอรับชั่น จึงได้เริ่มก่อตั้ง Globish ขึ้นมา

Globish วางตัวการสอนอยู่ในตำแหน่ง สนทนาสื่อสารได้ ไม่ต้องมีสำนวนอะไรมาก ใช้งานจริง ในแต่ละอาชีพของเรา ตอนนี้กำลังจับตลาดกลุ่ม B2B (Bussiness to Business) ขายคอสเข้าไปในบริษัท ฟังดูแล้วก็เหมือนกับไม่ใช่ SE เท่าไรนัก แต่ในความจริงแล้วคุณทอย พยายามจะเข้าถึงคนกลุ่มล่างของสังคม ความพยายามยังไม่เป็นผลเท่าไรนักจึงคิดว่า ถ้าเราทำจากกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพและมีความต้องการก่อน จะทำให้ลงไปแก้ปัญหาด้านภาษาของคนไทยได้

จบการบรรยาย สิ่งที่ผมค้นพบก็คือทั้งสามคน ก็ยังมีความเป็นมวยวัด ในด้านการศึกษา แต่นั้นไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด และผมค้นพบมนเสน่อีกอย่างหนึ่งของ Start up นั้นคือการทดลอง ปรับแต่ง เปลี่ยนกรอบความเชื่อของเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตรงและดึงลูกค้าเข้ามาได้ ขอขอบคุณทาง Dream Office ที่จัดงานดีๆ และมีแอลกอฮอล์แจก(ทำให้ผู้เขียนมาทำงานสาย 555)

Friday, March 3, 2017

ถอดบทเรียนครูจากเรื่อง Assassination Classroom


Assassination Classroom : ชั่วโมงลอบสังหาร


หลังจากปวดหัวกับการตรวจข้อสอบ NT เสร็จ วันนี้เลยอยากพักสมอง เลยหยิบประเด็นหนึ่งที่เก็บไว้นานจนหยากไย่เริ่มเกาะหนาเต็มที เป็นหนังสือการ์ตูนที่ผมเสพอยู่ช่วงหนึ่ง อยากให้คนที่เป็นครู หรือทำหน้าที่สอนพัฒนาคน ได้อ่านและไคร่ครวญแต่ละตอนไปด้วยกัน

ใช้เวลาช่วงเย็นๆ หลังจากงีบเสร็จไปตื่นหนึ่ง ลองค้นดูตาม pantip เวปรีวิวต่างประเทศ จะเล่าถึงว่าการ์ตูนเรื่องนี้ มุขตลก การปูเนื้อเรื่อง ปมปัญหา และเนื้อหาที่ไม่ยึดยาว 180 ตอนจบ แต่ยังไม่มีใครเอามีตีความในมุมมองของครูเท่าไรนัก ก็ถือเป็นโอกาสอันดี เริ่มเลยละกัน...

ผมอ่านเรื่องนี้ตอนที่ไฟความเป็นครูกำลังจะค่อยๆหายไป จากความเหนื่อยล่า และการผลัดวันในการขัดเกลาจิตวิญญาณความเป็นครู ที่กำลังจะขึ้นสนิมเต็มที 

เนื้อเรื่องดำเนินไปโดยที่ มีตัวประหลายสีเหลืองโพล่เข้ามาในชั้นเรียน มาสอนนักเรียน ห้อง E ที่ห่วยแตกที่สุดในโรงเรียน และบอกเป้าหมายว่า จะต้องฆ่า อาจารย์ให้ได้ก่อนจบปีการศึกษา หากไม่เป็นเช่นนั้นโลกจะดับสูญ ห้ามบอกเรื่องนี้กับใคร ครอบครัวของคนนั้นจะถูกเล่นงาน อาจารย์ประหลาย ความรู้ ความสามารถสูงมาก รวมไปถึงความเร็ว 20 มัค ที่ทำให้อาจารย์สามารถ เดินทางรอบโลก แยกร่างสอนนักเรียน ออกข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว หากใครฆ่าได้จะได้รับเงินรางวัลมหาศาล

สถานการณ์ห้องเรียนในหนังสือการ์ตูน ไม่ต่างอะไรกับห้องเรียนที่ผมได้รับมอบหมายตลอด 2 ปี ไม่แตกต่างจากองค์กรเล็กๆที่กำลังจะหมดไฟ ในถ้านะของครูหรือผู้นำ เราจะนำพาคนที่เราดูแลให้เดินไปได้อย่างไร ต่อไปนี้จะเรียกชื่อตัวละครสีเหลืองนี้ว่า "อาจารย์โคโระ" ตามเนื้อเรื่อง ผมยกอาจารย์โคโระให้เป็นครูในอุดมคติที่ดีที่สุดที่จะเป็นได้

บทเรียนต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมแกะมาจากความทรงจำ ซึ่งถ้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการจับประเด็น จากการ์ตูนเรื่องนี้ได้ ก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

บทเรียนแรก เป้าหมายโฟกัส ไปที่จุดเดียวกันให้ได้ ในเรื่องนี้ เป้าหมายร่วมกันคือการฆ่าอาจารย์ให้ได้ ด้วยแรงพลักดัน และแรงจูงใจที่ชัดเจนทุกคนพยายามที่จะหาวิธีการในแบบของตัวเอง ในการฆ่าอาจารย์ลงให้ได้ แน่นอนว่าถึงเราจะหาจุดที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวจูงใจ แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่ไม่ไปด้วยในห้องเรียน หรือองค์กร ในการ์ตูนเรื่องนี้ก็มีวิธีการจัดการเช่นกัน

บทเรียนที่สอง การรู้จักผู้เรียน อาจารย์โคโระมีความเสือก ติดอันดับต้นๆ อาจารย์จะพยายามจดทุกอย่างที่ที่ได้จากการสังเกตนักเรียน ว่าชอบอะไร ถนัดตรงไหน ปกติจะไปอยู่ที่ไหน สังเกตปัญหาก่อนล่วงหน้า การเรียนรู้ผู้เรียนอย่างเข้มข้น ทำให้อาจารย์โคโระ ดึงด้านดีๆของเด็กห้อง E ออกมาได้อย่าเต็มศักยภาพ

บทเรียนที่สาม การชมเชย อาจารย์โคโระ มักจะชมก่อนอยู่เสมอ ซึ่งการชมได้นั้นต้องผ่านการมองหาข้อดี ชมไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเลวร้ายซักแค่ไหน อาจารย์จะหาจุดที่ชมก่อน ตักเตือนได้เสมอ และให้คำแนะนำตามความถนัดของแต่ละคน

บทเรียนที่สี่ การเปลี่ยนทุกสถานการณ์ เป็นบทเรียน ไม่ว่าตอนนั้นจะเป็นการพักผ่อน ท่องเที่ยว การลงโทษ อาจารย์โคโระมักจะมองหาหนทางที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน เวลาเดินทางไปไหนก็จะมี Guidebook ที่เขียนทุกอย่างไว้ให้พกติดตัว เพื่อศึกษาและใช้ในยามฉุกเฉิน หรือการลงโทษโดยให้ไปทำความดี เพื่อที่จะเรียนรู้คุณค่าของการให้ตอบแทนผู้อื่น

บทเรียนที่ห้า การคาดหวังในตัวนักเรียนที่สูง และการสนับสนุนเต็มที่ ถึงจะเป็นห้อง E ที่ห่วยที่สุดในโรงเรียน แต่อาจารย์ก็คาดหวังให้ทุกคนสามารถชิงอันดับต้นๆ ของการสอบในโรงเรียนให้ได้ ในเรื่องอาจจะเว้อหน่อย อาจารย์ทีความเร็ว 20 มัคจึงสามารถลงไปประกบนักเรียนทุกคนในเวลาเดียวกันได้ ส่งผลให้ทุกคนพัฒนาตามศักยภาพของตัวเองอยู่ตลอด อาจารย์จะไปศึกษาทุกความสนใจของนักเรียนเพื่อที่จะมา Mentoring เด็กแต่ละคนได้อย่างมหัศจรรย์

บทเรียนที่หก สอนด้วยหัวใจ ในเรื่องจะมีตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ อาจารย์โคโระมาสอนในห้องนี้ ตัวละครตัวนั้นเป็นครูที่ไม่ได้เก่งอะไรเลย แต่มาพร้อมด้วยหัวใจ และส่งต่อให้อาจารย์โคโระมาดูแลนักเรียนกลุ่มนี้ต่อ ผมว่ามันวิเศษมาก ทำให้คิดว่าถึงเราจะสอนห่วยแค่ไหน ขอให้ทำเต็มที่ ไม่ทางได้ก็ทางหนึ่ง สิ่งที่เราหวังก็จะเกิดขึ้นในตัวนักเรียน

ขอบคุณที่อ่านจนจบ อยากให้ไปอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ มันจะช่วยให้เข้าใจและซึมซับในสิ่งที่ผมเขียนได้ดีขึ้น และหวังความความเป็นครูในตัวทุกคนจะติดไฟ กลับมาโชติช่วงเหมือนดังเดิม เพื่อนักเรียน ลูกน้อง ลูกหลาย หรือคนที่กำลังเดินตามเรามา

Saturday, January 7, 2017

Gobblet Gobbler: เกม XO ฝึกสมอง


ห่างหายไปนานจากการเขียน Blog เพราะความวุ่นวายในชีวิตช่วงเสาร์ อาทิตย์ วันนี้กลับมาด้วยเกมที่น่าสนใจอยากให้ครูนำไปสร้างเป็นวัฒนธรรมทดแทนการเล่นบางอย่างของเด็กๆ ครั้งนี้ผมขออนุญาตเขียนแบบงานวิจัยเล็กน้อยนะครับ

ที่มาและความสำคัญ

เนื่องจากโรงเรียนที่ผมทำการสอนอยู่นั้น เด็กๆติดเกมเป็นอันมาก จนโรงเรียนต้องสั้งงดไม่ให้เอามือถือมาโรงเรียน แต่ด้วยความที่นักเรียนไม่มีกิจกรรมอะไรจะทำ ด้วยสถานที่ที่แคบ เมื่อเทียบกับจำนวนนักเรียนแล้ว การเล่นกีฬาก็จำกัดได้แค่คนบางกลุ่ม การละเล่นที่พบเห็นได้ทั่วไปในโรงเรียน ส่วนใหญ่ไม่ได้ช่วยพัฒนาทักษะการคิดเท่าไรนัก เช่นการนำโปเกมอนมาดีดกินกัน นักเรียนส่วนใหญ่ปล่อนเวลาช่วงพักไปอย่างสูญเปล่าจากการอยู่เฉยๆ
ด้วยความที่เป็นครูคณิตศาสตร์ ในเทอมนี้ผมเน้นเรื่อง Critical Thinking เป็นหลัก และได้ไอเดียจากพี่ใน Teach for Thailand ถึงเกมง่ายๆ ที่ทำก็ง่าย อธิบายก็ง่าย เล่นก็ง่าย ใช้เวลาไม่นานในการเล่น แต่เด็กได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ ได้ในระดับพอๆกับ หมากฮอส แต่ทุกคนเล่นได้ ด้วยอุปกรณ์ที่น้อยมาก ไม่ว่าเด็กประถมหรือมัธยมต้นติดใจเป็นอันมาก

อุปกรณ์และกติกาในการเล่น

สิ่งที่ใช้:

1) ฝาปิดท่อ PVC 3 ขนาดที่สามารถครอบกันได้ จำนวน 4 ชุด (ผมซื้อทั้งหมดนี้จากร้านวัสดุก่อสร้างในราคา 120 บาท)
2) กระป๋องสี หรือเทปสี

ในเกมกติกาเหมือนเกม XO ที่เราเล่นกันตอนเด็กๆคือถ้าฝ่ายไหนยึดครอง พื้นที่เรียง 3 ได้ก่อนฝ่ายนั้นจะชนะ ซึ่งในเกมนี้จะเพิ่มกฎอีกเล็กน้อย คือ เราสามารถนำชิ้นที่ใหญ่กว่าครอบชิ้นที่เล็กกว่าได้ และเราสามารถย้ายสีของเราที่เคยวางแล้วได้


คลิปสาธิตวิธีการเล่น https://youtu.be/nYvYEhBG9HM



เวลาที่ได้เล่นกับนักเรียนผมก็รู้สึก ได้เรียนรู้วิธีการคิดของเขาไปด้วย เป็นสิ่งที่ผมอยากให้เกิดขึ้นในห้องเรียนตลอด เราควรจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กันในห้อง ครูแค่เป็นคนจุดประกาย และอำนวยการ นักเรียนจะมีวิธีการแปลกๆมาเอาชนะเรา เราแพ้เราก็ได้เรียนรู้วิธีคิด ซึ่งผมชอบมากจากเกมนี้ เดี๋ยวคงหาเกมอื่นๆมาใส่ให้เด็กอีก เพราะไม่นานเขาคงจะเบื่อ สำหรับเกมนี้ต่อไปเราสามารถเพิ่มความยากเป็นกระดาน 4x4 ได้

เนื่องจากเห็นเด็กๆสนุกกันมาก เลยเอามาทำเป็นโครงงานเสียเลย ให้พวกเขาได้คิดลึกขึ้นและครูจะได้วัดประเมินผลจริงๆ ว่าการเล่นนักเรียนได้คิดวิเคราะห์มากแค่ไหน



ปล. โปรดแชร์กันอย่างเงียบๆนะครับผมกลัวติดคุก ผมจะได้สอนจนจบ 2 ปี