5 เครื่องมือ(ถือ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของครู
ครูมีหน้าที่ภาระที่ต้องทำมากมาย นอกจากการสอนแล้วงานเอกสารก็ไม่ใช่น้อยๆ อีกทั้งยังต้องประเมินผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอเพื่อ ปรับปรุงการสอน และแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้เรียนอีกด้วย ดังนั้นผมจึงหาตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาบางอย่าง เพียงแค่ครูมีมือถือก็สามารถนำไปประยุกค์ใช้ในห้องเรียนได้แล้ว
สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้หน้าที่ครูหรือเกี่ยวกับการศึกษา ก็สามารถนำไปประยุกค์ใช้กับงานของตนเองได้ ผมเคยนำเช่น Plicker ไปใช้ประกอบการบรรยาย เพื่อเช็ค Feedback จากผู้ฟัง ยิ่งไปใช้กับผู้ฟังที่มีความพร้อม เครื่องมือฟรีต่างๆเหล่านี้ยิ่งแสดงศักยภาพออกมาสูงมาก
ผู้เขียนสอนอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาสของกทม.(เรียนฟรี รับทุกคน) ซึ่งผู้เรียนไม่ได้มีความพร้อมในด้านทรัพยากร เช่น การเข้าถึง Internet อาจจะไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน มีนักเรียนแค่บางส่วนเท่านั้นที่มี Smart phone แต่สำหรับคนที่มีมือถือแพง บางครั้งผมก็มาคิดว่าทำไม ผู้ปกครองถึงไม่เอาไปลงทุกกับการศึกษาของลูกตนเอง ไปในโรงเรียนที่ดีกว่านี้ (ขอบ่นนิดนึง) ที่กล่าวมานี้ผมเชื่อว่าโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมเลย ครูก็ยังสามารถนำเครื่องมือต่อไปนี้ใช้ในห้องเรียนได้
1. Plickers เป็นเครื่องมือที่คุณครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือการประเมินผู้เรียนได้ หรือแม้กระทั้งใช้ประกอบการสอนในรูปแบบของเกม สมัยผมเรียนอยู่ที่วิศวะจุฬา เรามีเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า Clicker หน้าตาคล้ายรีโมททีวีอันเล็ก ปุ่มตัวอักษรมากมาย อาจารย์ก็จะนำมาแจกคนละอันเพื่อให้นักเรียนเลือกตอบคำถาม ซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควรว่าจะตอบคำถามได้เสร็จในแต่ละครั้ง และการนำไปใช้ต้องมีการลงทุนสูง ช่วงเข้าไปสอนใหม่ๆ ผมเคยลองคิดว่าถ้าลงทุนซื้อซัก 50 อันใช้เงินไม่น้อยเลย
ตอนผมรู้จักสิ่งนี้ครั้งแรก รู้สึกเลยว่านี้หละนวัตกรรม เรียบง่ายและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด Plickers มีเพียง แผ่นกระดาษที่มีรหัสคล้ายๆ QR Code และมือถือเพื่อใช้ในการจับคำตอบของนักเรียน ซึ่งเราสามารถเก็บคำตอบได้ทีเดียวหลายๆคนพร้อมกัน ิสามารถใช้กับผู้เรียนได้สูงสุด 63 คน (จำนวนสูงสุดของรหัสที่มีได้) ต่อห้องเรียน ถ้ามีหลายห้องสามารถใช้รหัสซ้ำกันได้
วิธีใช้ Plickers
1) สมัครเข้าไปที่ www.plickers.com
2) เพื่อความเป็นระเบียบ ผมจะสร้างคำถามไว้ใน Library เพราะเวลานำไปใช้ เราจะไม่ต้องมาพิมพ์คำถามใหม่ แล้วยังสามารถ นำผลของทุกห้องเรียนมาดูเปรียบเทียบกันได้
3) ครูเข้าไปสร้างห้องเรียน เอาชื่อนักเรียนใส่ตามเลขที่
4) ใส่คำถามที่ต้องการลงไปในแต่ละห้องเรียน
5) ลงมือทำกระดาาตอบคำถาม สามารถทำเป็นแผ่นเคลือบ สำหรับใช้ทุกห้องหรือ ปรินซ์ติดปกหลังของสมุดก็ได้
6) เมื่อนำไปใช้ในห้องเรียนแล้ว เราสามารถดังรายงานผลออกมาสรุปได้ว่าคาบเรียนนี้นักเรียนเข้าใจกี่เปอร์เซนต์
ผมมักจะใช้ตอนต้นคาบเรียน ใช้คำถามง่ายๆ เพื่อเรียกความพร้อม ทบทวน และเช็คความเข้าใจผิดของผู้เรียน ต้องใช้ศิลป์ในการออกข้อสอบนิดนึง เราจะสามารถแยกแยะความเข้าใจผิด ด้วยตัวเลือกหลอกของโจทย์ (Diagnostic)
ปัญหาในการใช้งานก็มีอยู่บ้าง ผมมักจะไม่แจกแผ่นตอบคำถามทุกต้นคาบ จะใช้วิธีติดลงหลังสมุดของนักเรียนแทน ซึ่งถ้านักเรียนขาดความรับผิดชอบก็จะลืมเอาสมุดมาเรียน
2. Kahoot! ใช้เป็นเครื่องมือในการตอบคำถามในห้องเรียนเช่นเดี๋ยวกัน และดูจะมีความตื่นเต้นกว่าการใช้ Plickers เพราะมีการจับเวลา ใครตอบก่อนและถูกต้องจะได้คะแนนสูงกว่าคนอื่นๆ แต่ปัญหาคือผู้เรียนต้องมี Smart phone และมี Internet (ที่ไวนิดนึง)
ผมเคยเล่นครั้งหนึ่งตอนอบรมกับ Teach for Thailand ซึ่งก็บอกเลยว่าสนุกมาก ตื่นเต้นดีครับ แต่ไม่สามารถนำไปใช้ในโรงเรียนได้ ด้วยปัญหาว่าโรงเรียนสั่งงดนักเรียนเอามือถือมาพอดี
วิธีใช้ Kahoot!
1) ครูหรือวิทยากร เข้าไปที่ getkahoot.com ทำการสมัครและตั้งคำถาม ซึ่งเราจะได้ PIN มา2) ให้ผู้เรียนเข้าไปในเวป https://kahoot.it/ แล้วกรอก PIN ของเรา ผู้เรียนสามารถเข้าไปตั้งชื่อได้ตามใจชอบ
3) ก็เล่นซิครับ :)
สำหรับโรงเรียนที่นักเรียนไม่มีความพร้อม แต่ยังเอา Smart phone ไปโรงเรียนได้ ครูสามารถจับกลุ่มนักเรียน ให้แต่ละกลุ่มมีนักเรียนที่มีมือถือ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ถ้าไม่มีเน็ตอีกก็คงต้องเสียสละแชร์เน็ตด้วยนะครับ
3. ClassDojo ช่วงนี้ผมในเครื่องมือตัวนี้บ่อยหน่อย เพราะต้องการจะติดตามคุณลักษณะ (Character Strength) หรือพฤติกรรมของผู้เรียน ตอนใช้ครั้งแรกผมเห็นภาพโรงเรียนทั้งโรงเรียนที่ครูใช้แอพนี้ทุกคน มันจะทรงพลังมาก เพราะอะไรเรามาดูกัน (www.classdojo.com)
สำหรับผม ClassDojo เป็นเครื่องมือไว้สำหรับ
1) เช็คการเข้ามาเรียนของผู้เรียน
2) บันทึกพฤติกรรมทั้งด้านที่ดีและไม่ดีของผู้เรียน
3) Feedback พฤติกรรมของผู้เรียน
เราสามารถตั้งเกณฑ์การให้และลดคะแนนได้ เวลาให้คะแนนนักเรียนส่วนมากผมจะให้ท้ายคาบเรียน หรือหลังจากโรงเรียนเลิก แล้วมานั่ง Reflect ผู้เรียนในวันนั้นๆ เคยลองพยายามให้คะแนนระหว่างคาบอยู่ช่วงหนึ่ง ผมพบว่าค่อนข้างลำบาก สำหรับผู้เรียนจำนวน 40-50 คน เพราะใช้เวลาพอควรในการหาชื่อ ดังนั้นจึงแก้ปัญหาโดยการแจกไม้ แล้วนำมาแลกคะแนนท้ายคาบแทน
ข้อมูลใน Dojo เราสามารถดึงออกมาในรูปของ Excel ได้เช่นกัน แต่ถ้าตั้งชื่อนักเรียนเป็นภาษาไทย อาจจะมีปัญหาเล็กน้อย เช่นชื่อจะกลายเป็นภาษาต่างดาว เวลาดึงข้อมูลออกมา แต่การแสดงผลในเวปหรือแอพเป็นภาษาไทยนั้นไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
สำหรับครูที่ต้องทำการประเมินคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ทั้ง 8 ของผู้เรียน ผมว่าอันนี้จะทำให้ข้อมูลของเราไม่มั่ว และสามารถพัฒนาผู้เรียนด้านคุณลักษณะ ระหว่างการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ClassDojo ยังถูกออกแบบมาเพื่อเป็น Community ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง ถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีทรัพยากรพร้อม ครูสามารถให้ Feedback นักเรียนผ่าน Dojo ได้ และยังสามารถให้ข้อมูลกับผู้ปกครองได้ทันท่วงที ลองนึกภาพครูทั้งโรงเรียนใช้สิ่งนี้ เราจะติดตามพฤติกรรมของนักเรียนได้ตลอดทั้งวัน ถ้าประกอบกับการที่ครูหาเวลาได้คุยกันเรื่องนักเรียน พฤติกรรมนักเรียนคงถูกแก้ไขหรือพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว :)
4. ZipGrade ล่าสุดทาง Teach for Thailand ได้นำเครื่องมือเจ๋งๆอีกตัวหนึ่ง มาใช้ในการตรวจข้อสอบปรนัย พอทำแล้วการกรอบคะแนนข้อสอบวินิจฉัย กลายเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายและรวดเร็วไปเลย สำหรับครูในโรงเรียนต้องทำการวิเคราะห์ข้อสอบอยู่แล้วซึ่ง ตัว ZipGrade พอตรวจเสร็จแล้วเราจะได้ข้อมูลเป็นไฟล์ที่บอกว่านักเรียนแต่ละคนตอบข้อใดบ้าง และถูกผิดกี่ข้อ แสดงข้อมูลออกมาเป็น Histrogram ให้ครูประเมินได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องบอกก่อนว่าเครื่องมือนี้ไม่ฟรี ต้องทำการ Subscription ซึ่งราคาก็ไม่แพง $6.99 (https://www.zipgrade.com/pricing/)
สอบกลางภาคและปลายภาค ผมคงได้นำ ZipGrade ไปใช้ในการตรวจของสอบแน่นอน
5. ELSA แอพสุดท้ายแถมให้สำหรับครูที่ต้องการฝึกสำเนียงการพูดภาษาอังกฤษ เนื่องจากการฝึกการออกเสียงภาษาอังกฤษนั้น ถ้ามีคนคอยบอกเราว่าเราอ่านถูกหรืออ่านผิด สำเนียงเพี้ยนตรงไหน จะช่วยให้การพัฒนาไปได้ไวขึ้น แต่ปัญหาก็คือคนสอนที่สามารถสอนได้ก็รับผู้เรียนได้ไม่เกิน 2-3 คน ถ้ามากกว่านี้ก็ดูกันไม่ไหวแล้วจริงไหม เหมือนที่ประเทศไทยเป็นอยู่ในทุกวันนี้ ครู 1 คนนักเรียน 40-50 คนต่อห้อง ถึงนักเรียนอยากพูดได้ แต่ก็ไม่กล้าเข้าหาครู เวลาในห้องก็น้อย ครูหัวเดียวกระเทียมรีบ
ELSA จะมีแบบฝึกจำนวนหนึ่งที่จะช่วยอธิบายและฝึกการออกเสียง ในฐานะที่ผมเป็นครูคณิตศาสตร์ เลยไม่ได้มีเน้นกับเรื่องภาษาอังกฤษของนักเรียนมาก แต่มีนักเรียนบางส่วนอยากพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเอง ผมก็เวลาน้อยเลยเอาแอพเหล่านี้ไปให้เด็กๆ ฝึกออกเสียงตอนที่ผมไม่อยู่ได้ดีไม่น้อย
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับครูไทย อาจจะไม่ใช่ทุกเครื่องมือที่เหมาะกับห้องเรียนของเรา ขอให้โอกาสเครื่องมือเหล่านี้ ลองศึกษาและลองใช้ แรกๆอาจจะเจอปัญหา เพราะเราไม่ชินกับการใช้งาน ขอให้ค่อยๆลองแก้ไขปัญหา และนึกถึงประโยชน์ ในด้านการประหยัดเวลา และการพัฒนาผู้เรียนไว้ก่อนเป็นสำคัญ
สำหรับสัปดาห์นี้ขอลาไปก่อน ขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบนะครับ
บทความนี้ดีมากครับ
ReplyDeleteขอบคุณครับ :)
ReplyDeleteขอแชร์นะคะ ^__^
ReplyDeleteยินดีครับ :)
ReplyDeletekahoot แบบฟรี เล่นได้มากสุดกี่คนคะ
ReplyDeleteจากที่ทราบมาจำนวนคนเล่นได้มากสุดขึ้นกับความเร็วอินเตอร์เน็ตของเครื่องหลักที่ตั้งเกมครับ ถ้าเน็ตเร็วก็จะรับคนได้มากขึ้น
Delete