Sunday, August 23, 2015

Teach for Thailand - Institute day 5

บันทึกการเดินทางตอนที่ 5: มูเซอลาบา ลาหุแดงกับลาหุดำต่างกันอย่างไร




เป็นอีกวันที่รอคอย ความคาดหวังสูงมาก กับการไปอยู่ Home Stay กับคนบนดอย นั่งรถตู้ไปได้ไม่นานพวกเราก็มาถึงทางเข้าหมู่บ้าน เนื่องจากการวางผังหมู่บ้านห่างออกไปจากถนน ทำให้ต้องเดินลงเขาต่อลงไปอีก

กิจกรรม ณ หมู่บ้านมูเซอลาบาแห่งนี้ น่าสนใจ และได้เรียนรู้วิถีชีวิตตามสไตล์ Backpacker มีดังนี้

  • ดูงานหัตกรรมหลักของหมู่บ้านที่มีน้อยคนในหมู่บ้านจะทำได้ 
  • เยี่ยมโรงเรียนเด็กเล็กที่มีครูเพียงคนเดียว
  • ฟังเรื่องราวความเชื่อจากหมอผีประจำหมู่บ้านซึ่งมีเพียง 2 คนเท่านั้น
  • ทดลองสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กในหมู่บ้าน
  • รับประทานอาหารกับเจ้าของบ้าน
  • ดูและร่วมเต้นจะคึกับชาวบ้าน

สานตะกร้า
เริ่มจากการดูคุณลุงสานตะกร้าจากไม้ไผ่ ตะกร้านี้ไว้ใช้งานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเก็บเมล็ดกาแฟ เมล็ดแมคคาเดเมีย ใช้เป็นตะกร้าอุ้มเด็กก็ได้ เมื่อสานเสร็จจะนำไปเผาไฟไม้ไผ่จะแข็งและเหนี่ยวมากขึ้น คุณลุงที่สานตะกร้าอยู่ อยู่มานานมากเห็นการเปลี่ยนแปลงไป ของหมู่บ้านมากมาย (ถ้าอยากรู้อะไรตีสนิดกับคนเถ้าคนแก่เอาไว้ และหาล่ามเพราะเขาพูดไทยไม่ได้แต่ฟังออก)


ระหว่างดูลุงสานตะกล้าก็ได้โอกาสถาม "ลาหุแดงกับลาหุดำต่างกันอย่างไร" ก็ได้รับความกระจ่างว่า
ลาหุแดง นับถือบรรพบุรุษ ภูติผี เครื่องแต่งกายเน้นด้วยสีแดง (หมู่บ้านมูเซอลาบา)
ลาหุุดำ นับถือศาสนาคริสต์ เครื่องแต่งกายเน้นด้วยสีดำ


ท่อผ้า
เปลี่ยนมาดูคุณป้าทอผ้าบ้าง เครื่องแต่งกายที่เห็นนั้นเป็นชุดประจำชนเผ่า จะใส่เฉพาะวันสำคัญ หรือเมื่อมีแขกมาเยี่ยม เหมือนพวกเรา ชุดนึงตกราคาไม่ต่ำกว่า 7000 บาท และทุกคนจะมีอย่างน้อย 1 ชุดใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะทำเสร็จ คนที่สามารถทอได้มีเพียง 3-4 คนเท่านั้น

หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของคนที่นี้ เขาบอกว่าเดือนนึงเขาใช้กันคนละแค่ 5000 บาทเท่านั้น ค่าไฟก็ไม่เสีย ส่วนน้ำก็ได้มาจากบนเขา สิ่งที่ซื้อก็เป็นพวกข้าวจากฝั่งพม่า เกลือ อาหารทะเล เป็นต้น

โรงเรียนเด็กเล็ก
โรงเรียนเด็กเล็ก ที่นี้มีครูอยู่เพียงคนเดียวต้องทำตั้งแต่ทำกับข้าว อาหารเช้าให้นักเรียนทาน เด็กนักเรียนเดินทางไม่ไกล เพราะบ้านพวกเขาก็อยู่รอบๆโรงเรียน สถานที่ค่อนข้างเปิด แต่เด็กก็ไม่หนีกลับบ้านเพราะกลับไปก็ไม่มีใครอยู่ พ่อแม่จะฝากลูกไว้ที่นี้และมารับกลับตอนเย็น

เด็กอายุเท่าไรก็เรียนด้วยกันหมด เป็นการสอนแบบบูรณาการ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือครูต้องสอน 2 ภาษาไทยสลับลาหุ ไม่งั้นเด็กจะไม่เข้าใจ เรียนรู้ผ่านเกมเป็นหลัก ของใช้เช่นแผ่นปูรองนอนให้เด็กนั้นไม่เพียงพอ เด็กจะหนาวมากตอนหน้าหนาว เผื่อใครสนใจอยากจะทำบุญช่วยเหลือ ก็แนะนำซื้อผ้าปูนอนไป

หมอผีประจำหมู่บ้าน
ฟังเรื่องราวจากหมอผีประจำหมู่บ้าน สวนตัวชอบตรงจุดนี้ที่สุด แลดูน่าค้นหาดี ในหมู่บ้านจะมีหมอผีเพียง 2 คนเท่านั้น จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ และจะการสืบทอดตำแหน่งกันทางสายเลือดเป็นหลัก หมอผีเกี่ยวข้องกับชีวิตคนในหมู่บ้าน ตั้งแต่เกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต เมื่อเด็กเกิดมา ผ่านไป 13 วันจะมีพิธี

เราก็ถามหมอผีกันว่า คนที่นี้เขามีหลักในการตั้งชื่อกันอย่างไร หมอผีก็บอกว่า ใช้ราศีและเดือนที่เกิดในการตั้งชื่อ ผมก็ได้ชื่อ "จะกา" มาสำหรับปีไก่ และผู้หญิงจะชื่อว่า "จะระกา"

พิธีกรรมก่อทราย
พิธีกรรมก่อทราย จะทำเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตร ออกผลดี ในรูปเขาจะนำไม้ไผ่ มาจะช่องและนำใบไม้ หรือดอกไม้ของต้นที่ให้ผลผลิตที่เราปลูก มาแต่งไว้ตามกระบอกไม้ไผ่

นอกจากนี้หมอผียังมีหน้าที่ รักษาโลกด้วยหากมีใครป่วยก็จะไปหาหมอผีพร้อมกับไก่ 1 ตัว เมื่อทำการต้มกินกันเสร็จ เขาจะนำกระดูกไก่มาแล้วเอาไม้มาเสียบตามรูบนกระดูกไก่ พ่อหมอก็จะทำนาย ถ้าผลไม่ได้ก็จะล้มหมู เพื่อดูเครื่องในต่อ = =



มื้อกลางวันคนในหมู่บ้านเลี้ยงอาหารดีมาก เขาทำให้มากซะจนผมว่ามันเยอะเกินไปนะ แต่ก็ทำให้รู้สึกดี สัมผัสได้ถึงความรู้สึกดีๆ ที่พวกเขาต้องการจะมอบให้กับพวกเรา

จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ช่วงบ่ายเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กในชุมชน จะบอกว่ากิจกรรมนี้ทำให้ ผมรู้สึกล้มเหลวหลายๆอย่าง แต่มันกลับทำให้รู้สึกดีมาก และได้เรียนรู้อะไรจากตรงนี้เยอะมากเช่นกัน

กลุ่มผมได้เด็กวัยอนุบาลมา 6-7 คน สถานที่เปิดกว้าง ซึ่งผมก็ได้เห็นความเป็นผู้นำของเพื่อนในมุมที่แตกต่างกันไป บางคนขึ้นมานำทันทีในเวลาที่เพื่อนไม่พร้อม เพื่อซื้อเวลาให้กับทุกคน บางคนเสนอความคิดวางแผน บางคนมองเห็นสิ่งผิดปกติก่อนคนอื่น

พวกเรานำกิจกรรมที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาลัยมาใช้ และพบว่าเด็กฟังไม่ทัน ไม่เข้าใจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ จนมีช่วงหนึ่งที่เด็กวิ่งกระจายหายไปจนต้องแบ่งคนไปตาม จนถึงจุดหนึ่งที่ทุกอย่างอยู่ตัว เราก็ต้องเปลี่ยนสถานที่อีกแล้ว ผมสรุป Take away จากกิจกรรมได้ดังนี้
  1. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้ สำคัญมากที่เราจะรู้พื้นฐานของผู้เรียนก่อน ในสถานะการณ์นี้พวกเราพลาดที่ไม่ได้คำนึงถึงภาษาไทยที่เด็กวัยนี้ใช้ไม่คล่อง
  2. การคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการสอนนั้นสำคัญมาก ไม่เช่นั้นการจัดการอบรมจะเป็นไปตามยะถากรรม ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ไม่ใช่การสอน
  3. สภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง เป็นไปได้ยากมากที่จะจัดกิจกรรมในวงแคบให้กับเด็ก
เสร็จกิจกรรมจัดการเรียนรู้ พวกเราก็ได้เวลาพักผ่อน ที่พักของผมอยู่ติดกับ ป่า Slowlife กินอาหารขันโตกจากเจ้าของบ้าน เขาดูแลเราดีมากจริงๆ คนในบ้านพยายามแย้งที่จะอยู่ห้องพระกัน เพราะมันอุ่นใจดี 555

เต้นจะคึ
กิจกรรมยามค่ำคืน เต้นจะคึ ชาวบ้านเตรียมไม้ไผ่ ที่ผ่าช่องไว้ใส่เทียน ให้แสงสว่างเหมือนหลอดไฟริมถนน ชาวบ้านบางส่วนจะแต่งตัวในชุดพื้นเมือง ล้อมกันเป็นวงกลม ถ้าเราพร้อมเมื่อไรก็สามารถเข้าไปร่วมเต้นกับเขาได้

ท่าเต้นเหมือนเร็กเก้ผสมสกา เอิ่ม...อันนี้พูดเล่นนะครับ ก็จะเป็นการใช้สเตปเท้าเป็นหลัก ขวา ซ้าย ขวา ขวา ซ้าย อะไรก็ไม่รู้ผมก็งงมาก พอมานึกถึงเด็กที่เราต้องไปสอน เราก็นึกได้ว่าเรื่องที่เราคิดว่าธรรมดา แต่ถ้าเด็กไม่เคยเรียนเลย มันก็เข้าใจยากเหมือนกัน เหมือนกับตอนเรา เต้นจะคึ งงมากครับ...ได้แต่พยายามหันตัวตามไป แต่ขานิมั่วมากเลย หลังจากเต้นเสร็จเหงื่อไหล ก็มากินขนมที่ทำจากข้าวเหนี่ยว คล้ายๆโมจิจิ้มน้ำตาล อร่อยมากและเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรุนแรง 555

Saturday, August 22, 2015

Teach for Thailand - Institute day 4

บันทึกการเดินทางตอนที่ 4: ไปเดินป่ากันเถอะ


"การเดินทางเพื่อตามหาสมดุลของชีวิต"


และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง เดินป่าสิเดินป่ากัน 555 อยู่บนที่พักสูดกลิ่นอายของธรรมชาติไม่พอ เราเข้าไปเก็บเกี่ยวถึงในป่าเลย เป็นการเดินป่ากับเพื่อนที่สนุกที่สุด :)

เดินทางบนเส้นทางธรรมชาติครั้งนี้ ไม่ได้เดินผ่านไปเฉยๆ เรามี ภาระและกิจ ที่จะต้องทำให้สำเร็จ แต่จงอย่าลืมที่จะหยุดพัก ชื่นชมกับธรรมชาติที่อยู่รอบตัว เปิดโสตประสาททั้ง 5 (ถ้าใครจะมี 6 ก็ไม่ว่ากัน) แล้วก้าวเดินไปด้วยกัน

เริ่มเดินทางพวกเรามารอที่ทางเข้า เส้นทางเดินธรรมชาติ Level 0.5 ฟังบรรยาย จากทีมงานวิทยากรจบ ค่อยทะยอยกันเข้าไปทีละกลุ่ม รับภาระกิจและไปกันเลย

 ฐาน 1 ลอดช่องผ่านเส้นใยแมงมุม

"It seem impossible until it's done" เป็นข้อความที่เขียนอยู่บนใบไม้ (บนซ้ายของรูป) การช่วยเหลือผู้อื่น ความเสียสละ ของเพื่อนในทีม เป็นสิ่งที่น่าประทับใจมากในฐานนี้

ในสองปีของ TFT เราจะเจอกับความเป็นไปไม่ได้มากมาย ข้อจำกัดต่างๆนาๆ ทั้งเวลา เงิน แรง แต่เราไม่ได้เดินทางคนเดียว ยังมีเพื่อนพี่ก้าวไปด้วยกัน
 ฐาน 2.1 ตามหาไข่ Easter

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าตีความโจทย์ให้ดีก่อน แล้วค่อยออกเดิน พวกเราจับใจความเพียงไม่มีคำ ว่าต้นน้ำและไข่ Easter ที่ตีความไปไกลมากว่า ให้ไปทางทิศตะวันออก - -*

ชีวิตจริงในโรงเรียน ปัญหาแต่ละปัญหามีคำใบ้ซ้อนอยู่ เด็กมีปัญหาเกิดจากอะไร เรารู้จักตัวเขาและครอบครัวมากแค่ไหน การมีข้อมูลที่ครบทำให้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
ฐาน 2.2 หากเธอทุกข์ใจก็ลองเอาเท้าจุ่มน้ำ

การจะผ่านฐานนี้ไปได้ ทุกคนต้องลงไปถ่ายรูปตอนยืนอยู่บนน้ำ เราแต่ละคนคิดกันเยอะมาก ว่าจะทำอย่างไร ให้เท้าไม่เลอะหลังจากขึ้นมาซึ่งจริงๆแล้วก็ลงไปเถอะ ปัญหาเล็กน้อยแค่นี้ บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องหาทางแก้ไข
ระหว่างทาง บันไดคันดิน ถ้าคนก่อนหน้าเดินไม่ระวัง ลื่นไถล ทำให้ดินที่ทำไว้อย่างดีแตก จะทำให้คนข้างหลังเดินทางได้ลำบากมากขึ้น

คนภายนอกอยากให้เปลี่ยนการศึกษาไทยแบบChange ที่นี้เราสอนให้เปลี่ยนแปลงแบบTransform ทั้งนี้ทั้งนั้นการเปลี่ยนแปลง ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา ไม่เช่นนั้นบางสิ่งที่ดีอยู่แล้ว เรานั้นเองที่จะเป็นคนเข้าไปทำลาย ทำให้เลวร้ายลงไปอีก ทุกก้าวนั้นสำคัญจงเดินอย่างปราณีต
ฐาน 3 ถ่ายรูปคู่กับน้ำตก

ภาระกิจคือการถ่ายรูปคู่กับน้ำตก ตามแบบที่ให้มา จุดนี้เป็นน้ำตกที่สวยที่สุดในตลอดเส้นทาง บางกลุ่มถ่ายเสร็จแล้วรีบเดินหน้าไปต่อ เพราะกลัวว่าจะเหลือเวลาทำภาระกิจต่อไปน้อยลง

พวกเราถูกจำกัดด้วยระยะเวลา 2 ปี จริงอยู่ที่การมุ่งที่ผลกระทบ (Focus on impact) เป็น Core value ที่ทุกคนใน TFT ยึดถือ แต่ก็อย่าลืม หยุดพักชื่นชมความงามระหว่างทาง เป้าหมายสำคัญแต่ความสุขในชีวิตสำคัญยิ่งกว่า

มีคนเคยบอกผมว่า มนุษย์เราเกิดมาเพื่อมีความสุข ไม่ได้เกิดมาเพื่อ ชดใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้ในชาติปางก่อน อย่ายอมรับโชคชะตา สวรรค์ลิขิตลายมือของเรา แต่อย่าลืม ลายมือนั้นอยู่ในกำมือของเรา




พักทานข้าวกลางวัน ช่วงเวลาที่ลอยคอ เอ้ยรอคอย คนอื่นกินข้าวเหนี่ยวไก่ทอดกัน แต่ผมกินมังสวิรัส เลยโดนข้าวเหนี่ยวเห็ดทอดไป พร้อมไข่ต้มหนึ่งฟอง อร่อยมาก ไม่รู้เพราะหิวหรือมันอร่อยจริง


ก่อนจะลงมาที่กินข้าว เลงไว้แล้วว่าจะมาเล่นน้ำตก เพราะเห็น CEO มายืนอยู่น้ำตกที่อยู่ใบใกล้ที่กินข้าว พักผ่อน เที่ยวสนุกให้เต็มที่ มีเวลาหาความสุขเท่าไร ก็ใช้มันให้คุ้ม
ฐาน 4 สำรวจพื้นที่

ภาระกิจต่อไปคือการไปสำรวจ บ้านไม้ที่อยู่ระหว่างเส้นทาง ดูว่ามีสัตว์ที่เลี้ยงอยู่กี่ชนิด เจ้าของสวนนั้นชื่ออะไร เข้าไปฝึกฝนการสังเกต ในสถานที่ที่เราไม่คุ้นเคย ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ หากสังเกตให้ดีมันบอก อะไรเราหลายอย่าง
อย่างข้าวโพดที่อยู่ในรูป ไม่ได้ถูกใช้เป็นอาหารคนอย่างเดียว แต่ยังใช้เลี้ยงสัตว์ หมู ไก่ ดูได้จากร่องรอยก้านข้าวโพดที่อยู่ตามพื้น

คงเหมือนกันการไปเยี่ยมเยือนบ้านของนักเรียน โสดประสาททั้ง 5 ต้องไว สิ่งที่ดูธรรมดาอาจจะบอกอะไรเราได้หลายอย่าง



ฐาน 5 เจ้าชายกบ

ก็ไม่แน่ใจว่ามาทำอะไรแต่ก็สนุกดี เห็นแล้วอยากกินกบทอดกระเทียมพริกไทย = ="

เอามือรูบๆคลำๆกบเสร็จ เราก็เดินทางต่อไปยังจุดนัดพบบนสันเขื่อน กลับไปพักผ่อน คิดละครที่จะต้องแสดงในวันอังคาร



ทั้งหมดก็มีแค่นี้แล สนุกมากบอกเลย ตอนทำกิจกรรมก็ไม่ได้คิดอะไร แต่ตอนเขียนพยายามแถให้มันมีอะไร 555 ขอบคุณพี่ Staff ทุกคนสำหรับกิจกรรมดีๆ และสีฟ้า Commitment อยากไปเที่ยวด้วยกันอีก มีความสุขและสนุกมาก :D

Friday, August 21, 2015

Teach for Thailand - Institute day 3

บันทึกการเดินทางตอนที่ 3: ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักผอ.

อ่านบทความตอนที่แล้ว Teach-for-Thailand-institute-day-2



ทำไม Teach for Thailand ไปสอนเด็กในกรุงเทพ แต่ไม่ไปสอนบนดอย มีคนที่เคยเดินทางไปสอนเด็กบนดอย เล่าให้ผมฟังว่า "เราไม่ได้ขึ้นไปเพื่อเติมเต็มให้พวกเขา พวกเขาต่างหากที่เติมเต็มคนเมืองอย่างพวกเรา"

ในการเดินทางครั้งนี้เราจะได้พบกับ สองผอ. ที่น่าอัศจรรย์ใจถึงสองท่านด้วยกัน ในสองโรงเรียน ที่มีสองขนาดต่างกัน โรงเรียนขาแหย่งพัฒนา และโรงเรียนห้วยไร้สามัคคี ระวังไว้แล้วคุณจะหลงรักสถานที่แห่งนี้"ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักผอ." ผมอยากให้คนที่เป็นคุณครูใหม่ พ่อแม่ที่ต้องสอนลูก และทุกคน ได้ขึ้นไปเห็นสองโรงเรียนนี้ ได้พูดคุยกับผอ. มันเปิดโลกด้านการเรียนรู้ได้มากจริงๆ

สา-หวัดดีครับพี่ ป.5 สา-หวัดดีครับน้องๆทุกคน

เดินทางไม่ไกลจากที่พักด้วยรถตู้ เราก็มาถึงโรงเรียนขาแหย่งพัฒนา เราขึ้นมาเช้าเพื่อให้ทันเห็นเด็กเคารพธงชาติในตอนเช้า ขอเกริ่นให้เห็นภาพซักเล็กน้อย เด็กที่มาโรงเรียนนี้มาจากชนเผ่าที่แตกต่างกัน ซึ่งใช้ภาษาไม่เหมือนกัน และเด็กที่เข้ามาใหม่ไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารกับชนเผ่าเล็กน้อย

เด็กเหล่านี้เมื่อเติบโตขึ้น อาจจะต้องเข้าไปทำงานในเมือง เมื่อก่อนจะเป็นปัญหามากเพราะพวกเขาพูดภาษาไทยไม่ได้ และคนเมืองมองว่าคนบนดอยนั้นเนื้อตัวสกปรก โรงเรียนขาแหย่งก็มีรูปแบบการสอน เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

เด็กๆจะนั่งล้อมเป็นวงกลม ตั้งใจเรียน กล้าแสดงออกถึงความอยากเรียนสูงมาก

บอกได้เลยว่าเกินคาดและน่าประทับใจมากสำหรับโรงเรียนนี้ โดยเฉพาะ ระบบการสอนแบบ Montessori ในเด็กระดับชั้นอนุบาล ใช้ชั้นเรียนเด็กอนุบาล 1-3 จะเรียนในชั้นเดียวกัน รุ่นน้องจะเห็นแบบอย่างจากรุ่นพี่ รุ่นพี่จะเป็นแบบอย่างที่ดีและคอยช่วยสอนรุ่นน้อง

เขามาถึงห้องคุณครูให้นักเรียนทำสมาธิ โดยการให้ทำท่าตามเพลงช้า ก่อนที่จะหลับตาเข้าสู่สมาธิ ซึ่งเหมือนกับที่ผมไปปฏิบัติธรรมเลย เราไม่ได้อยู่ดีๆเข้ามานั่งสมาธิเลย มีการเดินจงกลมก่อนนั่งสมาธิ สาเหตุที่ให้นักเรียนนั่งสมาธิก่อนเริ่มเรียนเขาบอกว่า ตอนเช้าเด็กเล่นมาเยอะมาก จึงใช้กิจกรรมนี้ให้พวกเขาสงบลง เด็กในวัยนีเก่งมากที่นิ่งได้ขนาดนี้

คุณครูเริ่มจากให้เด็กไปหยิบชื่อเพื่อน ที่เป็นภาษาอังกฤษ ไปวางไว้หน้าเพื่อน แล้ววิ่งไปหยิบตัวอักษรมา 1 ตัวที่แขวนอยู่ในห้อง เขาสอนภาษาอังกฤษเด็กได้น่าสนใจมาก ที่นี้ไม่ได้สอนให้เด็กท่อง A-Z แต่ให้เด็กรู้จักเสียงของแต่ละตัวอักษรแทน เช่น "P" ออกเสียงว่า "พะ" "E" ออกเสียงว่า "เอะ" ซึ่งมัน Make sense มากเลยเพราะว่า ถึงรู้ว่าตัวอักษรชื่ออะไรก็ไม่ได้ช่วยให้ออกเสียงได้

หลังจากครูสอนภาษาอังกฤษแล้ว ครูก็ในนักเรียนท่อง 1-10 ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาลาบา(ภาษาชนเผ่า) ภาษาจีน โอ้แม่เจ้าจะเก่งไปไหนจบไปพูดได้ 4 ภาษา ถึงตรงนี้ผมขอขั้นรายการซักแปบนีง ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงดูถูกพม่า ดูถูกคนเขมรอยู่ ซึ่งคนเหล่านี้กำลังแย่งอาชีพจากคนไทยไป เพราะพวกเขารู้ภาษาไทยเช่นกัน เรื่องภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญ

ก่อนจะปล่อยให้เด็กไปเรียนรู้ด้วยตัวเอง หรือเรียนแบบ Montessori ครูก็นำของเล่นสอนการหั่นแตงกวา มาสอนเด็กๆ ของเล่นเพื่อการเรียนรู้ในห้องนี้มีเยอะมาก และแทบทั้งหมดทำจากไม้ เพื่อความทนทานใช้ได้นาน ถึงแม้จะแพงก็ตาม

ตารางสำหรับสอนการบวกลบเลข
ถ้ามีเวลาผมว่าจะศึกษากระบวนการคิด ที่ของเล่นต่างๆสอนให้เด็ก โดยเฉพาะเลข ในฐานะที่เคยเป็นอาสาสมัครสอนเด็กในต่างจังหวัด จะผลว่าหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการ บวก ลบ คูณ หาร เลขมากๆ มีเพื่อนผมข้างๆบอกว่านี้เป็นคำตอบ ที่เธอพยายามตามหาตาโดยตลอด การสอนเลขโดยให้เด็กคิดในใจ อาจจะไม่ถูกต้อง ผมไม่เคยนึกเลยว่าการคิดในใจสำหรับเด็ก มันเป็นสิ่งที่ยากมากสำหรับพวกเขา ของเล่นหลายชิ้นทำให้เลขเป็นสิ่งที่จับต้องได้ ซึ่งผมชอบมันมากๆ


ของเล่นสอนการใช้ตัวล็อคพลาสติก
เรื่องทักษะในการใช้ชีวิตประจำวันก็สำคัญเช่นกัน งานบางอย่างเช่นการติดกระดุม อาจจะรู้สึกว่าง่ายในความคิดของเรา แต่มันยากมากถ้าเรามองในมุมของ เด็กตัวเล็กๆที่ไม่ได้มีแรงมากนัก ถ้าเป็นตัวล็อคพลาสติกถือได้ว่าท้าทายมากๆ เมื่อเด็กเหล่านี้มีทักษะในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น เขาก็จะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองได้อีกด้วย ผมยังจำได้ในวัยเด็กผมใช้เวลานานมาก ในการสังเกต ว่าแม่ผูกเชือกรองเท้ายังไงให้ผม แม่ไม่เคยสอนว่ามันผูกอย่างไร แต่ผมก็เรียนรู้ได้เองและวันหนึ่งก็ผูกได้สำเร็จ เด็กมีศักยภาพสูงมาก อยู่ที่สภาพแวดล้อมจะเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กหรือเปล่าเท่านั้น พูดแล้วควรจะกลับไปอ่าน "วิชาความคิดที่คุ้มค่าหน่วยกิตที่สุดในโลก" อีกรอบน่าจะดี

ห้องถัดมาคือห้องเด็กพิเศษ เด็กในห้องนี้เรียนไม่ทันเพื่อนในชั้นเรียน ถ้าเป็นโรงเรียนอื่นๆจะปล่อยให้พวกเขาอยู่ในระบบเดิม บางคนก็เรียนไม่ได้ลาออกไป สิ่งที่ครูสอนในห้องนี้คือการทำโครงงาน เด็กที่ไม่เก่งด้านวิชาการ ใช่ว่าจะไร้ความสามารถ หลายๆคนเก่งในทักษะที่ประกอบอาชีพได้เช่น เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา ปลูกต้นไม้

คุณครูจะสอนจาก Why เหตุผลที่พวกเขาจะต้องไปเลี้ยงหมู ทำเป็น Mind map ออกมาโดยให้พวกเขาคิดเอง For what เลี้ยงหมูไปเพื่ออะไร และพวกเขาจะเรียนรู้กระบวนการเลี้ยงหมู และเน้นการสอนภาษาไทย คณิตศาสตร์

ครูในห้องก็สอนพวกเราว่า สิ่งที่ครูส่วนใหญ่มักทำผิดพลาดก็คือ การตกเป็นทาสของตำรา เอาตำรามาสอนแทนที่จะสอนความจริง การสอนให้ใช้คำถามนำ การเขียนวันที่ ขีดเส้นใต้ ให้พวกเขาคิดเองว่าจะเขียนอย่างไร ต้องรู้เอง ไม่มีถูกไม่มีผิด



ต่อมาที่ห้องภาษาไทย ก่อนเริ่มเรียนจะมีการ Warm สมองด้วยการใช้มือทำท่าตามเพลง จนถึงวันนี้ผมก็ยังทำตามไม่ได้ซะที ในห้องเรียนใช้สื่อต่างๆช่วยในการสอน และเห็นได้ชัดเลยคือสภาพแวดล้อมในห้อง แหล่งความรู้มีเต็มไปหมด

จากการสังเกตห้องทั้งสามห้อง มันทำให้ผมนึกย้อนกลับไป เห็นถึงความผิดพลาดต่างๆมากมาย ในการสอนต่างๆ ยังมีสิ่งที่ต้องฝึกฝนอีกมากมาย



ก่อนจากโรงเรียนขาแหย่ง พวกเราได้มีโอกาสคุยกับผอ. ที่คิดต่างทำเพื่อเด็กอย่างแท้จริงมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ ผมขอแยกไว้ดังนี้

  1. เรื่องสภาพแวดล้อม ในโรงเรียนจะพยายามทำสภาพแวดล้อมให้เหมือน สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนให้มากที่สุด 
    1. สิ่งแรกที่ผอ. ยกเลิกคือ ถาดหลุม ในชีวิตจริงแทบจะไม่มีที่ไหนเลยที่มีถาดหลุม นอกจากทหารและเราไม่ใช้ทหาร 
    2. สิ่งต่อมาคือยกเลิกการที่แม่ครัวตักอาหารให้ เพราะเหมือนสภาพแวดล้อมของลูกจ้าง ที่ต่อแถวรับอาหาร 
    3. เด็กต้องล้างจานเองตั้งแต่อนุบาล
    4. สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดีให้กับเด็ก แต่ต้องระวังที่อย่าติดกับการอยู่ห้องเรียนมากเกินไป (ห้องที่นั่งเรียนไม่ได้เหมาะกับการนั่งเรียนนาน เพราะมีไว้ให้ ยืน เดิน นั่ง นอน)
  2. ผอ. เป็นคนที่ดีมาก แต่ก็เคยทำผิดพลาดจากสิ่งนี้ โรงเรียนที่ผอ. ได้เคยไปดูแลมาก่อนหน้าที่จะมาอยู่ที่นี้ เขาทำเองทุกอย่าง ทุกงานที่มีในโรงเรียน คนที่นั้นรักผอ. มากแต่ในวันที่ผอ. จากไป (หมายถึงย้ายโรงเรียนไป) เหมือนเราทำร้ายพวกเขา เพราะพวกเขาทำอะไรไม่เป็นเลย จงอย่าทำงานเองทุกอย่างเองทั้งหมด สอนงานคนอื่นให้ทำหน้าที่แทนเราได้ และพร้อมในวันที่เราจากไป
  3. การทำงานใน TFT 2 ปีเราจะต้องเจอกับข้อจำกัดมากมาย ทรัพยากรทั้งเงินและเวลา ในความเป็นจริงถึงมีเงินมากเท่าไรก็ไม่เพียงพอ หากขาดการบริหารจัดการที่เหมาะสม
สุดท้าย ผอ. ฝากเบอร์โทรไว้ด้วยใครอยากได้ก็หลังไมค์นะครับ 555 ชอบผอ.คนนี้จัง

พักครึ่ง

ช่วงบ่ายพวกเราเดินทางไปต่อที่โรงเรียนห้วยไร้สามัคคี ผมมาถึงก็เข้าไปฟังบรรยาย Introduction จากผอ.โรงเรียนห้วยไร้สามัคคี (ผอ. หน้าเด็กมาก นึกว่าเป็นรองผอ.)ช่วงนี้ผมหลับ 555 ผอ. ก็สอนพวกเราเกี่ยวกับวิธีการเข้าไปสังเกตห้องเรียน ว่าพวกเราต้องดูอะไรบ้าง จดอย่างไร ก่อนจะออกไป ผอ. ได้ทิ้งปริศนาเกี่ยวกับ ธงชาติในหอประชุม ตู้หนังสือท้ายหอประชุม ป้ายชื่อที่อยู่ที่พื้นหอประชุม ซึ่งจะมาตอบในตอนท้าย

ขนมอร่อยมากอยากกินอีก อิอิ
กลับมาถึงก็มาทานขนมอร่อยมาก reflection กันว่าแต่ละคนไปดูห้องมาเป็นอย่างไรบ้าง พอดีห้องที่ผมไปสังเกต จัดการเรียนการสอนแบบปกติ สอนตาม Slide เลยไม่ได้มีประเด็นอะไรมากนัก เป็นการเรียนรู้แบบ Teacher center คือยึดหลักครูเป็นคนเลือกความรู้ที่จะมอบให้

แต่ก็มีเพื่อนกลุ่มหนึ่งที่ได้มีโอกาส เข้าไปสอนแทนครูในวิชานั้นเพราะครูไม่มาสอน และได้เก็บ Feedback ครูที่พวกเขาอยากเรียนด้วยเป็นอย่างไร บอกกระดาษให้พร้อมสายตาเหมือนบอกกับพี่ที่อยู่ในห้องนั้นเลยว่า "พี่ครับ/ค่ะ พี่เป็นครูแบบนี้นะ"

สุดท้ายผอ.ที่นี้สอนอะไรพวกเราไว้เยอะมาก ผอ.แสดงให้เห็นว่าเขาศึกษาเยอะมาก ตอบคำถามของ Fellows ด้วยข้อมูลที่มีจริง ขอแยกเป็นข้อๆอีกเช่นเคยมีดังต่อไปนี้

  1. ผอ. พูดถึงคำสองคำคือ Big idea และ Concept ท่านถามเราว่า 
    1. ครูไทยเอารูปความมาให้นักเรียนดู และบอกว่านี้คือควาย ใช่ Concept ไหม?
    2. ครูเวียดนามจูงความมาในนักเรียนเห็น และบอกว่านี้คือควาย ใช่ Concept ไหม?
    3. มีรูปสัตว์มากมายและให้เด็กคัดแยกกลุ่ม และสอนว่าหนึ่งในนั้นคือควาย ใช่ Concept ไหม? ข้อ 1,2 คือ Big idea ข้อ 3 คือ Concept เข้าใจไหมครับ 555
  2. ปริศนาภายในหอประชุม จะเห็นความน่าทึ่งว่าเวลาเคารพธงชาติเราทำอะไรได้เยอะขนาดนี้เลยหรือ? เป็นอย่างไรลองอ่านดูตามลำดับเวลาต่อไปนี้
    1. ธงชาติที่อยู่ในหอประชุม จริงๆแล้วคือการเคารพธงชาติในร่ม นักเรียนทุกคนจะต้องมายืนที่ป้ายชื่อ ที่มีชื่อ เบอร์ติดต่อผู้ปกครองเรียบร้อย ใครหายไปก็สามารถโทรตามได้เลย 
    2. ที่นี้มีหนังสืออยู่ด้านหลัง ผอ. จะอ่านหนังสือเป็นตัวอย่างให้เด็กดูระหว่างรอเข้าแถวเสมอ เด็กจะรักการอ่านเอง และเกรงใจไม่ส่งเสียงดัง รบกวน
    3. หลังเคารพธงชาติจะมีนักเรียนมาเล่นกีต้าเป็นเพลง เพื่อขอบคุณพระเจ้า (ที่นี้นับถือศาสนาคริสต์)
    4. หลังจากนั้นจะนั่งสมาธิ ให้เด็กกำหนดจิตไล่แสงไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย และมี Self-talk กับตัวเอง
    5. ตามด้วยการอ่านหนังสือ เด็กจะไปหยิบหนังสือที่ตัวเองชอบด้านหลังมาอ่าน เด็กที่นี้อ่านหนังสือกันเยอะมาก ถึงกับถาม ผอ. ว่าหนังสือใหม่มาหรือยัง (พวกเราก็เอามาบริจาคกันคนละ 2 เล่ม)
    6. คุณครูออกมาเล่าหน้าห้องประชุม บางครั้งก็เป็นคลิปดีๆ
  3. ทุกวิชามีปลายทางของมัน คณิตศาสตร์ >> สอบ Logic, สุขศึกษา >> สอนเรื่องการดูแลสุขอนามัย สุขศึกษาในไทยเด็กที่ได้เกรด 4 ยังคงฟันพุ น้ำหนักเกินอยู่เลย ผอ. ยกตัวอย่างในสิงค์โปว่าที่นั้นเขาไม่มีชั่วโมงเรียนสุขศึกษา แต่เมื่อถึงเวลาสอบทุกคนต้องทดสอบร่างกาย และจะให้คะแนนตามนั้น ทำให้เด็กที่นั้นต้องออกกำลังกายทุกวัน
  4. การแนะแนวที่ดีที่สุดคือให้เขาไปหาอาชีพนั้นเลย อยากเป็นช่างตัดผม พาเขาไปดูและคุยกับช่างตัดผม เขาอาจจะรู้ตัวว่าไม่อยากทำแล้วเพราะต้องยืนทั้งวัน
  5. การจะตักเตื่อนใครแนะนำให้ยึดหลัก "จับถูก 4 ครั้งจับผิด 1 ครั้ง"
กลับมา Session ในช่วงเย็นพี่จอยเปิด Clip : Dick & Rick Hoyt ให้พวกเราดู (ไม่แน่ใจว่าคลิปเดียวกันไหม) เกี่ยวกับพ่อที่ฝึกฝนร่างกายตัวเอง เพื่อลงแข่ง Iron man และพาลูกที่พิการไปในสนามด้วย เพราะลูกสื่อสารบอกว่าอยากไป


สุดท้ายฝากเรื่อง Roger Bannister ไว้สำหรับทุกคน Roger เป็นนักวิ่งที่ทำในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์สมัยนั้นบอกว่าเป็นไปไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ยืนยันไว้แล้วว่า ขีดจำกัดของมนุษย์ไม่สามารถวิ่ง 1 mile ได้เร็วกว่า 4 นาที แต่ในวันนั้น Roger สามารถวิ่ง 1 mile ได้ภายใน 3 นาที่ 59.4 วินาที และที่มากไปกว่านั้นก็มีคนทำสำเร็จและไวกว่าได้เรื่อยๆ หนึ่งในนั้นก็มีนักศึกษาด้วย

ขีดจำกัดของมนุษย์มีอยู่จริงหรือ?
ขอบคุณรูปสวยๆ จากพี่ทีมงาน TFT

Thursday, August 20, 2015

Teach for Thailand - Institute day 2

บันทึกการเดินทางตอนที่ 2: จุดเริ่มต้น

เชียงรายวันที่ 2

เมื่อคืนก่อนผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 6 โมงเช้า เพื่อที่จะอาบน้ำและไปกินข้าวให้ทัน แต่สิ่งที่ผิดพลาดก็คือผมตั้งเพลงผิด ปกติจะเป็นเพลงเสียงดังหนวกดู เพื่อทำให้เราตื่นขึ้น แต่ครั้งนี้เป็นเสียงธรรมชาติ สายน้ำ ลมพัดและเสียงนก แต่น่าแปลกว่าวันนี้ผมตื่นขึ้น พร้อมความสงสัยว่าสิ่งมหัศจรรย์ในวันนี้จะเป็นอะไร หรือไม่ก็ผมคงอยากตื่นขึ้นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า

ที่ Hall of Inspiration มีหลายอย่างที่ผมอาจจะไม่ได้เล่าในบันทึกการเดินทางตอนที่ 1 จะขอเล่าผ่านการเดินทางตอนที่ 2 วีนนี้จะมีการสรุปที่ดูงานเมื่อวาน โดยพี่วิทยากรจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง หลังจากนั้นเป็นการทำความเข้าใจกับปัญหา ที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ให้มากขึ้น และปิดท้ายด้วยเรื่องราวของคุณ Tony กับโรงเรียนที่ดอยตุง บทความนี้อาจจะหนักหัวนิดนึง เพราะเป็นการคุยกันเรื่อง Idea ซะส่วนใหญ่

การปลูกป่าในพื้นที่จากเดิมเคยแห้งแล้ง จากการทำไร่เลื่อนลอย เผาหญ้า จนกลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์นั้นไม่ง่ายเลย แต่ที่ยากกว่าคือจะทำยังไงให้ยั่งยืน พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ สมเด็จย่าทรงเล็งเห็นว่า ถึงแม้เราจะปลูกป่าไป แต่ถ้าคนในท้องที่ไม่ช่วยกันรักษา ทุกอย่างก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม



สิ่งที่น่าประทับใจในช่วงเช้าสำหรับผม คงเป็นเรื่องการให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"
ทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงก็ให้แนวคิด ลำดับขั้นในการพัฒนาไว้ดังนี้

คน >>> เศรษฐกิจ >>> สังคม >>> สิ่งแวดล้อม

จะเห็นได้ว่า "คน" คือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่สำคัญที่สุด และเพราะคนที่ไม่มีความรู้อีกเช่นกัน ที่จะทำให้ทุกอย่างสูญสิ้นไป ทำไร่ 20 ไร่ เผา 20 ไร่แต่ลามไปเป็น 100 ไร่ ก็เพราะพวกเขาขาดความรู้

ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ชุมชนก็จะมั่นคง และกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะไปช่วยเหลือคนอื่นต่อ คนกับธรรมชาติจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน มีคนเคยถามสมเด็จย่าว่า ท่านจะลำบากไปทำไม ท่านตอบกลับง่ายๆว่า "คนเดือดร้อน ถ้าเขาเป็นคน เราควรช่วยเขา"

เจาะลึกลงที่คน เราแก้ไขปัญหา 3 ด้านด้วยกัน คือ

ความเจ็บป่วย >>> ความจน >>> ความไม่รู้ (การศึกษานอกห้องเรียน)
[อยู่รอด >>> อยู่อย่างพอเพียง >>> อยู่อย่างยั่งยืน]

ถ้าพวกเขาป่วยเขาก็ทำงานไม่ได้ ถ้าพวกเขายังคงต้องดิ้นรนเลี้ยงปากท้อง ก็ไม่มีใครอยากไปหาความรู้
คนดอยตุงไม่ได้เริ่มจาก 0 แต่พวกเขาเริ่มจากติดลบ เพราะเรื่องของยาเสพติด

ดอยตุงแห่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งประเทศ ในประเทศไทยก็ยังคงมีปัญหาอีกมาก ผมอยากให้ทุกคนมาแข่งขันกับธุรกิจเพื่อสังคมกันมากขึ้น ทุกวันนี้ผมแยกไม่ออกแล้วว่าบริษัททำ CSR หรือ Marketing กันแน่ เรื่องนี้ก็น่าคิดและผมยังหาคำตอบดีๆไม่ได้

ตัวอย่างการสร้างคนด้วยธุรกิจเพื่อสังคมของดอยตุง

โรงเรียนทอผ้า >>> ทอผ้า (ขายได้) >>> ทอแบบยากขึ้น (รายได้เพิ่ม) >>> มีกำไร 
>>> หานักเรียนไปเรียนเพิ่ม >>> โรงเรียนทอผ้า

พี่วิทยากรก็เล่าต่อว่าภาพความคิดที่สวยงามแบบนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นทันที ความร่วมมือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ถึงตรงนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยความร่วมมืออยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน
อย่างแรก คือ ความคิดที่จะเข้าไปช่วยเหลือและรีบถอนตัวให้เร็วที่สุด โดยคนในท้องที่ยังคงอยู่ได้ ซึ่งจะทำได้ความร่วมมือของคนในท้องที่จะต้องมา ในวันแรกที่โครงการเริ่มต้นขึ้น
อย่างที่สอง คือ เป็นครั้งแรกที่บังคับให้มีความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทุกคนจะต้องลงพื้นที่แก้ไขปัญหาไปพร้อมกันหมด เวลาคนเรามีภาพที่ต่างกัน คุยยังไงก็ไม่ไปในทางเดียวกัน

แล้วทำอย่างไรคนในดอยตุงถึงเข้ามาร่วมมือกันได้? มันเริ่มด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา(ทั้งสามขั้นตอนไม่จำเป็นที่จะต้องเรียงกัน)

เข้าใจสาเหตุของปัญหา >>> เห็นประโยชน์ของการแก้ >>> อยาก
[ทำให้ดู >>> ทำด้วยกัน (สำเร็จจริง)>>> มั่นใจ]

เข้าใจสาเหตุของปัญหา จากการพูดคุยหาที่มาของปัญหา เช่น หนี้มาจากไหน? น้ำเพียงพอหรือเปล่า? เพาะปลูกได้ไหม? รายได้พอไหม? หลังจากนั้นเราก็เข้าไปทำให้ดู เพื่อบอกเขาว่ามันเป็นไปได้

เห็นประโยชน์ของการแก้ปัญหา โดยการลงพื้นที่ไปด้วยกัน อธิบายแบบให้เด็ก ป.4 เข้าใจง่ายๆ และลงมือทำด้วยกัน เพื่อบอกว่าเขาก็ทำได้เช่นกัน

และความอยากของคนในท้องที่จะกลายเป็นความมั่นใจ

จบไปแล้วกับช่วงแรกเนื้อหาแน่นมาก หยุดพักอ่านได้ตรงนี้ ต่อไปจะเป็นหัวข้อของ Theory of Problemและ Theory of Change




Theory of Problem

ผลสำรวจ PISA (2012) เด็กไทยอายุ 15 ปี รายงานว่า
33% วิทย์ไม่ถึงพื้นฐาน 50% คณิตศาสตร์ไม่ถึงระดับพื้นฐาน 33% การอ่านจับใจความ
(ขอขยายเล็กน้อย คณิตศาสตร์ไม่ถึงมาตรฐาน บงชี้ว่าเด็กกลุ่มนี้อาจถูกโกงได้ ในการซื้อของ การอ่านจับใจความ จะส่งผลต่อการซื้อยา ใช้ยาผิดประเภท)

ตัวเลขนี้อาจจะไม่เยอะ เราลองมาดูสถิติตัวต่อไปกัน


สถิติอันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามาจากไหน แต่อยากให้ลองดูและวิเคราะห์ว่าเราเห็นข้อมูลอะไร จากสถิติตัวนี้บ้าง จุดแต่ละจุแทนสถานะของครอบครัวของเด็ก แบ่งเป็นเป็น 10 ช่วง สีฟ้าคือดีมากและสีดำคือแย่มาก แกนตั้งที่มีตัวเลข แสดงคะแนนของเด็ก...ให้เวลาคิด 24 วินาที

สำหรับผมบอกตามตรงสิ่งที่เห็นคือประเทศไทย ต่ำกว่าที่เหลือทั้งหมด แต่ประเด็นสำคัญคือความเหลื่อมล้ำในสังคม จะเห็นได้ว่าเด็ก 10 - 20% ของประเทศที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จะได้รับการศึกษาที่ดีกว่า คนที่เหลือถึง 2.5 ชั้นปี (ช่วงคะแนน 1 ช่วงคือ 1 ชั้นปี)

หลังจากเกริ่นนำ พี่ก็ให้พวกเราทำ OCS ระดมความคิดกันว่าเราคิดว่ารากของปัญหามันคืออะไร
และจบลงที่ Theory of Change ในฐานะ Fellow (คนที่เข้าไปทำการสอน) และ อนาคต Alumni เราจะไปสร้าง Impact อะไรให้กับสังคมและปัญหาการศึกษาในด้านไหน

ช่วงบ่ายผมได้คำถามสำคัญสองคำถาม
Defining moment และ What is your Hero? เราลองถามคำถามนี้กับตัวเอง ผลที่จะได้ออกมาคือ
Defining moment จะบอกว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน
What is your Hero? จะบอกว่าปลายทางเราอยากจะไปที่ใด
ซึ่งผมก็ยังคงตอบชัดเจนไม่ได้อยู่ดี คิดว่าคงต้องจริงจังกับการหาคำตอบให้มากขึ้น

ต่อมาคุณ Tony ชาวต่างชาติที่มาทำงานอยู่ที่ดอยตุงมาแล้วกว่า 11 ปี ช่วยด้านการศึกษาของที่นี้ จะมาเล่าเรื่องราวของโรงเรียนที่น่าอัศจรรย์ใจ ไม่รู้เพื่อนๆจะตื่นเต้นเหมือนผมไหม จะขอยกรายละเอียดไปเล่าในตอนหน้า Montessori บนดอยตุง