Sunday, August 23, 2015

Teach for Thailand - Institute day 5

บันทึกการเดินทางตอนที่ 5: มูเซอลาบา ลาหุแดงกับลาหุดำต่างกันอย่างไร




เป็นอีกวันที่รอคอย ความคาดหวังสูงมาก กับการไปอยู่ Home Stay กับคนบนดอย นั่งรถตู้ไปได้ไม่นานพวกเราก็มาถึงทางเข้าหมู่บ้าน เนื่องจากการวางผังหมู่บ้านห่างออกไปจากถนน ทำให้ต้องเดินลงเขาต่อลงไปอีก

กิจกรรม ณ หมู่บ้านมูเซอลาบาแห่งนี้ น่าสนใจ และได้เรียนรู้วิถีชีวิตตามสไตล์ Backpacker มีดังนี้

  • ดูงานหัตกรรมหลักของหมู่บ้านที่มีน้อยคนในหมู่บ้านจะทำได้ 
  • เยี่ยมโรงเรียนเด็กเล็กที่มีครูเพียงคนเดียว
  • ฟังเรื่องราวความเชื่อจากหมอผีประจำหมู่บ้านซึ่งมีเพียง 2 คนเท่านั้น
  • ทดลองสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กในหมู่บ้าน
  • รับประทานอาหารกับเจ้าของบ้าน
  • ดูและร่วมเต้นจะคึกับชาวบ้าน

สานตะกร้า
เริ่มจากการดูคุณลุงสานตะกร้าจากไม้ไผ่ ตะกร้านี้ไว้ใช้งานหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการเก็บเมล็ดกาแฟ เมล็ดแมคคาเดเมีย ใช้เป็นตะกร้าอุ้มเด็กก็ได้ เมื่อสานเสร็จจะนำไปเผาไฟไม้ไผ่จะแข็งและเหนี่ยวมากขึ้น คุณลุงที่สานตะกร้าอยู่ อยู่มานานมากเห็นการเปลี่ยนแปลงไป ของหมู่บ้านมากมาย (ถ้าอยากรู้อะไรตีสนิดกับคนเถ้าคนแก่เอาไว้ และหาล่ามเพราะเขาพูดไทยไม่ได้แต่ฟังออก)


ระหว่างดูลุงสานตะกล้าก็ได้โอกาสถาม "ลาหุแดงกับลาหุดำต่างกันอย่างไร" ก็ได้รับความกระจ่างว่า
ลาหุแดง นับถือบรรพบุรุษ ภูติผี เครื่องแต่งกายเน้นด้วยสีแดง (หมู่บ้านมูเซอลาบา)
ลาหุุดำ นับถือศาสนาคริสต์ เครื่องแต่งกายเน้นด้วยสีดำ


ท่อผ้า
เปลี่ยนมาดูคุณป้าทอผ้าบ้าง เครื่องแต่งกายที่เห็นนั้นเป็นชุดประจำชนเผ่า จะใส่เฉพาะวันสำคัญ หรือเมื่อมีแขกมาเยี่ยม เหมือนพวกเรา ชุดนึงตกราคาไม่ต่ำกว่า 7000 บาท และทุกคนจะมีอย่างน้อย 1 ชุดใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะทำเสร็จ คนที่สามารถทอได้มีเพียง 3-4 คนเท่านั้น

หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของคนที่นี้ เขาบอกว่าเดือนนึงเขาใช้กันคนละแค่ 5000 บาทเท่านั้น ค่าไฟก็ไม่เสีย ส่วนน้ำก็ได้มาจากบนเขา สิ่งที่ซื้อก็เป็นพวกข้าวจากฝั่งพม่า เกลือ อาหารทะเล เป็นต้น

โรงเรียนเด็กเล็ก
โรงเรียนเด็กเล็ก ที่นี้มีครูอยู่เพียงคนเดียวต้องทำตั้งแต่ทำกับข้าว อาหารเช้าให้นักเรียนทาน เด็กนักเรียนเดินทางไม่ไกล เพราะบ้านพวกเขาก็อยู่รอบๆโรงเรียน สถานที่ค่อนข้างเปิด แต่เด็กก็ไม่หนีกลับบ้านเพราะกลับไปก็ไม่มีใครอยู่ พ่อแม่จะฝากลูกไว้ที่นี้และมารับกลับตอนเย็น

เด็กอายุเท่าไรก็เรียนด้วยกันหมด เป็นการสอนแบบบูรณาการ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือครูต้องสอน 2 ภาษาไทยสลับลาหุ ไม่งั้นเด็กจะไม่เข้าใจ เรียนรู้ผ่านเกมเป็นหลัก ของใช้เช่นแผ่นปูรองนอนให้เด็กนั้นไม่เพียงพอ เด็กจะหนาวมากตอนหน้าหนาว เผื่อใครสนใจอยากจะทำบุญช่วยเหลือ ก็แนะนำซื้อผ้าปูนอนไป

หมอผีประจำหมู่บ้าน
ฟังเรื่องราวจากหมอผีประจำหมู่บ้าน สวนตัวชอบตรงจุดนี้ที่สุด แลดูน่าค้นหาดี ในหมู่บ้านจะมีหมอผีเพียง 2 คนเท่านั้น จะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ และจะการสืบทอดตำแหน่งกันทางสายเลือดเป็นหลัก หมอผีเกี่ยวข้องกับชีวิตคนในหมู่บ้าน ตั้งแต่เกิดจนวันสุดท้ายของชีวิต เมื่อเด็กเกิดมา ผ่านไป 13 วันจะมีพิธี

เราก็ถามหมอผีกันว่า คนที่นี้เขามีหลักในการตั้งชื่อกันอย่างไร หมอผีก็บอกว่า ใช้ราศีและเดือนที่เกิดในการตั้งชื่อ ผมก็ได้ชื่อ "จะกา" มาสำหรับปีไก่ และผู้หญิงจะชื่อว่า "จะระกา"

พิธีกรรมก่อทราย
พิธีกรรมก่อทราย จะทำเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตร ออกผลดี ในรูปเขาจะนำไม้ไผ่ มาจะช่องและนำใบไม้ หรือดอกไม้ของต้นที่ให้ผลผลิตที่เราปลูก มาแต่งไว้ตามกระบอกไม้ไผ่

นอกจากนี้หมอผียังมีหน้าที่ รักษาโลกด้วยหากมีใครป่วยก็จะไปหาหมอผีพร้อมกับไก่ 1 ตัว เมื่อทำการต้มกินกันเสร็จ เขาจะนำกระดูกไก่มาแล้วเอาไม้มาเสียบตามรูบนกระดูกไก่ พ่อหมอก็จะทำนาย ถ้าผลไม่ได้ก็จะล้มหมู เพื่อดูเครื่องในต่อ = =



มื้อกลางวันคนในหมู่บ้านเลี้ยงอาหารดีมาก เขาทำให้มากซะจนผมว่ามันเยอะเกินไปนะ แต่ก็ทำให้รู้สึกดี สัมผัสได้ถึงความรู้สึกดีๆ ที่พวกเขาต้องการจะมอบให้กับพวกเรา

จัดกิจกรรมการเรียนรู้
ช่วงบ่ายเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับเด็กในชุมชน จะบอกว่ากิจกรรมนี้ทำให้ ผมรู้สึกล้มเหลวหลายๆอย่าง แต่มันกลับทำให้รู้สึกดีมาก และได้เรียนรู้อะไรจากตรงนี้เยอะมากเช่นกัน

กลุ่มผมได้เด็กวัยอนุบาลมา 6-7 คน สถานที่เปิดกว้าง ซึ่งผมก็ได้เห็นความเป็นผู้นำของเพื่อนในมุมที่แตกต่างกันไป บางคนขึ้นมานำทันทีในเวลาที่เพื่อนไม่พร้อม เพื่อซื้อเวลาให้กับทุกคน บางคนเสนอความคิดวางแผน บางคนมองเห็นสิ่งผิดปกติก่อนคนอื่น

พวกเรานำกิจกรรมที่ได้ร่ำเรียนมาจากมหาลัยมาใช้ และพบว่าเด็กฟังไม่ทัน ไม่เข้าใจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อ จนมีช่วงหนึ่งที่เด็กวิ่งกระจายหายไปจนต้องแบ่งคนไปตาม จนถึงจุดหนึ่งที่ทุกอย่างอยู่ตัว เราก็ต้องเปลี่ยนสถานที่อีกแล้ว ผมสรุป Take away จากกิจกรรมได้ดังนี้
  1. ในฐานะที่เป็นผู้จัดการเรียนรู้ สำคัญมากที่เราจะรู้พื้นฐานของผู้เรียนก่อน ในสถานะการณ์นี้พวกเราพลาดที่ไม่ได้คำนึงถึงภาษาไทยที่เด็กวัยนี้ใช้ไม่คล่อง
  2. การคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการสอนนั้นสำคัญมาก ไม่เช่นั้นการจัดการอบรมจะเป็นไปตามยะถากรรม ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ไม่ใช่การสอน
  3. สภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง เป็นไปได้ยากมากที่จะจัดกิจกรรมในวงแคบให้กับเด็ก
เสร็จกิจกรรมจัดการเรียนรู้ พวกเราก็ได้เวลาพักผ่อน ที่พักของผมอยู่ติดกับ ป่า Slowlife กินอาหารขันโตกจากเจ้าของบ้าน เขาดูแลเราดีมากจริงๆ คนในบ้านพยายามแย้งที่จะอยู่ห้องพระกัน เพราะมันอุ่นใจดี 555

เต้นจะคึ
กิจกรรมยามค่ำคืน เต้นจะคึ ชาวบ้านเตรียมไม้ไผ่ ที่ผ่าช่องไว้ใส่เทียน ให้แสงสว่างเหมือนหลอดไฟริมถนน ชาวบ้านบางส่วนจะแต่งตัวในชุดพื้นเมือง ล้อมกันเป็นวงกลม ถ้าเราพร้อมเมื่อไรก็สามารถเข้าไปร่วมเต้นกับเขาได้

ท่าเต้นเหมือนเร็กเก้ผสมสกา เอิ่ม...อันนี้พูดเล่นนะครับ ก็จะเป็นการใช้สเตปเท้าเป็นหลัก ขวา ซ้าย ขวา ขวา ซ้าย อะไรก็ไม่รู้ผมก็งงมาก พอมานึกถึงเด็กที่เราต้องไปสอน เราก็นึกได้ว่าเรื่องที่เราคิดว่าธรรมดา แต่ถ้าเด็กไม่เคยเรียนเลย มันก็เข้าใจยากเหมือนกัน เหมือนกับตอนเรา เต้นจะคึ งงมากครับ...ได้แต่พยายามหันตัวตามไป แต่ขานิมั่วมากเลย หลังจากเต้นเสร็จเหงื่อไหล ก็มากินขนมที่ทำจากข้าวเหนี่ยว คล้ายๆโมจิจิ้มน้ำตาล อร่อยมากและเพิ่มน้ำตาลในเลือดอย่างรุนแรง 555

No comments:

Post a Comment