Wednesday, August 19, 2015

Teach for Thailand - Institute day 1


บันทึกการเดินทางตอนที่ 1 ทำไมดอยตุง? Journey diary day 1: Why Doi Tung?


เริ่มการอบรมโมดูล 1 และ 2 ที่เชียงราย ณ ดอยตุง วันแรก
We start training institute at Chiang Rai Doi Tung. DAY 1

มาถึงแล้วเชียงรายหลังจากนั่งรถโค้ชมา 10 ชั่วโมง สภาพยังไม่ได้อาบน้ำแปรงฟัน แต่ยังไม่ถึงเวลาพักต้องมาที่ศึกษาดูงาน 52 ไร่ก่อน สถานที่ไปดูได้แก่ โรงงานทำกระดาษสา โรงงานทอผ้า โรงงานเครื่องปั้นดินเผาและปิดท้ายด้วยการชิมกาแฟดอยตุง


เริ่มที่โรงงานกระดาษสาก่อน ประทับใจในหลายๆอย่าง ที่นี้แสดงให้เห็นถึงการเข้ากันของความเป็น Global และ Local กันอย่างลงตัว เข้ากันตรงที่สิ้นค้าที่ผลิตจากโรงงานกระดาษสาแห่งนี้ ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการระดับโลก บริษัทอย่าง IKEA ก็เป็นหนึ่งในลูกค้าที่ สั่งทำผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และรายได้เข้าสู่กระเป๋าของคนท้องถิ่น

การผลิตกระดาษสานั้น แต่ก่อนที่ใช้กรรมวิธีแบบของไทย ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องแดดที่ใช้ตากให้แห้ง และการคุมคุณภาพที่ทำได้ยาก ทำให้ค่อยๆมีการพัฒนากรรมวิธี มาเป็นวิธีผลิตแบบญี่ปุ่น แต่ปัญหาก็คือต้องใช้ไม้ไผ่เซกิที่มีราคาแพง นำเข้าจากญี่ปุ่นมาทำตะแกรงจับเยื่อกระดาษ ไม่ทนทานและแพงมากอยู่ที่ 5000 บาทต่อชุด แต่ได้มีการพัฒนานำของพื้นบ้านมาใช้ทำตะแกง ทำให้ลดต้นทุนลงไปได้มากเหลือเพียง 50 บาทต่อชุดและทนทานกว่า


โรงงานกระดาษสาแห่งนี้ก็พัฒนาปรับนุ้นนิดนี้หน่อย ลดการใช้แก๊สโดยใช้กะลาแมคาแดเมีย มาเป็นเชื้อเพลิง ควบคุมการใช้สารเคมีไม่ใช้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ Partner โดยเฉพาะ Ikea ให้ความใส่ใจมากถ้าไม่ผ่านเกณฑ์สินค้าก็ขายไม่ได้ พนักงานที่ทำงานก็รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เพราะได้เป็นส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม

กระดาษสาที่ได้ก็ผ่านการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นสมุด กล่องของขวัญ พัด ฯลฯ หนังสือเล่มหนึ่ง ถ้าคิดทั้งกระบวนการแล้วใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ฟังดูแล้วเล่มละ 500 บาทก็ยังคุ้มเลย เพราะสมเด็จย่าทรงมองทั้งลึกและกว้าง จึงพยายามพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพระดับ Premium เพราะอยากให้ผู้คนซื้อสินค้าที่คุณภาพ ไม่ใช่เพราะสงสารคนที่ดอยตุง

ในโรงงานต้องใช้ฝีมือพอควร ที่จะกะน้ำหนักของกระดาษได้พอเหมาะ เพื่อให้กระดาษมีความหนาที่เหมาะสม


มาต่อกันที่โรงงานทอผ้า ที่นี้ถือว่าเด็จดวงมากจริงๆ คุณภาพของผ้าที่ได้ถือว่าระดับ Premium มากผ้าพันคอผืนละ 1000 บาทถือว่าไม่แพง แต่พอดีที่บ้านไม่ได้นิยมใส่ก็ขอบายก่อนละกัน แต่เดิมทีการทอผ้าเป็นอาชีพเสริมของคนบนดอยอยู่แล้ว แต่สร้างรายได้น้อยและวิธีการผลิตยังให้ผลผลิตที่น้อยมาก สมเด็จย่าเห็นเช่นนั้น จึงหาผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้ามาทำการอบรมให้ และยังจัดหาวัตถุดิบที่จำเป็นพร้อมทั้งรับซื้อผ้าอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะถ้าทอผ้าเก่งแต่ขายไม่ได้ ไม่ได้ราคาคนทอผ้าก็อยู่ไม่ได้ ถือว่าโรงงานแห่งนี้เปลี่ยนชีวิตของสาวบนดอยไปหน้ามือเป็นหนังมือเลยทีเดียว

เมื่อก่อนชาวบ้านจะทอได้วันละ 2 เมตรซึ่งมาตรฐานการทอผ้าจะอยู่ที่ 10 เมตรแต่ตอนนี้ ชาวบ้านสามารถทอได้วันละไม่ต่ำกว่า 12 เมตรแล้ว

ทั้ง 2 โรงงานที่ได้กล่าวไปจะมีคนเฒ่าคนแก่มาทำงาน เพราะสมเด็จย่าเล็งเห็นว่า คนเหล่านี้สามารถทำงานได้ ดีกว่าอยู่เฉยๆขอเงินลูกหลาน อีกทั้งยังสร้างความภาคภูมิใจให้แก่พวกเขาอีกด้วย ที่ยังสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ และที่นี้ยังเปิดรับทุกคนที่มีความตั้งใจที่อยากจะทำงานอีกด้วย

นั่งรถตู้ต่อมาที่โรงงานเครื่องปั้นดินเผา เมื่อก่อนดินบริเวณนี้เป็นดินเสื่อมโทรม ดินมีการผุกร่อน จึงได้มีการปลูกหญ้าแฝกซึ่งรากนั้นลึกสุดถึง 60 เมตร ใบของหญ้าแฝกสามารถทอเป็นกระถางต้นกล้าได้ ลดการใช้พลาสติก ต่อมานักวิชาการพบว่าดินบริเวณนี้มีแร่ฟันม้าอยู่ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำเซรามิก
แรงงานที่นี้ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นเพราะเป็นงานที่ต้องใช้แรง กรรมวิธีที่นี้จะมีด้วยกัน 4 วิธีได้แก่ ขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ขึ้นรูปด้วยหัวโรเลอร์ หล่อด้วยน้ำดินและขึ้นรูปด้วยแป้นอัดน้ำดิน


กลับออกมาพักชิวๆ ด้วยการจิบกาแฟดอยตุง กาแฟดอยตุงนั้นเป็นพระราชดำริที่ต้องการให้มีการฟื้นฟูป่า และให้มีการปลูกพืชอื่นแทนการปลูกฝิ่น เนื้อจากกาแฟที่มีคุณภาพจะต้องปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ บนที่สูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล เพราะเมล็ดกาแฟจะสุกเองตามธรรมชาติ ไม่ได้สุกเพราะแสงแดด จะให้รสชาติที่ดีที่สุด และให้ความเป็นเจ้าของแก่ผู้ปลูกไร่กาแฟ เพื่อให้เขาดูแลรักษาผืนป่าที่สร้างรายได้แห่งนี้

กลับมา Reflection กันที่ห้องประชุม ด้วย 2 หัวข้อด้วยกัน Top of Mind และ Top of Feeling สิ่งแรกที่เด้งขึ้นมาในใจของเรามันคืออะไร สำหรับผมสิ่งแรกเลยคือ เจ๋งมากที่มีแนวคิดที่จะสร้างงานให้คนสูงอายุ ซึ่งผมไม่เคยนึกถึงจุดนี้เลย เป็นที่รู้กันว่ายุคของคนสูงอายุเยอะกว่าคนหนุ่มสาวกำลังจะมาถึง ถ้าเราสามารถสร้างงานให้คนสูงอายุได้ ไม่เพียงแต่จะไม่เป็นภาระของลูกหลานเท่านั้น แต่ยังทำให้พวกท่านรู้สึกมีคุณค่าอีกด้วย


จากนั้นก็เข้าไปหาแรงบันดาลใจ และคำตอบของคำถามว่าทำไมดอยตุง ที่หอแห่งแรงบันดาลใจ หรือ Hall of Inspiration ซึ่งเป็นเรื่องราวของคน 1 คนที่เปลี่ยนแปลงดอยตุง เปรียบเสมือนน้ำ 1 หยดที่ตกลงบนผืนน้ำสร้างระลอกคลื่นตามมา คนหนึ่งคนจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงหรือ ที่นี้มีคำตอบ


เนื่องจากวันนี้เราได้มีการทำ Presentation เล็กๆซึ่งเพื่อนๆเป็นนักเล่าเรื่องที่ดีมากเลย พี่จอยก็เลยให้เราดู Setting วิธีการจัดและนำเสนอความคิดของแต่ละกลุ่ม เราจำเรื่องราวของแต่ละกลุ่มอะไรได้บ้าง ก็เลยมีทฤษฎี 3-Vs มาสอน ร้อยละ 93 ของความเข้าใจมาจากสองส่วนด้วยกัน Vocal and Visual

จบไปแล้วกับมหากาพย์ตอนที่ 1 กลับมามองดูอีกทีนี้วันนึงทำอะไรเยอะขนาดนี้เลยหรือเนี่ย รู้สึกมีแรงบันดาลใจเต็มเปี่ยม ^^

No comments:

Post a Comment