Friday, March 3, 2017

ถอดบทเรียนครูจากเรื่อง Assassination Classroom


Assassination Classroom : ชั่วโมงลอบสังหาร


หลังจากปวดหัวกับการตรวจข้อสอบ NT เสร็จ วันนี้เลยอยากพักสมอง เลยหยิบประเด็นหนึ่งที่เก็บไว้นานจนหยากไย่เริ่มเกาะหนาเต็มที เป็นหนังสือการ์ตูนที่ผมเสพอยู่ช่วงหนึ่ง อยากให้คนที่เป็นครู หรือทำหน้าที่สอนพัฒนาคน ได้อ่านและไคร่ครวญแต่ละตอนไปด้วยกัน

ใช้เวลาช่วงเย็นๆ หลังจากงีบเสร็จไปตื่นหนึ่ง ลองค้นดูตาม pantip เวปรีวิวต่างประเทศ จะเล่าถึงว่าการ์ตูนเรื่องนี้ มุขตลก การปูเนื้อเรื่อง ปมปัญหา และเนื้อหาที่ไม่ยึดยาว 180 ตอนจบ แต่ยังไม่มีใครเอามีตีความในมุมมองของครูเท่าไรนัก ก็ถือเป็นโอกาสอันดี เริ่มเลยละกัน...

ผมอ่านเรื่องนี้ตอนที่ไฟความเป็นครูกำลังจะค่อยๆหายไป จากความเหนื่อยล่า และการผลัดวันในการขัดเกลาจิตวิญญาณความเป็นครู ที่กำลังจะขึ้นสนิมเต็มที 

เนื้อเรื่องดำเนินไปโดยที่ มีตัวประหลายสีเหลืองโพล่เข้ามาในชั้นเรียน มาสอนนักเรียน ห้อง E ที่ห่วยแตกที่สุดในโรงเรียน และบอกเป้าหมายว่า จะต้องฆ่า อาจารย์ให้ได้ก่อนจบปีการศึกษา หากไม่เป็นเช่นนั้นโลกจะดับสูญ ห้ามบอกเรื่องนี้กับใคร ครอบครัวของคนนั้นจะถูกเล่นงาน อาจารย์ประหลาย ความรู้ ความสามารถสูงมาก รวมไปถึงความเร็ว 20 มัค ที่ทำให้อาจารย์สามารถ เดินทางรอบโลก แยกร่างสอนนักเรียน ออกข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว หากใครฆ่าได้จะได้รับเงินรางวัลมหาศาล

สถานการณ์ห้องเรียนในหนังสือการ์ตูน ไม่ต่างอะไรกับห้องเรียนที่ผมได้รับมอบหมายตลอด 2 ปี ไม่แตกต่างจากองค์กรเล็กๆที่กำลังจะหมดไฟ ในถ้านะของครูหรือผู้นำ เราจะนำพาคนที่เราดูแลให้เดินไปได้อย่างไร ต่อไปนี้จะเรียกชื่อตัวละครสีเหลืองนี้ว่า "อาจารย์โคโระ" ตามเนื้อเรื่อง ผมยกอาจารย์โคโระให้เป็นครูในอุดมคติที่ดีที่สุดที่จะเป็นได้

บทเรียนต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมแกะมาจากความทรงจำ ซึ่งถ้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการจับประเด็น จากการ์ตูนเรื่องนี้ได้ ก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

บทเรียนแรก เป้าหมายโฟกัส ไปที่จุดเดียวกันให้ได้ ในเรื่องนี้ เป้าหมายร่วมกันคือการฆ่าอาจารย์ให้ได้ ด้วยแรงพลักดัน และแรงจูงใจที่ชัดเจนทุกคนพยายามที่จะหาวิธีการในแบบของตัวเอง ในการฆ่าอาจารย์ลงให้ได้ แน่นอนว่าถึงเราจะหาจุดที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวจูงใจ แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่ไม่ไปด้วยในห้องเรียน หรือองค์กร ในการ์ตูนเรื่องนี้ก็มีวิธีการจัดการเช่นกัน

บทเรียนที่สอง การรู้จักผู้เรียน อาจารย์โคโระมีความเสือก ติดอันดับต้นๆ อาจารย์จะพยายามจดทุกอย่างที่ที่ได้จากการสังเกตนักเรียน ว่าชอบอะไร ถนัดตรงไหน ปกติจะไปอยู่ที่ไหน สังเกตปัญหาก่อนล่วงหน้า การเรียนรู้ผู้เรียนอย่างเข้มข้น ทำให้อาจารย์โคโระ ดึงด้านดีๆของเด็กห้อง E ออกมาได้อย่าเต็มศักยภาพ

บทเรียนที่สาม การชมเชย อาจารย์โคโระ มักจะชมก่อนอยู่เสมอ ซึ่งการชมได้นั้นต้องผ่านการมองหาข้อดี ชมไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเลวร้ายซักแค่ไหน อาจารย์จะหาจุดที่ชมก่อน ตักเตือนได้เสมอ และให้คำแนะนำตามความถนัดของแต่ละคน

บทเรียนที่สี่ การเปลี่ยนทุกสถานการณ์ เป็นบทเรียน ไม่ว่าตอนนั้นจะเป็นการพักผ่อน ท่องเที่ยว การลงโทษ อาจารย์โคโระมักจะมองหาหนทางที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน เวลาเดินทางไปไหนก็จะมี Guidebook ที่เขียนทุกอย่างไว้ให้พกติดตัว เพื่อศึกษาและใช้ในยามฉุกเฉิน หรือการลงโทษโดยให้ไปทำความดี เพื่อที่จะเรียนรู้คุณค่าของการให้ตอบแทนผู้อื่น

บทเรียนที่ห้า การคาดหวังในตัวนักเรียนที่สูง และการสนับสนุนเต็มที่ ถึงจะเป็นห้อง E ที่ห่วยที่สุดในโรงเรียน แต่อาจารย์ก็คาดหวังให้ทุกคนสามารถชิงอันดับต้นๆ ของการสอบในโรงเรียนให้ได้ ในเรื่องอาจจะเว้อหน่อย อาจารย์ทีความเร็ว 20 มัคจึงสามารถลงไปประกบนักเรียนทุกคนในเวลาเดียวกันได้ ส่งผลให้ทุกคนพัฒนาตามศักยภาพของตัวเองอยู่ตลอด อาจารย์จะไปศึกษาทุกความสนใจของนักเรียนเพื่อที่จะมา Mentoring เด็กแต่ละคนได้อย่างมหัศจรรย์

บทเรียนที่หก สอนด้วยหัวใจ ในเรื่องจะมีตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ อาจารย์โคโระมาสอนในห้องนี้ ตัวละครตัวนั้นเป็นครูที่ไม่ได้เก่งอะไรเลย แต่มาพร้อมด้วยหัวใจ และส่งต่อให้อาจารย์โคโระมาดูแลนักเรียนกลุ่มนี้ต่อ ผมว่ามันวิเศษมาก ทำให้คิดว่าถึงเราจะสอนห่วยแค่ไหน ขอให้ทำเต็มที่ ไม่ทางได้ก็ทางหนึ่ง สิ่งที่เราหวังก็จะเกิดขึ้นในตัวนักเรียน

ขอบคุณที่อ่านจนจบ อยากให้ไปอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ มันจะช่วยให้เข้าใจและซึมซับในสิ่งที่ผมเขียนได้ดีขึ้น และหวังความความเป็นครูในตัวทุกคนจะติดไฟ กลับมาโชติช่วงเหมือนดังเดิม เพื่อนักเรียน ลูกน้อง ลูกหลาย หรือคนที่กำลังเดินตามเรามา

No comments:

Post a Comment