Wednesday, December 30, 2015

TFT diary day 38: Begin again and again


     สัปดาห์สุดท้ายของปีนี้แล้ว เวลาผ่านไปไวมากๆๆๆๆๆ ถึงมากที่สุด สองเดือนเหมือนเป็นเพียงแค่กระพริบตา ส่งท้ายปีด้วยการไม่มีเสียเลย กิจกรรมส่งท้ายปีจึงเป็นการให้นักเรียนเล่นเกมทายอาชีพจากสิ่งของที่ครูยกตัวอย่างขึ้น และก็การทำแมนดาลล้า เห็นได้ชัดเจนเลยว่านักเรียนสงบมาก แม้จะไม่ได้ให้นั่งสมาธิก่อนเริ่มกิจกรรมตามระเบียบวิธีที่ควรจะเป็น

 
     การสื่อสารในระหว่างที่ไม่ต้องพึ่ง Microsoft word กับ Projector ในการสั่งงานนักเรียน สื่อสารกันช้านิดหน่อย แต่ก็คุยกันรู้เรื่อง

     จนถึงตอนนี้เสียงยังไม่กลับมาเป็นปกติเลย ทั้งกินน้ำร้อน น้ำผึ้งผสมมะนาวผสมเกลือ ยาแก้อักเสพ ก็ยังไม่ดีขึ้น หวังว่าจะดีขึ้นก่อนเปิดเรียนนะ



     มีเรื่องที่น่ายินดีด้วยเช่นกันผมช่วยครูคณิตระดับชั้นประถมปลายทำสื่อสาระสนเทศไปส่งประกวด (CAI) ด้วยเวลาที่จำกัดมากๆ เลยพยายามใช้เครื่องมือที่ง่ายที่สุดนั้นคือ Powerpoint นั้นเองเขียน Visual Basic เล็กน้อยก็สร้างเกมคณิตศาสตร์เจ๋งๆได้แล้ว ซึ่งตัวเองก็พึ่งรู้ว่าทำแบบนี้ได้เช่นกัน แต่เพราะมีเวลาทำแค่สองวันปั่นแบบลวกมากๆ ภาษาอังกฤษเต็มไปหมด แต่ก็ชนะมาได้อย่างใสๆ เพราะไม่มีโรงเรียนไหนทำสื่อ CAI เป็นเลยแป๋วววว = =

     สัปดาห์นี้ก็ใช่ว่าจะไม่ได้สอนเลย ถึงไม่มีเสียงเราก็สอนได้ คณิตศาสตร์ ม.ต้นทำแบบฝึกหักอย่างเดียวเลยจ้า...

     ยังคงแบ่งความยากง่ายให้นักเรียนเลือกทำอยู่เช่นเคย แต่ลดคะแนนของข้อระดับยากลง เพื่อจะจูงใจให้นักเรียนที่ประเมินตนเองว่ายังไม่ค่อยแม่นหันมาทำข้อที่ง่ายขึ้น

     สิ่งที่เป็นปัญหาตอนนี้คือการไล่ระดับความยากง่ายหรือที่เรียกว่า scaffolding นั้นเอง และเป็นสิ่งที่สำคัญในขั้นต่อไป ในเรื่องการประยุกค์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ผมต้องการจะสอนนักเรียน เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุดและก็สำคัญที่สุดด้วยเช่นกัน

     จบปีนี้ด้วยงานเลี้ยงปีใหม่ ก็มีเรื่องเซอร์ไพร์ด้วยเช่นกัน มีนักเรียนมาเคาะประตูขอเข้าไปเล่นห้องวิทย์(พอดีวันนี้ผมไม่มีเสียงเลยไม่อยากให้เข้ามาเล่นเพราะเดี๋ยวจะต้องไล่ลงไปเข้าแถว) แต่ก็ไม่ได้ให้เข้ามา ถามว่าจะเข้ามาทำอะไรก็ไม่บอกด้วยสุดท้ายก็ไม่ได้เข้ามาเล่น

     แต่ปรากฎว่านักเรียนทำก๋วยเตี๋ยวลุยสวนมาให้ อีกคนก็ซื้อกระปุ๊กออมสินมาให้(พอดีเลยก็ลังจะเก็บเงินนักเรียนไม่เอาปากกา ไม้บรรทัดมาเรียน) ก็ตื้นตันนิดๆ เพราะเป็นนักเรียนที่กวนที่สุดและเรารู้สึกว่าเราเข้าใจเขามากที่สุด ถ้ามีอะไรให้ได้เราก็ให้


     นี้คือสภาพหลังจากที่นักเรียนกินจนอิ่มหน่ำสำราญแล้ว หลับกันหมดเลยจ้า ครูก็เช่นกันไม่ไหวแล้วหนีไปนอนตรงโต๊ะครู ปีใหม่นี้อิ่มแล้วทั้งของกินและความรู้สึก :D


Thursday, December 24, 2015

TFT diary day 34: Project Based Learning (PBL)


     เรื่องราวทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ผมได้อ่านหนังสือ 21st CENTURY SKILLS Rethinking How Students Learn ซึ่งเป็นหนังสือที่เก่ามากแล้วที่บอกเล่าปัญหาการศึกษาของสหรัฐอเมริกา และทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีอยู่บทหนึ่งที่โดนใจผมมากคือการทำ PBL (Problem Based Learning/ Project Based Learning)

     สมัยเรียนผมชอบทำโปรเจคมาก ช่วงเวลาในการทำ ช่วงเวลาที่เจอปัญหาเราไม่สนุกหลอกแต่ตอนที่ปัญหาค่อยๆแก้ไปได้ เรารู้สิ่งใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เราเติบโตมากขึ้นนั้นหละความสุขในแบบที่ผมชอบมาก ผมจึงโน้มเอียงไปทางการทำโปรเจคมากขึ้น ที่เกริ่นนำด้วยเรื่องนี้ก็เพราะถ้าใครจะเอากระบวนการณ์ไปใช้จะได้เข้าใจที่มาที่ไปในแบบของผมนิดนึง

    ผมก็นั่งคิดเมื่อหลายสัปดาห์ก่อนว่าคณิตศาสตร์จะทำอย่างไรดีให้ โครงงานทั้งสนุก ท้าทายและได้ความรู้เหมาะสมแก่นักเรียนแต่ละระดับชั้น ตอนนั้นคิดไม่ออกเลยว่าจะทำอย่างไรดี เลยเริ่มมามองในสิ่งที่มีบังเอิญว่าช่วงที่ได้ความคิดนี้พึ่งผ่านกิจกรรม Little Builders มาได้ไม่นาน ความสนุกของการสร้างเรื่องบินพลังหนังยางไม่ต้องพูดถึง ดึงความสนใจได้แน่นอน แต่จะให้มาผูกกับวิชาคณิตศาตร์อย่างเดียวก็ดูจะดูเกินเลยไปหน่อย เลยเอาไอเดียไปเสนอให้กับพี่โอ รุ่นหนึ่ง Teach for Thailand ที่สอนวิทยาศาสตร์ม.1 อยู่ว่าจะขอร่วมโครงการกัน

     ตอนแรกผมตั้งใจจะขอเพียงคำแนะนำของพี่ในโครงการ Little Builders เฉยๆว่าต้องไปซื้ออุปกรณ์ที่ไหน แบบเป็นอย่างไร เพื่อที่ได้จะไม่ต้องเริ่มต้นจาก 0 สนทนากันแบบภาษาอังกฤษถูกบ้างผิดบ้าง ก็ได้ความช่วยเหลือเข้ามา พี่เต้ จาก Little Builders อยากที่จะมาช่วยด้วย
     พี่เขาพึ่งไปปรึกษากับทางจิตวิทยาจุฬามาแล้วต้องการเก็บข้อมูลเพิ่มเพื่อพัฒนาแบบทดสอบ ตอนคุยโทรศัพท์ผมก็หน้ามึนมากสอนมาทั้งวัน

จนถึงจุดนี้ผมไม่รู้เลยว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เหมือนทำใจรับสภาพทุกอย่างแล้ว คิดไว้แล้วว่าเราเข้ามาเพื่อเรียนรู้ ความผิดพลาดคือการเรียนรู้ที่ดีอย่างหนึ่งจึงเดินหน้าต่อไป ติดต่อโรงเรียนกับทาง TFT เรียบร้อย

     จนถึงวันนี้ที่ผมกำลังจะเล่าจริงๆ หลังจากเกริ่นมาน๊านนาน มันก็วุ่นวายจริงๆอย่างที่คาดไว้นั้นหละ เพราะเรามีเวลาไม่มากในการประดิษฐ์และทำการทดลอง จากเดิมเวลาในการสร้างที่ต้องใช้ 3 ชั่วโมงต้องลดลงให้ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้มีเวลาในการทำการทดลองเก็บข้อมูล ผมจึงปรึกษากันไว้ก่อนว่าเราจะตัดส่วนที่ทำยากทิ้งไปคือส่วนใบพัด เพื่อตัดปัญหาด้านคนดูแลช่วยแก้ปัญหาที่น้อยและเวลาที่จำกัดไป

     ถึงกระนั้นปัญหาก็เกิดขึ้นมากมาย เราทำไม่ทันที่จะทดลองเพราะการตัดปีกที่ช้า เราประเมินเวลาผิดพลาดไป อุปกรณ์ในการตัดปีกน้อยเกินไป ชิ้นส่วนใหม่ที่ไม่เคยให้นักเรียนที่ไหนลองทำมาก่อนมีส่วนที่ยากกับนักเรียน การดูแลที่ไม่ทั่วถึง โดยสรุปแล้วก็โอเคนะปัญหาแค่นี้เอง 555

อย่างไรก็ดีนักเรียนสนุกก็โอเคแล้วครับ ^^


เบื้องหลังอุปกรณ์ต่างๆต้องขอบคุณนักเรียนหลายๆคนที่มาช่วยกันตัด


     กลับมาสู่ Part การสอนในวันนี้และหลายวันที่ผ่านมาบ้าง ผมเริ่มสังเกตถึงความขึ้นลงของคุณภาพการสอนของตนเอง จึงเริ่มถามกับตัวเองจนได้คำตอบว่าผมไม่ได้ทำบันทึกหลังสอน และการเตรียมเนื้อหาไม่ดีพอ ซึ่งค้นพบว่าการเตรียมตัวสอนคณิตศาสตร์ด้วยการเรียนซ้ำอีกครั้งผ่าน Khan Academy ช่วยได้เยอะมากการเรียนครั้งนี้ไม่ใช้เพื่อความรู้เนื้อหาอย่างเดียว แต่เพื่อเรียนรู้วิธีการสอนด้วย


     วันนี้เนื่องจากเป็นวันสุดท้ายของปี 2558 ผมเลยให้นักเรียนเขียนเป้าหมายพัฒนาตนเองในอีก 1 เดือนข้างหน้าด้วยหัวข้อ New Year, New You ถือโอกาสนี้สอนการตั้งเป้าหมายแบบ SMART ไปด้วยเลยเสียเวลาไปครึ่งชั่วโมง แต่เพื่อคุณลักษณะอื่นๆที่ต้องการสอดแทรกให้นักเรียนแล้วผมว่าคุ้มค่านะ ผมให้นักเรียนเขียนเป้าหมายของตนเอง พร้อมกับเขียนคำด่าตัวเองถ้าทำไม่สำเร็จ และคำชมตนเองที่ทำได้สำเร็จลงไปด้วย พอดีสัญญากับนักเรียนไว้ว่าจะไม่เปิดอ่าน เลยไม่รู้เลยว่าพวกเขาเขียนอะไรกัน Oh Shit!  = = เป็นกิจกรรมที่วัดผลไม่ได้โดยสิ้นเชิง ได้แต่ภาวนาว่าจะเปลี่ยนพวกเขาได้ไม่มากก็น้อย จนถึงจุดนี้ก็ยังคงรู้สึกว่ามีนักเรียนทำให้เสียใจอยู่บ้าง แต่เพราะมองว่าตัวเองยังไม่ดีพอเลยไปโทษใครไม่เจ็บ และเดินหน้าตัวไป เป็นครูคนใหม่ในปีใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

พรุ่งนี้จะได้บินกันหนึ่งห้องแล้วนะ บุญรักษานักเรียนทุกคน

ขอยืมนักเรียนห้องหนึ่งมาเป็นนายแบบหน่อยนะ :D

Saturday, December 19, 2015

สรุปเทคนิคทั้งหมดที่ใช้ในห้องเรียน 1


     การจัดการห้องเรียนดูจะเป็นปัญหาที่ทั้งครูมือใหม่ นิสิตฝึกสอนจะ วิทยากรจะต้องเผชิญ ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมทำมาตลอดเกือบสองเดือน เผื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย ทั้งหมดนี้ทำเพื่อละเว้นการใช้ไม้เรียวหรือการต่อว่าด้วยน้ำเสียง ท่าทางที่รุนแรงในการควบคุมห้องเรียน แต่ละเทคนิคผมวิเคราะห์ไว้คราวๆว่าข้อดีที่นอกเหนือจากการควบคุมห้องเรียนได้แล้วจะเกิดผลดีอะไรบ้างไว้ใน. [...]


จัดการห้องต้นคาบ (เมื่อนักเรียนเสียงดัง)



1) เกมสร้าง Engagement
กิจกรรมตอบคำถามให้นักเรียนยกหนังสือ สมุด ปากกาในการตอบคำถามแต่ละครั้ง เริ่มเกมให้นักเรียนทุกคนยืนขึ้น เมื่อใครตอบผิดให้นั่งลง ควรเริ่มจากคำถามตลกๆก่อนเข้าวิชาการ และให้รางวัลนักเรียนที่ชนะ ถ้าห้องไหนเล่นไม่ถึงครึ่งก็แพ้หมดแล้วให้เข้าลุกขึ้นเล่นใหม่อีกที. [FUN] [REMEMBER] [ENGAGEMENT]


2) สร้าง Engagement โดยผ่าน Curiosity ใช้ของแปลกๆเอามาใช้ประกอบการสอน เช่นบีกเกอร์กับเรื่องเศษส่วน นักเรียนจะเริ่มสงสัยว่ามาเรียนวิทย์หรือเปล่า เขาจะตั้งใจดูว่าเราจะทำอะไรในช่วงต้นคาบ บางเรื่องเราใส่ความเข้าใจเชิงลึกเข้ากับการทดลองได้ เช่น ปริมาตรปิรามิดฐานสี่เหลี่ยมเป็น 1/3 เท่าของปริซึมฐานสี่เหลี่ยม แล้วทำลองด้วยการเติมน้ำ ให้เขาเห็นว่าจากปริซึมเทใส่ปิรามิดได้สามรอบจริงๆ คณิตศาสตร์ถ้าใครชอบการทดลองวิทย์อาจจะเอามาประยุคก์ได้ตอนต้นคาบ ให้นักเรียนช่วยถืออุปกรณ์ เทส่วนผสมก็จะเพิ่ม Engagement ได้เยอะขึ้น. [CURIOSITY] [UNDERSTANDING] [ENGAGEMENT] [VISUALIZATION]


3) ใช้นาฬิกาจับเวลาใช้ตอนนักเรียนขอไปเข้าห้องน้ำต้นคาบหรือคุยกันในคาบ ทำยังไงก็ได้ให้นักเรียนเห็นชัดเจนที่สุดถ้ามีสื่อขึ้นจอได้ก็จะดีมาก ถ้าไม่มีอาจจะใช้ Tablet ตั้งไว้ที่โต๊ะ และกำหนดเงื่อนไขที่นักเรียนกลัวเช่นนัดเพิ่มตอนเย็น หักคะแนนทั้งห้อง ปล่อยช้า ให้การบ้านเพิ่ม ฯลฯ มีนาฬิกาสวยๆในเน็ตเยอะมาก เช่น http://www.online-stopwatch.com/bomb-countdown/ แต่ส่วนตัวจะใช้ Excel เขียนโค้ดเป็นนาฬิกาแทนเพราะจะได้ไม่ต้องยุ่งกับเน็ต. [RULE] [TIME MANAGEMENT]


4) บอกว่าตอนท้ายคาบจะมี Quiz ใครไม่ผ่านไม่ได้ออกจากห้อง แล้วเราก็สอนทวนตอนต้นคาบ นักเรียนจะตั้งใจฟังมาก และจะมีคนกล้าบอกว่าตัวเองยังไม่เข้าใจ เราก็ใช้เวลาทวนนักเรียนอีกรอบหนึ่ง. [FOCUS]

5) บอกว่าคนที่คุยอยู่มีกี่คนในห้องนี้ ใช้ในตอนที่คนคุยมีไม่เยอะทำให้เขารู้ตัว ใช้คู่กับการจับเวลาก็ได้. [CONTROLLING]


6) การให้คะแนนแบบนักเรียนไม่ตั้งตัวก็จะให้ผลได้ทันทีเช่น มีคนตอบเสียงดัง เราให้คะแนนไปคนสองคน คนที่เหลือจะเริ่มตอบเสียงดังบ้าง ช่วยได้เล็กน้อย.[PARTICIPATION] [REINFORCEMENT]



จัดการห้องระหว่างคาบ


1) การให้นักเรียนมามีส่วนร่วมที่หน้ากระดาน อันนี้ทาง LDO แนะนำผมมาอีกทีนึง สมมุติว่าเราให้โจทย์บนกระดาน ถ้าอยากให้นักเรียนขึ้นมามีส่วนร่วมบนกระดาน ก็บอกว่าให้ทุกคนทำโจทย์ข้อนี้ แล้วเดี๋ยวครูจะสุ่มคนขึ้นมาแก้โจทย์บนกระดาน จะทำให้ทุกคนจำเป็นต้องทำได้ และระหว่างที่เพื่อนเฉลยคนที่นั่งอยู่ก็ตรวจเช็คไปด้วย. [ENGAGEMENT] [CHECK UNDERSTANDING]


2) สื่อกระดาษติดห้องระหว่างสอน จะมีช่วงที่นักเรียนต้องทำแบบฝึกหัด หลายครั้งพื้นที่บนกระดานไม่เพียงพอหรือเราจำเป็นที่จะต้องเขียนซ้ำหลายรอบ ถ้าเขียนใส่กระดาษแข็งติดฟิวเจอร์บอร์ดเลย แล้วนำไปติดในห้องเรียน จะช่วยนักเรียนที่ตามในห้องไม่ทันได้ด้วย. [REVIEWING]

อะไร อะไรก็ดูจะสะดวกและง่ายขึ้นถ้า...


1) คุณมีกล่องยังชีพ กล่องพลาสติกเล็กที่ไว้เก็บอุปกรณ์ทำมาหากินของคุณ เมื่อต้องออกไปสอนก็หยิบออกไปใช้ได้เลย รวมถึงสามารถแปะตารางงานไว้ที่หน้ากล่องไว้ได้อีกด้วย จะได้ไม่ต้องใช้สมองจดจำตารางเวลางานของตนเอง สนนราคาอยู่ที่ 55 บาท.



2) ปากกาไวท์บอร์ด ชอล์กน้ำ ตัดปัญหาเรื่องปากกาเขียนไม่ออก ไม่รู้จะต้องเติมหมึกตอนไหน เขียนแล้วเห็นไม่ชัดเจน กลิ่นฉุนหรือปัญหาอื่นๆที่จะนึกออกได้จากการใช้ไวท์บอร์ดไปได้เลย แต่มีปัญหาใหม่ขึ้นมาคือมันราคาสูง = =* สนนราคาอยู่ที่ด้านละ 70 บาท หมึกขวดละ 200 บาท ขวดนึงเติมได้เยอะอยู่น่าจะเกือบ 10 รอบ แต่ไม่เคยใช้หมดเลยยังไม่แน่ใจ.

แต่เดี๋ยวก่อน ถ้าคุณโทรมาตอนนี้ ก็ไปซื้อเองเถอะนะ สวัสดีวันหยุดคุณครูทุกคน :D

Thursday, December 17, 2015

TFT diary day 31: Botanical Garden Camp 1


ค่ายสวนพฤษศาสตร์ เป็นสวนหนึ่งของงานพฤษศาสตร์ของโรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นโครงการเฉลิมพระเกียติเนื่องในวันครบรอบ 60 พรรษาของสมเด็จพระเทพ และเป็นการให้นักเรียนเห็นคุณค่าของพืชต่างๆ ว่ามีประโยชน์ทางอาหาร ยา ประดิษฐ์ ฯลฯ ทำให้นักเรียนตระหนักว่าเราจะต้องเรียนรู้และรักษาไว้


ตอนแรกผมนึกว่าจะเป็นกิจกรรมชิวๆ สบายๆ กลัวนักเรียนจะทำเสร็จเสียก่อนเลย คิดว่าจะเอาอะไรมาสอดแทรกให้กับนักเรียนดี เลยนึกขึ้นได้ว่าที่ห้องวิทย์มีกล้องจุลทรรศน์คุณภาพดีอยู่ตัวหนึ่ง เลยยกมาใช้ส่องนุ้นนี้นั้นให้นักเรียนดู

เด็กๆดูสนุกมาก เริ่มเอานุ้นนี้มาให้เราส่องดู บางอย่างก็ประหลาดจนน่ากลัว ผมก็มั่วๆพยายามปรับให้เห็นได้กำลังขยายสูงสุด ก็ได้ภาพสวยๆมาบางภาพ ก็ความสามารถมีแค่นี้หละ

"นักเรียนถามครูทำวิจัยอะไรอะ ครูเป็นหมอหรอ ครูเป็นนักวิจัยหรอ ครูเป็นนักสืบหรอ"



เอาสิ่งรอบตัวเรามาส่องเล่นก็ทำให้ได้เห็นในสิ่งที่เราไม่ได้คาดคิดว่าจะเจอเช่น ขนของใบไม้ต้นอัญชันหรือใบของต้นมะเขือ ที่เราสัมผัสได้ถึงความไม่เรียบ เมื่อทำการส่องเข้าไปก็เห็นขนใสๆเรียกตัวกันแปลกตาดีแท้


เริ่มอยากได้ไว้ที่บ้านซักตัวแล้วสิ :D


Wednesday, December 16, 2015

TFT diary day 30: Instruction media 2


เหมือนเป็นโรคเสพติดการทำอะไรใหม่ๆ สื่อโรงเรียนกทม.เยอะมาก ถึงมากที่สุดแต่ส่วนใหญ่ไม่มีใครเอาออกมาใช้ มีหลายอย่างที่ผมอยากทำแต่ติดกับเนื้อหาในหนังสือ จนไม่ได้นำสิ่งที่อยากสอนออกมาใช้สอน

วันนี้พอดีได้ติวนักเรียนไปแข่งคณิตศาสตร์ เลยสอนอะไรก็ได้ที่อยากสอน มีสื่อใหม่ที่น่าสนใจเกี่ยวกับรูปทรง พื้นที่ผิวและปริมาตร เป็นความรู้สึกที่ดีมากอยากสอนอะไรก็ได้สอน

นักเรียนดูสนุกกับการที่ได้เรียนคณิตศาสตร์ ที่มากกว่าการคำนวณ เพราะคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่เลข

วันนี้สอนเรื่องปริมาตรด้วยน้ำ เปียกๆเลอะๆแต่ก็สนุกดี แล้วก็เอาไปสอนในห้องเรียนของ ม.3 ต่อ

เมื่อวานพี่ LDO เข้ามาดูบอกว่าผมจะต้องสร้างความมีส่วนร่วมของนักเรียนในห้องเรียนให้มากขึ้น วันนี้ก็เลยลองทำดูเลยอย่างง่ายๆ ให้เวลานักเรียนคิดและออกมาแสดงวิธีทำบนกระดาน

และเรื่องที่สองที่ต้องพัฒนาให้กับนักเรียนคือการกล้าแสดงความคิดของตนเอง โดยการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้น เริ่มมีปัญหาให้แก้เพิ่มแล้ว = =

พอชีวิตเริ่มเข้าสู่สมดุุลก็หางานเข้าใส่ตัว เตรียนเปิดโครงการ 2 โครงการ


Saturday school ผอ. ให้ไฟเขียวมาแล้วเหลือแค่ส่งเอกสาร แต่วันนี้หนีงานราษไม่รู้ผอ. จะโกรธไหม :D


พอเถอะเขียนมากแล้วเพ้อ ดึกคิดอะไรไม่ออกแล้ว = =


Monday, December 14, 2015

TFT diary day 28: DO WHAT THEY WANT/NEED, NOT WE THINK.

Go Go Saturday School
ใกล้จะได้เวลาเริ่มโครงการแรกแล้ว อาจจะไม่ใช้โครงการที่ริเริ่มเอง แต่เชื่อว่านักเรียนจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาลแน่นอน Saturday school โรงเรียนวันเสาร์ ที่ครูยีราฟริเริ่มขึ้นเพราะเลงเห็นว่า คนส่วนใหญ่อยากมีส่วนช่วยการศึกษาแต่ไม่สามารถที่จะลงมาทำงานเต็มเวลาได้ และไม่รู้จะไปช่วยอาสาสอนได้ที่ไหน ทั้งที่ความต้องการเรียนนั้นมีเยอะมาก

ผมเคยไปคุยกับผอ. อยู่ครั้งหนึ่งตอนก่อนจะเข้าไปสอนในโรงเรียน ผอ.ต้องการข้อมูลยืนยันกับนักเรียนว่าจะมีคนมาเรียนจริงๆ และเมื่อสัปดาห์ที่แล้วศึกษานิเทศน์ของโรงเรียนก็เข้ามาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการ ว่าเราควรจะเรียนรู้ชุมชนหรือนักเรียนก่อนที่จะเข้าไปให้อะไรกับพวกเขา
ในความเป็นจริงแล้วโรงเรียนกทม. มีงบประมาณมาลงเยอะมาก ทั้งสื่อ หนังสือ อุปกรณ์การเรียน ซึ่งบางอย่างก็จำเป็นกับนักเรียนและบางอย่างก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้งาน ปัญหาด้านความสิ้นเปลืองเหล่านี้เกิดขึ้นจากการไม่ "รู้เขา" นั้นเอง
เป็นเรื่องดีที่ผอ. ได้หยุดผมไว้ก้าวหนึ่งก่อนเพื่อได้มีเวลาศึกษาผู้เรียน จากข้อมูลการสำรวจความสนใจ มีข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจเหมือนกัน

ผลสำรวจพบว่ามีนักเรียนร้อยละ 80 ต้องการมา Saturday school

ผลสำรวจเป็นความสนใจที่แตกต่างกันของนักเรียน ม.1 และ ม.2 อย่างชัดเจน ความสนใจรวมสูงสุดคือทำขนม :D

โปรเจคจับนักเรียนมาเล่นเกม RPG เพื่อพัฒนาการบวก ลบ คูณ หาร ยังไม่ได้เริ่ม ตอนนี้ให้เกมเมอร์มาทดสอบเกมอยู่ วันนี้เรื่องการสอนเละเทะมาก 55555 เลยเริ่มคิดว่าตัวเองควรจะเริ่มสร้างมาตรฐานอะไรบางอย่างเพื่อมาคอยทบทวนตนเองทุกครั้งก่อนและหลังสอน

Wednesday, December 9, 2015

TFT journey day 27: Engagement activity 1


หลังจากที่ไม่ได้ใช้ จอทีวีกับโปรเจคเตอร์ในห้องมานาน เลทเชอร์อย่างเดียวเพราะกลัวจะสอนนักเรียนไม่ทัน เมื่อวานไม่รู้คึกอะไรนั่งทำเกมให้เด็กเล่น เหมือนมัน Blink ขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ได้พยายามคิดเลย เพียงนำประสบการณ์มาปะติดปะต่อไปเรื่อยๆ

เกมวันนี้คือ Quick Quiz นักเรียนทุกคนคือผู้เข้าร่วมการแข่งขันนี้ อุปกรณ์ที่ทุกคนต้องมีคือ หนังสือคณิต สมุด และปากกาหรือดินสอ

เมื่อมีคำถามขึ้นมาผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 5 วินาทีในการคิดคำตอบ
  1. หากต้องการตอบ 1 ให้ชูหนังสือขึ้นมาหนือศีรษะ
  2. หากต้องการตอบ 2 ให้ชูสมุดขึ้นมาเหนือศีรษะ
  3. หากต้องการตอบ 3 ให้ชูปากกาหรือดินสอขึ้นมาเหนือศีรษะ



การจะทำให้นักเรียนเข้าใขกิจกรรมได้ดีที่สุดคือให้พวกเขาได้ทดลองเล่นดู คำถามทดลองใช้เป็นคำถามตลกๆ ที่เดาว่านักเรียนจะตอบผิด 5555

โอเคหลังจากทุกคนเข้าใจเกมดีแล้ว ก็เริ่มกันเลย พิธีกรต้องมีการบรรยายเพื่อเพิ่มความตื่นเต้น
สิ่งที่ถามเป็นสิ่งที่นักเรียนเรียนผ่านมาแล้ว ใช้เวลาคิดไม่นานนัก ก็มีนักเรียนแอบดูกันบ้าง เราก็รีบเร่งให้เขายกคำตอบขึ้นมา

นักเรียนแต่ละห้องมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป คำถามที่ต้องการไหวพริบ เด็กที่เก่งอาจจะสู้ไม่ได้ นักเรียนบางห้องเฮเสียงดังมากเวลาตอบถูก :)
ถ้านักเรียนเริ่มคุมไม่อยู่อาจจะใช้รหัสปรบมือช่วย ควบคุมนิสนึง
กิจกรรมมันดีมากในการทวนความรู้ให้นักเรียน ตอนก่อนเริ่มเรียน แต่ปัญหาตอนนี้คือกการเชื่อมไปสู่เนื้อหาของคาบนี้

ห้องเรียนที่มีนักเรียนนั่งกันแน่นเกือบ 50 คนที่ดูเหมือนจะทำกิจกรรมอะไรไม่ได้ก็เริ่มมีความหวังขึ้นมา
แต่ท้ายสุดแล้วสิ่งที่ยังคงเป็นห่วงนักเรียนในตอนนี้อยู่คือพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่ไม่แน่นพอ


เทคนิคที่เริ่มใช้วันนี้คือการจับเวลาให้นักเรียนเห็นเลย ว่าพวกเขาใช้เวลากับการเตรียมตัวก่อนเริ่มเรียนนานแค่ไหนกัน ใช้จับเวลาตอนทำแบบฝึกหัดด้วย ก็เห็นผลบ้างเล็กน้อย ส่วน Random Number มีไว้สุ่มนักเรียนมาสรุปบทเรียนรายวัน


จบวันด้วยการที่มีนักเรียนมาก่อกวนในห้องวิทย์ เราก็นั่งเขียนแผนการสอนอยู่ เด็กมันก็เล่นเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ด้วยภาษาอีสานด่ากันไปด่ากันมา แล้วถามว่าครูรำคาญไหม แล้วก็เล่นกันต่อโอ๊ย อย่าให้ได้สอนนะปีหน้า = =

ตอนนี้กำลังดิ้นรนกับการหาทางออกกำลังกายให้ได้ 3 ครั้งต่อสัปดาห์อยู่สู่ต่อไป \^0^/

Friday, December 4, 2015

SETTING PRIORITIES (การจัดลำดับความสำคัญของงาน)



กฎ 80:20 เนื้องานเพียง 20% ส่งผลต่อผล 80% ส่วนงาน 80% ให้ผลเพียง 20%

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีเวลาที่จำกัด ในขณะที่ปริมาณของงานดูเหมือนจะมีไม่สิ้นสุด การเลือกทำในงานที่สร้างผลกระทบก่อนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ตอนนี้ผมยึดหลักในการทำงานโดยแบ่งงานเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ABCD
  1. A คืองาน เร่งด่วนและสำคัญ หาคนมาทำแทนเราไม่ได้ จะเกิดผลเสียตามมาหากเราไม่ลงมือจัดการงานประเภทนี้ เปรียบได้กับ ก้อนหิน
  2. B คืองาน ไม่เร่งด่วนแต่สำคัญ หาคนมาทำแทนเราไม่ได้ จะเกิดผลเสียหรือเสียโอกาสเพียงเล็กน้อยหากไม่ลงมือทำ เปรียบได้กับ ก้อนกรวด
  3. C คืองาน เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ บางครั้งหาคนมาทำแทนเราได้ เปรียบได้กับ ทราย
  4. D คืองาน ไม่เร่งด่วนและไม่สำคัญ บางครั้งหาคนมาทำงานแทนเราได้ เปรียบได้กับ น้ำ


ผมเข้าใจว่าการใช้วิธีเปรียบเทียบงานทั้ง 4 ประเภทเป็น หิน กรวด ทราย น้ำ มีที่มาจากปรัชญาของคนจีน หากเราทำงานที่เป็นน้ำหรือทรายก่อน ก้อนหินและก้อนกรวด เราก็จะไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับการทำงานที่สำคัญ อย่างก้อนหินและก้อนกรวด


ผมก็มานั่งนึกต่อไปว่าทำไมเขาถึงต้องเปรียบเทียบงานกับหิน กรวด ทรายด้วย ก็ได้ความว่า งานที่สำคัญ นั้นมักจะเป็นงานที่ยากและเราไม่อยากทำ ต้องใช้สมาธิจดจ่อเป็นเวลานาน

ในสังคมยุคปัจจุบันที่คนเราถูกรบกวนจากสังคมโซเชียลได้ง่ายมาก สมาธิของเราเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นมาก เราทำงานหลายอย่างพร้อมๆกัน ผลสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้งานซักอย่างหนึ่ง

ถ้าใครเคยอ่าน Eat That Frog! ของ Brian Tracy เขาจะแบ่งเพิ่มขึ้นมาอีกหมวดหนึ่งคือ E คือ Eliminate คือกำจัดงานประเภทนี้ซะ เพื่อเราจะได้มีเวลาเพิ่มมากขึ้นไปทำอย่างอื่น

ผมพยายามหาเครื่องมือที่เหมาะกับการจัดระบบระเบียบงาน จนแล้วจนรอดผมพบว่าใช้ Excel เนี่ยหละดีสุดแล้ว เราไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้วิธีการใช้โปรแกรม และเราสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของตนเอง มีสูตรพร้อมในการทำสรุปผลต่างๆ

บทความโดย: Teacher Jak