Tuesday, January 12, 2016

TFT diary day 45: Contrast



[M.3/1] I taught them about Average, Mode, Median by using data which they collected by themselves. I tried to tell them that it has many jobs which you haven't ever thought. I gave them two questions, How does Facebook earn money? and How does Google earn money?. Students said "Maybe telecom company feed them" "From number of LIKE" "From internet time service". Those answers make me sure that they didn't know. (Hahaha really fun with creative answer)


This activity, everyone can engage and joy, if you give them some relevant question to their life.


[M.1/2] I tried to teach them about Ordered Pairs through Battleship game. It's really work for boys, but fail for girls. All students can't engage this game.

I ready for a next project. :D

Wednesday, January 6, 2016

TFT diary day 41: Sport day(Just find something to fulfill my day)


     วันกีฬาสี หนึ่งในวันที่อยู่ในประสบการณ์ในวัยเด็กของหลายๆคน ผมเป็นครูที่ดูแลพาเลทของสีส้ม ช่วยนักเรียนทำน้อยสุดแล้ว ปล่อยให้นักเรียนคิดเองทำเอง ครูมีหน้าที่ Support อย่างเดียว เพราะไม่รู้ว่าที่ผ่านมาครูจะคิดให้ตลอดและสั่งนักเรียนทำ เริ่มแรกก็มีปัญหาติดเครื่องนักเรียนให้คิดและลงมือทำนิดหน่อย แต่สุดท้ายก็ได้พาเลทที่ออกมาจากความคิดของนักเรียนจริงๆ งานเกิดและครูไม่เหนื่อย ดีงามที่สุดแล้ว :)


     หลายครั้งที่เราเจอปัญหาเรามักจะเครียดและจมอยู่กับปัญหานั้นๆ แต่ถ้าเรามีสติแล้วถอยออกมาดูซักก้าวหนึ่ง ปัญหาต่างๆที่เข้ามามีความหน้าสนใจแตกต่างกันไป ทำให้เกิดการเรียนรู้และความสนุกในการทำงานมากขึ้น ช่วงเตรียมงานก็จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย เช่นเพื่อนไม่ทำงานของตนเองเวลาอยู่ในกลุ่มซึ่งผมก็เห็นและคอยสังเกตต่อไป(ที่ไม่ต่อว่าเพราะผมเรียนรู้ว่าคนเราแตกต่างกัน) เด็กคนนี้ก็ของานกลับไปทำที่บ้านสองครั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นก็คืองานที่กลับมานั้นผมเห็นถึงความทุ้มเทเอาใจใส่มาก และผมรู้เลยว่าเขาทำงานเมื่ออยู่คนเดียวออกมาได้ดี มีความรับผิดชอบ...เพราะฉะนั้นอย่าตัดสินใครเพราะแค่

     ย้อนกลับไปเมื่อวานมีงานตักบาตร ผมจำได้เลยพระมีอยู่ 8 รูปเชิญท่านมาจากวัดเกาะสุวรรณารามใกล้ๆโรงเรียน แปดรูปกับนักเรียนเป็นพันคนของเป็นพันๆชิ้น
     ผมก็เตรียมของผมมาเหมือนกันแต่เห็นประชากรที่ต้องการทำบุญแล้ว ผมเลยตัดสินใจไม่ทำบุญในบาตร เอามาโยนลงที่ปลายทางเลยน่าจะง่ายและเร็วกว่า ถ้าคนเถ้าคนแก่มาเห็น ผมคงโดนดุเป็นแน่แท่ การกระทำใดมีเหตุผลรองรับถือว่ารับได้(พูดเข้าข้างตัวเอง 555)
     ผลของความศรัทธาก็เป็นไปตามรูปแยกของกันมันส์มือเลยทีนี้

     กีฬาสีคงไม่เหมาะกับผมเท่าไหร่ เสียงก็ไม่มีไปช่วยตะโกน จะไปเต้นก็ไม่เข้าท่าเลยไปลุยกับโครงการของตัวเองต่อ Saturday school กับโครงการเพาะเลี้ยงไส้เดือน

     กำลังหาวัสดุทำที่เพาะเลี้ยงไส้เดือน พอดีงบน้อยเลยต้องไปรื้อขยะคุณภาพดีของโรงเรียนมาทำ

     ไปได้ฝาชีมาจากโรงอาหารเขาบอกไม่ได้ใช่แล้วเอามาได้เลย ไปเจอชั้นวางของที่ธนาคารขยะเหล็กอย่างดีน่าจะหนักหลายกิโลอยู่ จะเอามาเจาะแล้ววางทาดเลี้ยงไส้เดือน รื้อต่อไปเจอเชือกคุณภาพดีอย่างหนาเดี๋ยวจะเอามาขึงทำแนว

     กลับออกมาก็นั่งออกแบบคำนวณว่าจะขนยังไงก็นึกขึ้นได้ว่าจะต้องมีที่กันแสงให้ไส้เดือนด้วย เลยกลับไปขุดใหม่ก็ได้แผ่นไวนิลเลอะฝุ่นแผ่นใหญ่มาแผ่นนึง เอามาล้างน้ำนิดหน่อยงามเลยทีเดียว

     สัปดาห์หน้าเครียมสว่าน ค้อนกับเลื่อยจิ๊กซอมาดูสิว่าหน้าตาจะออกมาเป็นยังไงบ้าง รื้อๆพังๆเดี๋ยวก็ได้งานเอง

Sunday, January 3, 2016

[บทสรุป 1] 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn

     หนังสือเล่นมนี้ผมซื้อตอนผมอยู่ปี 3 ช่วงนั้นอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง ตอนนั้นตั้งใจไปซื้อหนังสือ Justice ที่มีขายอยู่ในสำนักพิมพ์ Open world และสะดุดตากับหนังสือเล่มนี้ หลังจากที่ซื้อมาตอนนั้นแล้วอ่านไปทีเดียวก็ไม่ได้อ่านอีกเลย อ่านโดยที่รู้สึกว่าหนังสืออะไรห่วยมาก! เลยไม่น่าเชื่อว่าผ่านไปอีกแค่ 2 ปีผมกลับมาอ่านใหม่ในฐานะที่ต้องเข้าใจการปฏิรูปการศึกษา หนังสือเล่มนี้กลับกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นขึ้นมา

     บทสรุปต่อไปนี้ผมอาจจะไม่ได้นำมาทุกบท แต่จะดึงมาเฉพาะส่วนที่รู้สึกว่าน่าสนใจ เป็น Concept ผมจะไม่เลือกเนื้อหาที่กว้างเกินไปจนจับประเด็นไม่ได้ หรือแคบเกินไปจนยากที่จะนำไปใช้ ผมหวังว่าบทสรุปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนของตนเอง บุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษาที่ต้องการรู้ถึงรูปแบบการศึกษาที่ควรจะเป็น และนักทรัพยากรบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการมองหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งในศตวรรษที่ 21 นี้

     บทนำ ทำไมเราต้องมาใส่ใจกับเรื่องทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 ด้วย? เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป และเร็วกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ทำให้องค์ความรู้เกิดขึ้นมากมายและสามารถที่จะเข้าถึงได้ ความร่วมมือกันกับคนอีกซีกหนึ่งของโลกไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมเปลี่ยน แรงงานที่ทำงานแบบซ้ำซากจะถูกเข้ามาแทนที่ด้วยแรงงานที่ถูกกว่าหรือหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดและการขอขึ้นเงินเดือน แต่ในคณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เป็นผลดีกับพนักงานที่มีทักษะขั้นสูง เปิดโอกาสสู่การสร้างสรรค์ใหม่ๆและการเรียนรู้

     ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่พวกเราหนีไม่พ้นนี้ ลูกหลานของพวกเรายังคงอยู่ในระบบการศึกษาแบบเดิน (ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าไม่ดี) ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษใหม่นี้ สำคัญต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน บริษัทต่างๆเริ่มแสดงสัญญาณมาว่าพวกเขาไม่ได้รับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความสามารถที่พวกเขาต้องการ เมื่อมองไปที่ภาพที่ใหญ่ขึ้นปัญหาปัญหาด้านการศึกษา กำลังบ่อนทำลายศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

     ทักษะที่จำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน รู้จักคิด, เรียนรู้, ทำงาน, แก้ปัญหา, สื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ในหลักสูตรของประเทศมองว่าเป็นทักษะเหล่านี้ "ถ้ามีก็ดี" มากกว่า "จำเป็นต้องมี" ทักษะเหล่านี้จำเป็นต้องมีในทุกคนในองค์กร เนื่องมาจากการบริหารที่เริ่มเปลี่ยนจากจากรูปปิระมิดสูง ค่อยๆแบนราบขึ้น ผู้ที่คิดแก้ปัญหาไม่ได้มีเพียงผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และพนักงานไม่ได้มีหน้าที่แค่ทำตามคำสั่งอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะการแข่งขันในโลกใหม่ต้องการเทคโนโลยี ความยืดหยุ่นและการกระจายความรับผิดชอบ เพื่อยกระดับการผลิตและนวัตกรรม

     บทที่ 1 จิตห้าลักษณะสำหรับอนาคต โดยเฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ บทนี้จะให้กรอบความคิดให้เราคิดนึงถึง ผมอ่านตรงนี้อยู่หลายครั้ง เพราะผมต้องการจะกำหนดวิสัยทัศน์ทางการศึกษาเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในบทนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่นามธรรมซักเล็กน้อย

     จิตเชี่ยวชาญ(Disciplined Mind) การ์ดเนอร์เล่าว่ายุคนี้ ผู้ที่มีความชำนาญสาขาเดียวไม่อาจจะลำพองใจได้อีกต่อไป แต่ก่อนเราใช้เวลาเป็น 10 ปีเพื่อที่จะถูกเรียนว่ามีความชำนาญในสาขานั้น แต่ปัจจุบันเราอาจจะใช้เวลาน้อยลงกว่าครึ่งและความรู้ในแต่ละสาขาไม่ได้หยุดนิ่ง จะต้องมีการติดตามเพื่อที่จะไม่ตกยุค ความเชี่ยวชาญมากกว่าหนึ่งสาขากลายเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับความเชี่ยวชาญ คือคุณอาจจะใช้กรอบความคิดเดิมจากความเชี่ยวชาญ ในการแก้ไขปัญหาทุกปัญหาที่เข้ามา หรือคุณอาจจะติดกับความเชี่ยวชาญโดยไม่ศึกษาเพิ่มเติมต่อแล้ว

     จิตรู้สังเคราะห์ (Synthesizing Mind) คือความสามารถในการแยกแยะว่าสิ่งไหนควรค่าแก่ความสนใจ จากการสำรวจหลายแหล่งข้อมูล และนำสิ่งเหล่านั้นมาผสมผสานในรูปแบบเหตุผลของตนเอง แต่การจะตัดสินหรือสังเคราะห์องค์ความรู้ได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการตัดสินใจเช่นกัน

     จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) คำสำคัญในเรื่องนี้คือ "นวัตกรรม" หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นที่ต้องการของสังคม ดังนั้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เช่นการเพิ่มข้อความที่ไร้ความหมายลงในบทความนี้ จึงไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรม แต่นวัตกรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเหมือนการสร้าง iPhone อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆอย่างการคิดค้นหูหิ้วแก้วน้ำพลาสติกที่จะใส่เพิ่มให้กับลูกค้า เพื่อไม่ให้มือเย็นหรือน้ำแข็งละลายเมื่อใช้มือถือแก้วน้ำ คุณพ่อของผมมักจะบอกเสมอว่า เป็นผู้นำให้ได้อย่างสตีฟ จ็อบส์ จงสร้างสรรค์สิ่งต่างๆให้ผู้อื่นต้องยอมเดินตามเรา

     จิตเคารพ (Respectful Mind) ตั้งแต่วัยแรกเกิดเราสามารถแยกแยะความแตกต่างของบุคคล หากใครแยกต่างจากความคุ้นชินของเรา เราจะต่อต้านพวกเขาเหล่านั้น อดีตคนหนึ่งคนอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนไม่กี่ร้อยคนปัญหาความคัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างนั้นจึงมีไม่มาก แต่ปัจจุบันนั้นเราต้องรักษาความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งไม่มีหนทางใดที่จะรวดเร็วไปกว่าการให้ความเคารพกันอย่างแท้จริง

     จิตรู้จริยธรรม (Ethical Mind) จริยธรรมเป็นมาตรฐานขั้นสูงที่ยากจะเข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นข่าว การขโมยหรือการฉ้อโกง นักข่าวตีแผ่ในสิ่งที่ตนเองก็รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นเท็จ การสร้างแนวคิดเรื่องจริยธรรมในเด็กนั้นทำได้ยาก มันเกินความสามารถในการเข้าใจของพวกเขา แต่สิ่งที่ทำได้นั้นเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเด็กในสังคม เพื่อที่พวกเขาจะได้ซึมซับไปเป็นพฤติกรรมที่มีจริยธรรมโดยที่พวกเขาไม่เข้าใจด้วยซ้ำ เรื่องนี้ทำให้ผมเห็นชัดเจนมากขึ้น โครงการโตไปไม่โกง ของกทม. จะไม่มีทางสำเร็จเลยถ้าผู้ใหญ่ในสังคมยังคงประพฤติที่ขัดจริยธรรมอยู่

     บทที่ 5 วิสัยทัศน์ของสิงคโปร์: สอนให้น้อยลงเรียนรู้ให้มากขึ้น Teach less, Learn more ถ้าตีความตามตัวอักษรแล้วครูหรืออาจารย์หลายท่านอาจจะตกใจ เพราะแค่เวลาสอนที่มีตอนนี้ก็จะไม่ทันแล้ว และนักเรียนอาจจะดีใจที่ได้เรียนน้อยลง
     มันเป็นจริงตามที่เราเข้าใจหรือไม่? แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เรายังคงใช้เวลาเรียนและการสอนเท่าเดิม หากแต่นักเรียนคือผู้ที่เข้ามามีบทบาทในการกำหนดเนื้อหาที่พวกเขาสนใจหรือสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเอง (Student center) โดยครูมีหน้าที่แนะนำช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกต่างๆ (Facilitator)
     ทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น? โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วย internet ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถ้าเราไม่เจาะจงเรื่องที่สนใจจริงๆ พวกเราก็ไม่อาจจะตามทันโลกได้ ความรู้ต่างๆล้าสมัยลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่สำคัญจึงไม่ใช่การจำตำราได้ แต่ทักษะ (Skills) ที่จำเป็นกลายเป็นเรื่องของการสื่อค้น ตีความ ประยุกค์และนำไปใช้เสียมากกว่า
     และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าคนในยุคนี้เป็นจำนวนมากที่ยังขาดทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ เพราโรงเรียนไม่ได้สอนอย่างจริงจัง ย้อนกลับไปที่ระบบก็ไม่ได้เอื้อให้โรงเรียนสอนทักษะเหล่านี้เช่นกัน
     นักเรียนพวกเขาใช้เทคโนโลยีตอนอยู่ที่บ้าน แต่เมื่ออยู่ในห้องเรียนเรากลับเน้นการเขียนเพื่อจดบันทึก มากกว่าการเขียนเพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
     ในบทนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ระดับประเทศลงไปสู่การปฏิบัติในแต่ละโรงเรียน หากใครสนใจไปตามอ่านในบทที่ 5 นี้ได้