Sunday, January 3, 2016

[บทสรุป 1] 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn

     หนังสือเล่นมนี้ผมซื้อตอนผมอยู่ปี 3 ช่วงนั้นอ่านหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยาและการพัฒนาตนเอง ตอนนั้นตั้งใจไปซื้อหนังสือ Justice ที่มีขายอยู่ในสำนักพิมพ์ Open world และสะดุดตากับหนังสือเล่มนี้ หลังจากที่ซื้อมาตอนนั้นแล้วอ่านไปทีเดียวก็ไม่ได้อ่านอีกเลย อ่านโดยที่รู้สึกว่าหนังสืออะไรห่วยมาก! เลยไม่น่าเชื่อว่าผ่านไปอีกแค่ 2 ปีผมกลับมาอ่านใหม่ในฐานะที่ต้องเข้าใจการปฏิรูปการศึกษา หนังสือเล่มนี้กลับกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นขึ้นมา

     บทสรุปต่อไปนี้ผมอาจจะไม่ได้นำมาทุกบท แต่จะดึงมาเฉพาะส่วนที่รู้สึกว่าน่าสนใจ เป็น Concept ผมจะไม่เลือกเนื้อหาที่กว้างเกินไปจนจับประเด็นไม่ได้ หรือแคบเกินไปจนยากที่จะนำไปใช้ ผมหวังว่าบทสรุปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครูที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนของตนเอง บุคลากรในมหาวิทยาลัย นิสิต นักศึกษาที่ต้องการรู้ถึงรูปแบบการศึกษาที่ควรจะเป็น และนักทรัพยากรบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการมองหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งในศตวรรษที่ 21 นี้

     บทนำ ทำไมเราต้องมาใส่ใจกับเรื่องทักษะใหม่ในศตวรรษที่ 21 ด้วย? เพราะโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไป และเร็วกว่าที่เคยเป็นมา ด้วยเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ทำให้องค์ความรู้เกิดขึ้นมากมายและสามารถที่จะเข้าถึงได้ ความร่วมมือกันกับคนอีกซีกหนึ่งของโลกไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป ส่งผลให้อุตสาหกรรมเปลี่ยน แรงงานที่ทำงานแบบซ้ำซากจะถูกเข้ามาแทนที่ด้วยแรงงานที่ถูกกว่าหรือหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุดและการขอขึ้นเงินเดือน แต่ในคณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงนี้ก็เป็นผลดีกับพนักงานที่มีทักษะขั้นสูง เปิดโอกาสสู่การสร้างสรรค์ใหม่ๆและการเรียนรู้

     ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่พวกเราหนีไม่พ้นนี้ ลูกหลานของพวกเรายังคงอยู่ในระบบการศึกษาแบบเดิน (ซึ่งผมไม่ได้บอกว่าไม่ดี) ที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อทักษะที่จำเป็นในศตวรรษใหม่นี้ สำคัญต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน บริษัทต่างๆเริ่มแสดงสัญญาณมาว่าพวกเขาไม่ได้รับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีความสามารถที่พวกเขาต้องการ เมื่อมองไปที่ภาพที่ใหญ่ขึ้นปัญหาปัญหาด้านการศึกษา กำลังบ่อนทำลายศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

     ทักษะที่จำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน รู้จักคิด, เรียนรู้, ทำงาน, แก้ปัญหา, สื่อสาร และการทำงานร่วมกัน ในหลักสูตรของประเทศมองว่าเป็นทักษะเหล่านี้ "ถ้ามีก็ดี" มากกว่า "จำเป็นต้องมี" ทักษะเหล่านี้จำเป็นต้องมีในทุกคนในองค์กร เนื่องมาจากการบริหารที่เริ่มเปลี่ยนจากจากรูปปิระมิดสูง ค่อยๆแบนราบขึ้น ผู้ที่คิดแก้ปัญหาไม่ได้มีเพียงผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และพนักงานไม่ได้มีหน้าที่แค่ทำตามคำสั่งอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะการแข่งขันในโลกใหม่ต้องการเทคโนโลยี ความยืดหยุ่นและการกระจายความรับผิดชอบ เพื่อยกระดับการผลิตและนวัตกรรม

     บทที่ 1 จิตห้าลักษณะสำหรับอนาคต โดยเฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ บทนี้จะให้กรอบความคิดให้เราคิดนึงถึง ผมอ่านตรงนี้อยู่หลายครั้ง เพราะผมต้องการจะกำหนดวิสัยทัศน์ทางการศึกษาเพื่อสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในบทนี้ค่อนข้างจะเป็นอะไรที่นามธรรมซักเล็กน้อย

     จิตเชี่ยวชาญ(Disciplined Mind) การ์ดเนอร์เล่าว่ายุคนี้ ผู้ที่มีความชำนาญสาขาเดียวไม่อาจจะลำพองใจได้อีกต่อไป แต่ก่อนเราใช้เวลาเป็น 10 ปีเพื่อที่จะถูกเรียนว่ามีความชำนาญในสาขานั้น แต่ปัจจุบันเราอาจจะใช้เวลาน้อยลงกว่าครึ่งและความรู้ในแต่ละสาขาไม่ได้หยุดนิ่ง จะต้องมีการติดตามเพื่อที่จะไม่ตกยุค ความเชี่ยวชาญมากกว่าหนึ่งสาขากลายเป็นที่ต้องการอย่างมาก แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับความเชี่ยวชาญ คือคุณอาจจะใช้กรอบความคิดเดิมจากความเชี่ยวชาญ ในการแก้ไขปัญหาทุกปัญหาที่เข้ามา หรือคุณอาจจะติดกับความเชี่ยวชาญโดยไม่ศึกษาเพิ่มเติมต่อแล้ว

     จิตรู้สังเคราะห์ (Synthesizing Mind) คือความสามารถในการแยกแยะว่าสิ่งไหนควรค่าแก่ความสนใจ จากการสำรวจหลายแหล่งข้อมูล และนำสิ่งเหล่านั้นมาผสมผสานในรูปแบบเหตุผลของตนเอง แต่การจะตัดสินหรือสังเคราะห์องค์ความรู้ได้นั้น เราจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็นในการตัดสินใจเช่นกัน

     จิตสร้างสรรค์ (Creating Mind) คำสำคัญในเรื่องนี้คือ "นวัตกรรม" หมายถึงการสร้างสิ่งใหม่ที่เป็นที่ต้องการของสังคม ดังนั้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เช่นการเพิ่มข้อความที่ไร้ความหมายลงในบทความนี้ จึงไม่เรียกว่าเป็นนวัตกรรม แต่นวัตกรรมก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ยากเหมือนการสร้าง iPhone อาจจะเป็นเรื่องง่ายๆอย่างการคิดค้นหูหิ้วแก้วน้ำพลาสติกที่จะใส่เพิ่มให้กับลูกค้า เพื่อไม่ให้มือเย็นหรือน้ำแข็งละลายเมื่อใช้มือถือแก้วน้ำ คุณพ่อของผมมักจะบอกเสมอว่า เป็นผู้นำให้ได้อย่างสตีฟ จ็อบส์ จงสร้างสรรค์สิ่งต่างๆให้ผู้อื่นต้องยอมเดินตามเรา

     จิตเคารพ (Respectful Mind) ตั้งแต่วัยแรกเกิดเราสามารถแยกแยะความแตกต่างของบุคคล หากใครแยกต่างจากความคุ้นชินของเรา เราจะต่อต้านพวกเขาเหล่านั้น อดีตคนหนึ่งคนอาจจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนไม่กี่ร้อยคนปัญหาความคัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างนั้นจึงมีไม่มาก แต่ปัจจุบันนั้นเราต้องรักษาความสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งไม่มีหนทางใดที่จะรวดเร็วไปกว่าการให้ความเคารพกันอย่างแท้จริง

     จิตรู้จริยธรรม (Ethical Mind) จริยธรรมเป็นมาตรฐานขั้นสูงที่ยากจะเข้าใจ จึงไม่แปลกใจที่เราจะเห็นข่าว การขโมยหรือการฉ้อโกง นักข่าวตีแผ่ในสิ่งที่ตนเองก็รู้อยู่แล้วว่ามันเป็นเท็จ การสร้างแนวคิดเรื่องจริยธรรมในเด็กนั้นทำได้ยาก มันเกินความสามารถในการเข้าใจของพวกเขา แต่สิ่งที่ทำได้นั้นเราสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเด็กในสังคม เพื่อที่พวกเขาจะได้ซึมซับไปเป็นพฤติกรรมที่มีจริยธรรมโดยที่พวกเขาไม่เข้าใจด้วยซ้ำ เรื่องนี้ทำให้ผมเห็นชัดเจนมากขึ้น โครงการโตไปไม่โกง ของกทม. จะไม่มีทางสำเร็จเลยถ้าผู้ใหญ่ในสังคมยังคงประพฤติที่ขัดจริยธรรมอยู่

     บทที่ 5 วิสัยทัศน์ของสิงคโปร์: สอนให้น้อยลงเรียนรู้ให้มากขึ้น Teach less, Learn more ถ้าตีความตามตัวอักษรแล้วครูหรืออาจารย์หลายท่านอาจจะตกใจ เพราะแค่เวลาสอนที่มีตอนนี้ก็จะไม่ทันแล้ว และนักเรียนอาจจะดีใจที่ได้เรียนน้อยลง
     มันเป็นจริงตามที่เราเข้าใจหรือไม่? แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น เรายังคงใช้เวลาเรียนและการสอนเท่าเดิม หากแต่นักเรียนคือผู้ที่เข้ามามีบทบาทในการกำหนดเนื้อหาที่พวกเขาสนใจหรือสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเอง (Student center) โดยครูมีหน้าที่แนะนำช่วยเหลือ อำนวยความสะดวกต่างๆ (Facilitator)
     ทำไมถึงต้องทำเช่นนั้น? โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่า เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วย internet ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถ้าเราไม่เจาะจงเรื่องที่สนใจจริงๆ พวกเราก็ไม่อาจจะตามทันโลกได้ ความรู้ต่างๆล้าสมัยลงไปอย่างรวดเร็ว ทักษะที่สำคัญจึงไม่ใช่การจำตำราได้ แต่ทักษะ (Skills) ที่จำเป็นกลายเป็นเรื่องของการสื่อค้น ตีความ ประยุกค์และนำไปใช้เสียมากกว่า
     และเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าคนในยุคนี้เป็นจำนวนมากที่ยังขาดทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ เพราโรงเรียนไม่ได้สอนอย่างจริงจัง ย้อนกลับไปที่ระบบก็ไม่ได้เอื้อให้โรงเรียนสอนทักษะเหล่านี้เช่นกัน
     นักเรียนพวกเขาใช้เทคโนโลยีตอนอยู่ที่บ้าน แต่เมื่ออยู่ในห้องเรียนเรากลับเน้นการเขียนเพื่อจดบันทึก มากกว่าการเขียนเพื่อสร้างความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
     ในบทนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความชัดเจนของวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่ระดับประเทศลงไปสู่การปฏิบัติในแต่ละโรงเรียน หากใครสนใจไปตามอ่านในบทที่ 5 นี้ได้

2 comments:

  1. Thanks for such a valuable and informative platform I find here. I am regular to read publication of this blog and definitely waiting for more articles.
    หนังสือนิยายวาย แนะนํา

    ReplyDelete
  2. Thank you, I didn't write something for long time. Hopefully, I will continue writing a blog every week.

    ReplyDelete