เชียงรายวันที่ 2
เมื่อคืนก่อนผมตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 6 โมงเช้า เพื่อที่จะอาบน้ำและไปกินข้าวให้ทัน แต่สิ่งที่ผิดพลาดก็คือผมตั้งเพลงผิด ปกติจะเป็นเพลงเสียงดังหนวกดู เพื่อทำให้เราตื่นขึ้น แต่ครั้งนี้เป็นเสียงธรรมชาติ สายน้ำ ลมพัดและเสียงนก แต่น่าแปลกว่าวันนี้ผมตื่นขึ้น พร้อมความสงสัยว่าสิ่งมหัศจรรย์ในวันนี้จะเป็นอะไร หรือไม่ก็ผมคงอยากตื่นขึ้นมาดูพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า
การปลูกป่าในพื้นที่จากเดิมเคยแห้งแล้ง จากการทำไร่เลื่อนลอย เผาหญ้า จนกลับมาเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์นั้นไม่ง่ายเลย แต่ที่ยากกว่าคือจะทำยังไงให้ยั่งยืน พร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาใหม่ๆ สมเด็จย่าทรงเล็งเห็นว่า ถึงแม้เราจะปลูกป่าไป แต่ถ้าคนในท้องที่ไม่ช่วยกันรักษา ทุกอย่างก็จะกลับไปเป็นอย่างเดิม
สิ่งที่น่าประทับใจในช่วงเช้าสำหรับผม คงเป็นเรื่องการให้ความสำคัญกับ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน"
ทางมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงก็ให้แนวคิด ลำดับขั้นในการพัฒนาไว้ดังนี้
คน >>> เศรษฐกิจ >>> สังคม >>> สิ่งแวดล้อม
จะเห็นได้ว่า "คน" คือจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่สำคัญที่สุด และเพราะคนที่ไม่มีความรู้อีกเช่นกัน ที่จะทำให้ทุกอย่างสูญสิ้นไป ทำไร่ 20 ไร่ เผา 20 ไร่แต่ลามไปเป็น 100 ไร่ ก็เพราะพวกเขาขาดความรู้
ช่วยเขาให้ช่วยเหลือตัวเองได้ ชุมชนก็จะมั่นคง และกลุ่มคนเหล่านี้ก็จะไปช่วยเหลือคนอื่นต่อ คนกับธรรมชาติจึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน มีคนเคยถามสมเด็จย่าว่า ท่านจะลำบากไปทำไม ท่านตอบกลับง่ายๆว่า "คนเดือดร้อน ถ้าเขาเป็นคน เราควรช่วยเขา"
เจาะลึกลงที่คน เราแก้ไขปัญหา 3 ด้านด้วยกัน คือ
ความเจ็บป่วย >>> ความจน >>> ความไม่รู้ (การศึกษานอกห้องเรียน)
[อยู่รอด >>> อยู่อย่างพอเพียง >>> อยู่อย่างยั่งยืน]
ถ้าพวกเขาป่วยเขาก็ทำงานไม่ได้ ถ้าพวกเขายังคงต้องดิ้นรนเลี้ยงปากท้อง ก็ไม่มีใครอยากไปหาความรู้
คนดอยตุงไม่ได้เริ่มจาก 0 แต่พวกเขาเริ่มจากติดลบ เพราะเรื่องของยาเสพติด
ดอยตุงแห่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งประเทศ ในประเทศไทยก็ยังคงมีปัญหาอีกมาก ผมอยากให้ทุกคนมาแข่งขันกับธุรกิจเพื่อสังคมกันมากขึ้น ทุกวันนี้ผมแยกไม่ออกแล้วว่าบริษัททำ CSR หรือ Marketing กันแน่ เรื่องนี้ก็น่าคิดและผมยังหาคำตอบดีๆไม่ได้
ตัวอย่างการสร้างคนด้วยธุรกิจเพื่อสังคมของดอยตุง
โรงเรียนทอผ้า >>> ทอผ้า (ขายได้) >>> ทอแบบยากขึ้น (รายได้เพิ่ม) >>> มีกำไร
>>> หานักเรียนไปเรียนเพิ่ม >>> โรงเรียนทอผ้า
พี่วิทยากรก็เล่าต่อว่าภาพความคิดที่สวยงามแบบนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นทันที ความร่วมมือเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ถึงตรงนี้มีประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยความร่วมมืออยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน
อย่างแรก คือ ความคิดที่จะเข้าไปช่วยเหลือและรีบถอนตัวให้เร็วที่สุด โดยคนในท้องที่ยังคงอยู่ได้ ซึ่งจะทำได้ความร่วมมือของคนในท้องที่จะต้องมา ในวันแรกที่โครงการเริ่มต้นขึ้น
อย่างที่สอง คือ เป็นครั้งแรกที่บังคับให้มีความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทุกคนจะต้องลงพื้นที่แก้ไขปัญหาไปพร้อมกันหมด เวลาคนเรามีภาพที่ต่างกัน คุยยังไงก็ไม่ไปในทางเดียวกัน
แล้วทำอย่างไรคนในดอยตุงถึงเข้ามาร่วมมือกันได้? มันเริ่มด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา(ทั้งสามขั้นตอนไม่จำเป็นที่จะต้องเรียงกัน)
เข้าใจสาเหตุของปัญหา >>> เห็นประโยชน์ของการแก้ >>> อยาก
[ทำให้ดู >>> ทำด้วยกัน (สำเร็จจริง)>>> มั่นใจ]
เข้าใจสาเหตุของปัญหา จากการพูดคุยหาที่มาของปัญหา เช่น หนี้มาจากไหน? น้ำเพียงพอหรือเปล่า? เพาะปลูกได้ไหม? รายได้พอไหม? หลังจากนั้นเราก็เข้าไปทำให้ดู เพื่อบอกเขาว่ามันเป็นไปได้
เห็นประโยชน์ของการแก้ปัญหา โดยการลงพื้นที่ไปด้วยกัน อธิบายแบบให้เด็ก ป.4 เข้าใจง่ายๆ และลงมือทำด้วยกัน เพื่อบอกว่าเขาก็ทำได้เช่นกัน
และความอยากของคนในท้องที่จะกลายเป็นความมั่นใจ
จบไปแล้วกับช่วงแรกเนื้อหาแน่นมาก หยุดพักอ่านได้ตรงนี้ ต่อไปจะเป็นหัวข้อของ Theory of Problemและ Theory of Change
Theory of Problem
ผลสำรวจ PISA (2012) เด็กไทยอายุ 15 ปี รายงานว่า
33% วิทย์ไม่ถึงพื้นฐาน 50% คณิตศาสตร์ไม่ถึงระดับพื้นฐาน 33% การอ่านจับใจความ
(ขอขยายเล็กน้อย คณิตศาสตร์ไม่ถึงมาตรฐาน บงชี้ว่าเด็กกลุ่มนี้อาจถูกโกงได้ ในการซื้อของ การอ่านจับใจความ จะส่งผลต่อการซื้อยา ใช้ยาผิดประเภท)
ตัวเลขนี้อาจจะไม่เยอะ เราลองมาดูสถิติตัวต่อไปกัน
สถิติอันนี้ผมไม่แน่ใจว่ามาจากไหน แต่อยากให้ลองดูและวิเคราะห์ว่าเราเห็นข้อมูลอะไร จากสถิติตัวนี้บ้าง จุดแต่ละจุแทนสถานะของครอบครัวของเด็ก แบ่งเป็นเป็น 10 ช่วง สีฟ้าคือดีมากและสีดำคือแย่มาก แกนตั้งที่มีตัวเลข แสดงคะแนนของเด็ก...ให้เวลาคิด 24 วินาที
สำหรับผมบอกตามตรงสิ่งที่เห็นคือประเทศไทย ต่ำกว่าที่เหลือทั้งหมด แต่ประเด็นสำคัญคือความเหลื่อมล้ำในสังคม จะเห็นได้ว่าเด็ก 10 - 20% ของประเทศที่มีฐานะทางสังคมดีกว่า จะได้รับการศึกษาที่ดีกว่า คนที่เหลือถึง 2.5 ชั้นปี (ช่วงคะแนน 1 ช่วงคือ 1 ชั้นปี)
หลังจากเกริ่นนำ พี่ก็ให้พวกเราทำ OCS ระดมความคิดกันว่าเราคิดว่ารากของปัญหามันคืออะไร
และจบลงที่ Theory of Change ในฐานะ Fellow (คนที่เข้าไปทำการสอน) และ อนาคต Alumni เราจะไปสร้าง Impact อะไรให้กับสังคมและปัญหาการศึกษาในด้านไหน
ช่วงบ่ายผมได้คำถามสำคัญสองคำถาม
Defining moment และ What is your Hero? เราลองถามคำถามนี้กับตัวเอง ผลที่จะได้ออกมาคือ
Defining moment จะบอกว่าตอนนี้เราอยู่ตรงไหน
What is your Hero? จะบอกว่าปลายทางเราอยากจะไปที่ใด
ซึ่งผมก็ยังคงตอบชัดเจนไม่ได้อยู่ดี คิดว่าคงต้องจริงจังกับการหาคำตอบให้มากขึ้น
No comments:
Post a Comment