Thursday, March 30, 2017

Impactor Night: Education Technology

Impactor Night เป็นการรวมตัวกลุ่มของ SE(Social Enterprise) Start up โดยหัวข้องานในครั้งนี้คือ EdTech(Education Technology) ความตั้งใจของผมตอนนี้หลังจากจบโครงการ 2 ปีของ Teach for Thailand อยากจะลงมาอยู่ในวงการของ EdTech ยังมีสิ่งที่ให้ทำอีกเยอะในด้านการศึกษา วันนี้ก็มาเปิดโลกรู้จักเครือข่ายของ Start up เพิ่ม



วิทยากรที่ให้เกียติมาในงานนี้ได้แก่ คุณกุ้ง - opendream, คุณเสก - Toolmorrow, คุณทอย - Globish เป็นเนื้อหาการพูดที่เราอาจจะไม่ค่อยได้ฟังนัก หากไปงาน pitch หรือหา funding พี่ทั้งสามคนถ่ายทอด Passion ออกมาได้น่าประทับใจยิ่ง


เริ่มที่ท่านแรกก่อนเลย คุณเก่ง opendream เกิดและเติบโต ในยุคของเครื่องเกมแฟมิคอม(สมัยรุ่นพ่อ) ยุคเริ่มแรกของการอ่านการ์ตูน ซึ่งพ่อแม่ในสมัยนั้นก็จะบอกว่า "เอาแต่อ่านการ์ตูน เล่นเกมอยู่นั้นหละ ไร้สาระมันเอาไปทำอะไรได้" คุณเก่งก็เกมความคับข้องใจในมุมมองของพ่อไว้ จนมาวันหนึ่งรวมตัวทีมขึ้นมาได้ และคิดว่าเกมมันน่าจะทำอะไรได้มากกว่าความสนุก มันน่าจะสามารถให้ความรู้ผู้คนได้ 

เกมแรกที่ทำออกมา "รักจัดหนัก เดอะเกม" จากหนังเรื่องรักจัดหนัก(ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เคยดู) เป็นเกมเล่นเป็นด่านๆ 30 ด่าน แต่ละด่านก็จะมีเรื่องของความรู้ในการคุมกำเนิด ต่อมาทาง UNESCO ก็ให้ข้อมูลเรื่องการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติมาให้ ความหนาหลายหน้าอยู่ ซึ่งทาง opendream ก็แปลงออกมาในรูปของเกมชื่อ "สายฟ้าตะลุยน้ำท่วม" จากการประเมินความเข้าใจของผู้เล่นเกมที่มากขึ้น ทางทีมก็เริ่มเชื่อมั่นว่า เฮ้ยเกมมันทำให้คนเรียนรู้ได้แน่ๆ

ล่าสุดทาง TDRI ก็ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตมา อยากให้ถ่ายทอดปัญหา และผลของการทุจริตให้ผู้คน ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่หนัก และต้องคิดเยอะเหมือนกัน ทางทีมเลยได้คิดว่าจะทำออกมาเป็นเกม ที่ดำเนินเนื้อเรื่องแบบนิยาย ตัวเกมจะให้ทางเลือกในแต่ละสถานการณ์ว่าจะปล่อยการทุจริตนั้นไปหรือไม่ ซึ่งการกระทำทุกอย่างส่งผลหมด ถ้าปล่อยไปเราอาจจะทำงานง่ายขึ้นแต่ผลร้ายอาจจะตามมา ถ้าไม่ปล่อยไปเราก็จะสร้างศัตรู

จุดเด่นของการใช้ Technology คือการที่เราสามารถได้ข้อมูลออกมาปริมาณมาก(Big data) โดยส่วนตัวผมมักจะทำงานอยู่ในส่วนของการประเมิน เลยเห็นประโยชน์ตรงจุดนี้มาก อย่างเกมตัวล่าสุดเกี่ยวกับการทุจริต เราสามารถเอาข้อมูลการตัดสินใจของสถานการณ์เสมือนในเกมมาวิเคราะห์ได้ และที่สำคัญเป็นการประเมินที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากทีเดียว


ท่านต่อมาคือ คุณเสก Toolmorrow ผมฟังเรื่องราวของพี่เสพก็นึกถึงเด็กๆ ในโรงเรียนผมหลายๆคน ที่เข้าไปสู่ด้านมืด พี่เสกเล่าให้ฟังว่า เขาเป็นเด็กสวนกุหลาบมาก่อน เขาเป็นคนหัวดีและเรียนเก่ง เขาเคยคิดว่าจะเป็นหมอ ต่อมาคะแนนตกก็เปลี่ยนใจอยากเป็นวิศวะ ด้วยความเชื่อที่ว่าคนเรียนเก่งก็ต้องเรียนหมอหรือวิศวะ ชีวิตพลิกผัน ต่อมาก็เริ่มไม่เข้าเรียน หมกตัวอยู่ที่สยาม แม่เสียใจตลอดในช่วงนั้น เพื่อนหลายคนเสียชีวิต หรือติดคุกไป เพราะการไปทำอะไรแพลงๆ

โชคดีที่ตอนนั้นพี่เสกกลับใจได้ จนวันนี้เขาคิดว่า ในสังคมเรามีความเชื่อผิดๆหลายอย่างที่ไม่มีใครทำอะไรกับมัน ทาง Toolmorrow เปรียบเสมือนสื่อที่จะไป discredit ความเชื่อผิดๆเหล่านั้น จุดเด่นของที่นี้คือการทำ research ก่อนเสมอเพื่อให้ยิงได้ตรงจุด ข้อมูลที่เอามาตี ให้สังคมไทยดูจะถูกศึกษาและทดลองจริง ทางทีมก็จะรับทำเฉพาะแต่สื่อเพื่อสังคมเท่านั้น

"มนุษย์ทุกคน อยากจะไปให้ถึงความสุข แต่มันมักจะมีกำแพงกั้นอยู่ กำแพงตัวนี้คือ Mindset" พี่เสก คนส่วนใหญ่ที่มาดูจะเป็นวัยรุ่นช่วงมหาลัย และพ่อแม่ของเด็กกลุ่มนี้ มีการถูกนำไปใช้เป็นสื่อการสอนโดยนักจิตวิทยา ครูในโรงเรียน ซึ่งก็อยากหาวิธีที่จะประเมินผลกลุ่มคนเหล่านี้ กล่าวได้ว่า Toolmorrow เป็นอันดับหนึ่งของ Social Experiment Clip

ท่านสุดท้ายผมเคยเจอแล้วในงานของ AIESEC คุณทอย Globish เชื่อว่าในวงการของ Start up ไม่มีใครไม่รู้จัก คุณทอยเล่าไปถึงความอับอาย ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษของตัวเองตอนประถม "ครูถามผมว่า How are you? และผมตอบไม่ได้ เพื่อนเลยกระซิบบอกผมว่า I go to school by car. ผมก็ตอบไปเต็มเสียงเลย และทุกคนรวมถึงครูก็หัวเราะผม" ทอย ตั้งแต่ตอนนั้นผมก็ตั้งธงเลยว่าไม่เอาแล้วภาษาอังกฤษ แต่ทางบ้านฐานะดีขึ้น ก็เลยส่งผมไปเรียนโรงเรียนอินเตอร์ ผมก็ต้องทนเรียน และมีผลการเรียนภาษาอังกฤษต่ำสุดเสมอ แต่ช่วงนั้นไม่อยากอับอาย และหนีไม่ได้เลยพยายามพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเองขึ้นมา

จนอยู่มหาลัยเรียนสาขาภาพยนต์ แต่ชีวิตใช้ไปกับการอยู่กับ AIESEC พาคนต่างชาติเข้ามาสอนในเมืองไทย ให้คนที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เจอฝรั่งได้เจอ แต่นั้นมันก็ยังไม่ได้ช่วยให้คนไทยเก่งภาษาอังกฤษระดับใช้ได้ ด้วยความที่เก่งอังกฤษที่สุดแล้วในตอนนั้น เลยถูกส่งไปงานสัมมนาของ AIESEC ต่างประเทศบ่อยๆ และก็รู้สึกว่าไทยยังด้อยอยู่มาก เราเจอเขมร เราก็แพ้ คนไทยไม่กล้าพูดผิด

หลังจบมาก็คิดว่าคนอย่างนี้ทำงานกับใครไม่ได้แน่ เลยตั้งไปเปิดบริษัทของตัวเอง ได้ไอเดียจากคนญี่ปุ่นว่าโมเดลที่จับคู่คนสอนกับคนเรียนมันเกิดขึ้นเยอะมากที่นั้น ประกอบกับการพบว่าภาษาอังกฤษเป็นปัญหาระดับชาติรองจากคอรับชั่น จึงได้เริ่มก่อตั้ง Globish ขึ้นมา

Globish วางตัวการสอนอยู่ในตำแหน่ง สนทนาสื่อสารได้ ไม่ต้องมีสำนวนอะไรมาก ใช้งานจริง ในแต่ละอาชีพของเรา ตอนนี้กำลังจับตลาดกลุ่ม B2B (Bussiness to Business) ขายคอสเข้าไปในบริษัท ฟังดูแล้วก็เหมือนกับไม่ใช่ SE เท่าไรนัก แต่ในความจริงแล้วคุณทอย พยายามจะเข้าถึงคนกลุ่มล่างของสังคม ความพยายามยังไม่เป็นผลเท่าไรนักจึงคิดว่า ถ้าเราทำจากกลุ่มตลาดที่มีศักยภาพและมีความต้องการก่อน จะทำให้ลงไปแก้ปัญหาด้านภาษาของคนไทยได้

จบการบรรยาย สิ่งที่ผมค้นพบก็คือทั้งสามคน ก็ยังมีความเป็นมวยวัด ในด้านการศึกษา แต่นั้นไม่ใช่อุปสรรคแต่อย่างใด และผมค้นพบมนเสน่อีกอย่างหนึ่งของ Start up นั้นคือการทดลอง ปรับแต่ง เปลี่ยนกรอบความเชื่อของเราไปเรื่อยๆ จนกว่าจะตรงและดึงลูกค้าเข้ามาได้ ขอขอบคุณทาง Dream Office ที่จัดงานดีๆ และมีแอลกอฮอล์แจก(ทำให้ผู้เขียนมาทำงานสาย 555)

Friday, March 3, 2017

ถอดบทเรียนครูจากเรื่อง Assassination Classroom


Assassination Classroom : ชั่วโมงลอบสังหาร


หลังจากปวดหัวกับการตรวจข้อสอบ NT เสร็จ วันนี้เลยอยากพักสมอง เลยหยิบประเด็นหนึ่งที่เก็บไว้นานจนหยากไย่เริ่มเกาะหนาเต็มที เป็นหนังสือการ์ตูนที่ผมเสพอยู่ช่วงหนึ่ง อยากให้คนที่เป็นครู หรือทำหน้าที่สอนพัฒนาคน ได้อ่านและไคร่ครวญแต่ละตอนไปด้วยกัน

ใช้เวลาช่วงเย็นๆ หลังจากงีบเสร็จไปตื่นหนึ่ง ลองค้นดูตาม pantip เวปรีวิวต่างประเทศ จะเล่าถึงว่าการ์ตูนเรื่องนี้ มุขตลก การปูเนื้อเรื่อง ปมปัญหา และเนื้อหาที่ไม่ยึดยาว 180 ตอนจบ แต่ยังไม่มีใครเอามีตีความในมุมมองของครูเท่าไรนัก ก็ถือเป็นโอกาสอันดี เริ่มเลยละกัน...

ผมอ่านเรื่องนี้ตอนที่ไฟความเป็นครูกำลังจะค่อยๆหายไป จากความเหนื่อยล่า และการผลัดวันในการขัดเกลาจิตวิญญาณความเป็นครู ที่กำลังจะขึ้นสนิมเต็มที 

เนื้อเรื่องดำเนินไปโดยที่ มีตัวประหลายสีเหลืองโพล่เข้ามาในชั้นเรียน มาสอนนักเรียน ห้อง E ที่ห่วยแตกที่สุดในโรงเรียน และบอกเป้าหมายว่า จะต้องฆ่า อาจารย์ให้ได้ก่อนจบปีการศึกษา หากไม่เป็นเช่นนั้นโลกจะดับสูญ ห้ามบอกเรื่องนี้กับใคร ครอบครัวของคนนั้นจะถูกเล่นงาน อาจารย์ประหลาย ความรู้ ความสามารถสูงมาก รวมไปถึงความเร็ว 20 มัค ที่ทำให้อาจารย์สามารถ เดินทางรอบโลก แยกร่างสอนนักเรียน ออกข้อสอบได้อย่างรวดเร็ว หากใครฆ่าได้จะได้รับเงินรางวัลมหาศาล

สถานการณ์ห้องเรียนในหนังสือการ์ตูน ไม่ต่างอะไรกับห้องเรียนที่ผมได้รับมอบหมายตลอด 2 ปี ไม่แตกต่างจากองค์กรเล็กๆที่กำลังจะหมดไฟ ในถ้านะของครูหรือผู้นำ เราจะนำพาคนที่เราดูแลให้เดินไปได้อย่างไร ต่อไปนี้จะเรียกชื่อตัวละครสีเหลืองนี้ว่า "อาจารย์โคโระ" ตามเนื้อเรื่อง ผมยกอาจารย์โคโระให้เป็นครูในอุดมคติที่ดีที่สุดที่จะเป็นได้

บทเรียนต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผมแกะมาจากความทรงจำ ซึ่งถ้าสามารถใช้เป็นแนวทางในการจับประเด็น จากการ์ตูนเรื่องนี้ได้ ก็จะยินดีเป็นอย่างยิ่ง

บทเรียนแรก เป้าหมายโฟกัส ไปที่จุดเดียวกันให้ได้ ในเรื่องนี้ เป้าหมายร่วมกันคือการฆ่าอาจารย์ให้ได้ ด้วยแรงพลักดัน และแรงจูงใจที่ชัดเจนทุกคนพยายามที่จะหาวิธีการในแบบของตัวเอง ในการฆ่าอาจารย์ลงให้ได้ แน่นอนว่าถึงเราจะหาจุดที่ดีที่สุดในการโน้มน้าวจูงใจ แต่ก็จะมีกลุ่มคนที่ไม่ไปด้วยในห้องเรียน หรือองค์กร ในการ์ตูนเรื่องนี้ก็มีวิธีการจัดการเช่นกัน

บทเรียนที่สอง การรู้จักผู้เรียน อาจารย์โคโระมีความเสือก ติดอันดับต้นๆ อาจารย์จะพยายามจดทุกอย่างที่ที่ได้จากการสังเกตนักเรียน ว่าชอบอะไร ถนัดตรงไหน ปกติจะไปอยู่ที่ไหน สังเกตปัญหาก่อนล่วงหน้า การเรียนรู้ผู้เรียนอย่างเข้มข้น ทำให้อาจารย์โคโระ ดึงด้านดีๆของเด็กห้อง E ออกมาได้อย่าเต็มศักยภาพ

บทเรียนที่สาม การชมเชย อาจารย์โคโระ มักจะชมก่อนอยู่เสมอ ซึ่งการชมได้นั้นต้องผ่านการมองหาข้อดี ชมไม่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเลวร้ายซักแค่ไหน อาจารย์จะหาจุดที่ชมก่อน ตักเตือนได้เสมอ และให้คำแนะนำตามความถนัดของแต่ละคน

บทเรียนที่สี่ การเปลี่ยนทุกสถานการณ์ เป็นบทเรียน ไม่ว่าตอนนั้นจะเป็นการพักผ่อน ท่องเที่ยว การลงโทษ อาจารย์โคโระมักจะมองหาหนทางที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ จากสถานการณ์ปัจจุบัน เวลาเดินทางไปไหนก็จะมี Guidebook ที่เขียนทุกอย่างไว้ให้พกติดตัว เพื่อศึกษาและใช้ในยามฉุกเฉิน หรือการลงโทษโดยให้ไปทำความดี เพื่อที่จะเรียนรู้คุณค่าของการให้ตอบแทนผู้อื่น

บทเรียนที่ห้า การคาดหวังในตัวนักเรียนที่สูง และการสนับสนุนเต็มที่ ถึงจะเป็นห้อง E ที่ห่วยที่สุดในโรงเรียน แต่อาจารย์ก็คาดหวังให้ทุกคนสามารถชิงอันดับต้นๆ ของการสอบในโรงเรียนให้ได้ ในเรื่องอาจจะเว้อหน่อย อาจารย์ทีความเร็ว 20 มัคจึงสามารถลงไปประกบนักเรียนทุกคนในเวลาเดียวกันได้ ส่งผลให้ทุกคนพัฒนาตามศักยภาพของตัวเองอยู่ตลอด อาจารย์จะไปศึกษาทุกความสนใจของนักเรียนเพื่อที่จะมา Mentoring เด็กแต่ละคนได้อย่างมหัศจรรย์

บทเรียนที่หก สอนด้วยหัวใจ ในเรื่องจะมีตัวละครตัวหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นให้ อาจารย์โคโระมาสอนในห้องนี้ ตัวละครตัวนั้นเป็นครูที่ไม่ได้เก่งอะไรเลย แต่มาพร้อมด้วยหัวใจ และส่งต่อให้อาจารย์โคโระมาดูแลนักเรียนกลุ่มนี้ต่อ ผมว่ามันวิเศษมาก ทำให้คิดว่าถึงเราจะสอนห่วยแค่ไหน ขอให้ทำเต็มที่ ไม่ทางได้ก็ทางหนึ่ง สิ่งที่เราหวังก็จะเกิดขึ้นในตัวนักเรียน

ขอบคุณที่อ่านจนจบ อยากให้ไปอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ มันจะช่วยให้เข้าใจและซึมซับในสิ่งที่ผมเขียนได้ดีขึ้น และหวังความความเป็นครูในตัวทุกคนจะติดไฟ กลับมาโชติช่วงเหมือนดังเดิม เพื่อนักเรียน ลูกน้อง ลูกหลาย หรือคนที่กำลังเดินตามเรามา