Friday, October 7, 2016

Observe TFT Fellow cohort III: เรียนรู้จากการสังเกต


"ลองมองลงไปในลึกลงในคนอื่น สิ่งที่เราเห็นนั้นคือตัวเอง"

80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในความมืดบนท้องถนน ที่มีสายลมเย็นเป็นเพื่อน เป็นช่วงเวลาที่ผมได้ทบทวนกับตัวเองถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ตลอดสามวันของการสังเกตการสอนเตรียมความพร้อม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษารุ่นที่ 3

1 วันนั้น เป็นความตั้งใจแรกที่ผมจะใช้เวลาว่างที่มีอยู่อย่างน้อยนิด เขาไปเพียงแค่สังเกตการสอน แต่ผลทีี่ตามมาทำให้เกิดการสะท้อนกับตัวเอง และเกิดการเรียนรู้หลายๆอย่างเกิดขึ้น ผสมกับความเป็นห่วงเล็กๆ ผมจึงจัดการเคลียร์คิวทั้งหมดเพื่อให้มีเวลาอยู่เพิ่ม

3 วันที่ผ่านมา การมาเป็น LDO (Learning Development Officer) ทำให้ต้องคิดเยอะมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นคนที่คิดเยอะอยู่แล้ว อะไรคือปัจจัยหลักที่จะเปลี่ยนห้องเรียนนี้ได้? ทำไมนักเรียนคนนั้นถึงสนใจเรียนและอยู่ดีๆกลับไม่สนใจไปอย่างนั้น? Fellow ติดปัญหาความคิดอะไรอยู่หรือเปล่า? ถ้าเป็นตัวเราเองเราจะทำอย่างไรในสถานการณ์เช่นนี้?

60 ชั่วโมงของการสอนในแต่ละคาบ ไม่เคยน่าเบื่อเลย เพราะคำถามเกิดขึ้นเต็มไปหมด หลายครั้งที่เราเห็น Fellow สอน เราก็มักจะนึกย้อนถึงตัวเอง ความล้มเหลวบ้าง ความสำเร็จบ้าง หรือแม้กระทั้งความเชื่อบางอย่างที่เราหลงลืมไป เวลาที่เราเป็นบุคคลที่สามของห้องเรียน ผมตกตะกอนหลายอย่างมาก เหมือนกลับเข้าใจไปเองว่า ความล้มเหลวของตัวเองที่ผ่านมานั้นเป็นเพราะอะไร

"ทุกอย่างมีเหตุมีผล เราเพียงแค่ต้องเข้าให้ถึงแก่นของมัน"


Singapore Math

เป็นความบ้าและความสงสัยส่วนตัวว่า ธรรมชาติของการเรียนรู้คนเรานั้นเป็นอย่างไร ผมเชื่อว่าเราล้มเหลวเพราะเราไม่รู้อะไรบางอย่าง ความเชื่อต่างๆในการสอนคณิตศาสตร์ ค่อยๆเปลี่ยนไปตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ถูกลบบ้าง ถูกเติมบ้าง...

ผมเชื่อว่านักเรียนจะเก่งในวิชานี้ได้นักเรียนจะต้องทำโจทย์เยอะๆ
ผมเชื่อว่าถ้านักเรียนรู้สึกว่าทำได้ นักเรียนจะทำ
ผมเชื่อว่านักเรียนจะรู้สึกว่าคณิตศาสตร์ไม่ยาก ถ้าเราไล่ลำดับความยากง่ายเหมาะสม (Scaffolding)
ผมเชื่อว่านักเรียนจะทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ ถ้าเราสอนกระบวนการวิเคราะห์โจทย์ให้เขา
ผมเชื่อว่านักเรียนจะต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านเกม นักเรียนถึงจะชอบคณิตศาสตร์

ความเชื่อทุกอย่างตอนนี้มาหยุดลงที่ Singapore Math Model เคยเห็นเรื่องนี้ครั้งที่ในเฟสที่พี่ไมค์เป็นคนแชร์ เราไม่ได้เข้าไปอ่านรายละเอียดข้างใน แต่รู้แค่คราวๆว่า ประเทศสิงค์โปสอนคณิตศาสตร์นักเรียน โดยใช้สามขั้นตอนด้วยกัน คือ ให้นักเรียนเรียนจากสิ่งที่จับต้องได้(Concrete) เข้าไปอธิบายเป็นภาพ(Pictorial) แล้วจึงลงไปที่ทฤษฎีหรือตัวเลข(Abstract) ช่วงเวลาหนึ่งเทอมที่ผ่านมาก็มั่วมาก ล้มเหลวไปก็เยอะ แต่ทำให้รู้สึกดีในตอนนี้ว่า มันเกิดคำถามและตกตะกอน ตอนที่เรามาสังเกตการสอนอยู่ รวมถึงการได้คุยกับ LDO พี่แมรี่ ซึ่งอู๋รู้สึกชื่นชนและอยากเรียนรู้อะไรอีกหลายอย่างจากเขา

ช่วงเวลาที่ผมสังเกตการสอน เฟลโล่หลายคนแสดงออกถึงความทุ่มเท และทำได้ดีมากๆ ทั้งการควบคุมชั้นเรียน เนื้อหาที่เข้าใจง่าย เกมที่สนุกสนาน แต่ผมก็อดรู้สึกในใจไม่ได้ ว่ามีบางสิ่งบางอย่างขาดช่วงไป ในธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

นึกย้อนกลับไปถึงสิ่งที่ตัวเองทำ นั้นคือให้นักเรียนจับต้องสิ่งของได้ เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงสู่บทเรียนในแต่ละวัน แต่ทว่าหลายครั้งก็ล้มเหลวไม่เป็นท่า คำถามที่เกิดขึ้นในใจคือ "แล้วมันจะต้องเป็นยังไงกันแน่หวะ?"

ความล้มเหลว + คำถาม + โอกาส = คำตอบที่ 1 ผมพึ่งรู้จักพี่แมรี่จริงๆได้ไม่กี่วัน จากการคุยกันเรื่อง Assessment(การประเมินระหว่างเรียน)และ Diagnostic test(ข้อสอบวินิจฉัย) เลยลากยาวไปถึง Singapore Math ที่ผมได้กล่าวไว้ในตอนต้น ว่าตอนพี่รี่สอนที่อเมริกา ก็ใช้โมเดลนี้ในการสอน เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย นั้นเราสอนแตกต่างกันสิ่งเชิง ไทยนั้นเรามักจะเข้ามาที่ตัวเลข เนื้อหาหรือทฤษฎีก่อนเลย ซึ่งผมก็รู้ว่ามันไม่ได้ผล จนกระทั้งพี่แมรี่พูดขึ้นมาว่า เขาสามารถใช้วิธีการนี้สอนให้เด็กที่เป็น LD ขึ้นมาสอนแทนเขาได้ แสดงว่ามันต้องไม่ธรรมดาแล้วสินะ!

จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้มีโอกาสได้ลองเอาแนวทางไปลองใช้จริงๆ มีถ่ายทอดให้เฟลโล่บางคนไปบ้างบางส่วน และคิดทบทวนกับตัวเองถึง เหตุการณ์ในการสอนต่างๆที่ผ่านมา ว่าทำไมมันจึงล้มเหลว ทั้งที่เราก็ใช้แนวคิดนี้ในการสอน จึงพบว่าหลายครั้งเราขาดบางช่วงไป เช่น Concrete แล้วไป Abstract เลยจึงมีนักเรียนบางส่วนเชื่อมโยงไม่ติด เราเข้าใจจุดประสงค์ของ Concrete-Pictorial-Abstract ผิดไป ถือว่าเป็นอีกโลกหนึ่งที่น่าผจญภัยเหลือเกิน :)
เหมือนกรอบความคิดตอนนี้ขยายออกไปมากขึ้น จินตนาการในการสอนไม่ได้ถูกจำกัด ด้วยคำแคบๆว่า ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุปอีกต่อไป เทอมหน้ามันส์แน่และผมก็เชื่อว่าในอนาคต จะมีวิธีการสอนคณิตศาสตร์ที่ดีกว่านี้อีกแน่นอน


Mindset

ยอมรับว่าช่วงนี้บ้าคำนี้มาก ยิ่งอยู่กับพี่อาร์ม ยิ่งพูดคำนี้บ่อยมาก เราคิดว่าเขาเป็นแบบนี้เพราะ Mindset อะไรบางอย่าง คนคนนี้น่าจะมี Mindset แบบนี้ เราจะค่อยๆหา Mindset ของเขาให้ได้ มันน่าจะเป็นทางที่ดีกว่าเราให้กระบวนการเขาไป สามวันที่ผ่านมาทำให้ผมเรียนรู้ แต่ยังไม่อาจเรียกได้ว่าตกตะกอนดีพอ ผมพลาดอยู่หลายครั้งในการตัดสิน Mindset ของคน และเช่นเดียวกันกับการที่คิดว่าทุกอย่างจะแก้ไขได้ด้วยการปรับ Mindset พูดๆไปก็เหมือนจะวางตัวเป็นผู้มีอำนาจเรียกคนไปปรับทัศนคติกลายๆ

ผมยังขาดประสบการณ์อยู่มากในการที่จะวิเคราะห์และตัดสินคน "คำว่าตัดสินคน" อาจจะดูรุนแรงและขาดการมองมิติอื่นๆของคน แต่ผมคิดว่าขณะนั้นเราจะต้องตัดสินใจ

แต่ถึงกระนั้นผมก็ไม่อาจที่จะเจาะจงปัญหาหลักๆ เพื่อเข้าไปแก้ Mindset ของเฟลโล่ได้ดีนัก บางคนก็ได้ผลดีเป็นประโยชน์ บางคนก็อาจทำให้เขาสับสน ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษาต่อไป


Mindset เรื่องการเขียนแผน เฟลโล่หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเขียนแผน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาจากการพยายามเขียนแผนก่อนสอน
1) เพื่อลดเวลาในการเตรียมอุปกรณ์ ครูครีเอท ทั้งหลายชอบมีปัญหาว่าอยากทำนู๊นทำนี้ เต็มไปหมด และจะลงทุนเวลาไปมากกับการเตรียมสื่อ(ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมาก) แต่หากวางแผนดีๆ ลองดูว่าสื่อบางอย่างจำเป็นไหม ใช้นักเรียนเป็นสื่อได้ไหม การเขียนแผนจะช่วยให้เราตระหนักในจุดนี้
2) เพื่อลำดับความคิด มีหลายๆครั้งที่พอผมเขียนแผนแล้ว พบว่ามีการลำดับกิจกรรมการเรียนการสอนใหม่ เพื่อให้เกิด Flow ที่ดีขึ้น คำสั่งชัดเจนมากขึ้น
3) เพื่อย้ำเตือนตัวเองว่า จะไม่ควรขาดวิธีการประเมินผล และมีสื่อในการสอนทุกครั้ง

Mindset เรื่องการให้อิสระแก่นักเรียน ผมเชื่อว่าเพราะเรามีภาพจำกับครูที่ไม่ให้อิสระนักเรียน เราจึงอยากเป็นครูที่ปล่อยให้นักเรียนมีอิสระได้ ซึ่งบางครั้งเราให้อิสระนักเรียนมากเกินไป นักเรียนหายไปจากคาบเราหลายนาที สิ่งที่ควรคำนึงมีดังนี้
1) ความปลอดภัยของนักเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
2) หน้าที่หนึ่งของการเป็นครูคือสร้างวินัยในตัวนักเรียน ถ้าอิสระทำลายวินัยเราควรกลับมาคิดให้ถี่ถ้วน
3) การให้ทางเลือกกับนักเรียน ส่วนตัวผมถือว่าเป็นอิสระอย่างหนึ่ง แต่มีขอบเขต
4) ถ้านักเรียนไม่ได้เรียนมันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร?

Mindset เรื่องข้อจำกัดต่างๆ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่ผมไปไม่ถึงทางออก นักเรียนพื้นฐานไม่ดี นักเรียนไม่ชอบคณิตศาสตร์ ครูเป็นคนเสียงเบา ครูไม่ใช้คนที่ตลกน่าดึงดูดชั้นเรียน ครูไม่คิดว่าจะสามารถสั่งหรือลงโทษนักเรียนได้ เป็นเรื่องที่รอพูดคุยกันต่อไป


"ที่ที่ทำให้เราสบายใจ ไม่เคยทำให้ใครเติบโต"

No comments:

Post a Comment