Wednesday, November 4, 2015

Teach for Thailand - day 2: Diagnostic Assessment Day


การทดสอบวินิจฉัยดำเนินมาสู่วันที่สองวันนี้ผมสอนมัธยม รวดเดียว 3 ห้องเลย หนึ่งในนั้นได้ทำการทดสอบแล้วเมื่อวาน การสอบวินิจฉัยทำให้เห็นความเข้าใจผิดของนักเรียนที่น่าสนใจหลายๆอย่าง เช่น

150 - 75 ÷ 25 = ? ข้อนี้นักเรียนจะตอบ 3 กันเยอะมาก เพราะเขายังไม่เข้าใจลำดับของการคำนวณว่าต้องทำคูณกับหารให้เสร็จเสียก่อน

200 + 4 × 12 = ? ข้อนี้ก็เช่นกันนักเรียนตอบผิดเป็น 2448 เพราะเริ่มทำจากบวกก่อน

ปัญหาของครูคณิตศาสตร์ที่ไม่มีประสบการณ์ในการเน้นย้ำ แก้ไข ป้องกันจุดที่ผิดคือ เราไม่รู้ว่านักเรียนมักจะพลาดตรงไหน ซึ่งผมคิดว่าการทำ Diagnostic test หรือ Pretest นั้นทำให้เราสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าแต่ทั้งนี้ก็มีข้อจำกัดที่ว่าเราจะทำได้กับสิ่งที่ผู้เรียนรู้มาบ้างแล้วเท่านั้น

ผมใช้เวลานานพอสมควรในการตรวจข้อสอบทั้งหมด และหวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่กับเวลาที่เสียไปนี้

กิจวัติประจำวันนี้

สุขใจกับอาหารเช้าและกลางวัน
ต่อสู้กับเครื่องถ่ายเอกสาร
ครั้งแรกกับวิชาเสริมสร้างทักษะชีวิต
วันนี้ผมเห็นเพื่อนๆ หลายคนเริ่มเจอกับงานหนัก การสอนติดต่อกันหลายคาบ ผมจึงคิดว่า Energy management เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก เราจะจัดการสอนอย่างไรให้เราได้มีเวลาพักในชั่วโมง ให้จังหวะการใช้พลังงาน คาบต่อคาบมีการขึ้นลงให้เราได้พักผ่อนบ้าง สิ่งที่ผมทำในวันนี้คือ สอน 1 คาบ ซึ่งก็ใช้พลังงาน เสียง กำลังความคิดไม่มากก็น้อย และสอบ 2 คาบ ทำให้มีการสับหว่างของการพักและการทำงาน

สะท้อนความคิดตนเองในวันนี้

สิ่งที่ทำได้ดี
1) การรักษาเสียงของตนเอง รู้ว่าต้องใช้เสียงเยอะแน่วันนี้ เลยพกน้ำติดตัวไป 1 ขวด
2) พูดเสียงดัง ชัดเจนดีขึ้น แต่ยังติดพูดรัวๆ นึกคำพูดไม่ออกอยู่บ้าง
3) Engagement กับนักเรียนในนักเรียนออกมาช่วยเขียนกระดาน อ่านนิทานให้เพื่อนฟัง สรุปบทเรียนและก็สรุปการบ้านที่สั่งไป
4) เชื่อว่านักเรียนทำได้ ถ้ามีแรงจูงใจที่มากพอ ครูบอกว่าถ้าจะให้พูดต้องพูดเป็นกลุ่ม แต่ผมเชื่อว่านักเรียนทำได้ เลยลงคะแนนพิเศษสูงขึ้นและก็มีคนกล้าพูดจริงๆ

สิ่งที่ต้องพัฒนา
1) เสียงยังคงเป็นปัญหา ยังไม่ดึงดูนักเรียนและมีพลังไม่มากพอ
2) พบว่า ม.1 ต้องการคำสั่งที่ชัดเจนมากกว่านี้ โดยเฉพาะการจดลงในสมุด จะให้วาดรูปกี่บรรทัดเป็นต้น เพื่อความเป็นระเบียบเหมือนกัน บางอย่างแตกต่างได้ แต่บางอย่างที่เป็นระเบียบจะช่วยลดภาระเราได้เยอะเลย
3) ยังควบคุมห้องนักเรียนได้ไม่อยู่สำหรับห้องที่ทำการทดสอบ แต่ห้องที่สอนผมเอานิทานมาดึงดูดเด็กๆได้ดีแล้ว
4) การตั้งเป้าหมายให้กับนักเรียนยังตั้งไม่เหมาะกับสิ่งที่ควรพัฒนาให้กับพวกเขา วันนี้ผมเห็นแล้วว่าการกล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองต่อผู้อื่น หรือการเลือกทางเดินทองตนเองคิดเองนักเรียนยังขาดอยู่

สิ่งที่ตั้งใจจะทำ
1) ทดลองใช้การทำสมาธิแบบจิตปัญญาศึกษา
2) คิดวิธีการจัดห้องเรียนแบบใหม่ ให้ครูเข้าถึงนักเรียนหลังห้องได้มากขึ้น
3) เรียนรู้จากนักเรียนเพิ่มขึ้น จากเวลาพักกลางวันและหลังเลิกเรียน สอบถามจุดอ่อนและจุดแข็งโดยรวมของแต่ละห้อง

No comments:

Post a Comment